ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] จุลวรรค ภาค ๒

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปนขันธกะ]

๒. มหาสมุทเทอัฎฐัจฉริยะ

๒. มหาสมุทเทอัฏฐัจฉริยะ
ว่าด้วยความอัศจรรย์ของมหาสมุทร ๘ ประการ๑-
[๓๘๔] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ในมหาสมุทร มีสิ่งที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ ที่พวกอสูรพบเห็นแล้ว ต่างพากันยินดีในมหาสมุทร สิ่งที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ คือ ๑. มหาสมุทรต่ำไปโดยลำดับ ลาดไปโดยลำดับ ลึกลงไปโดยลำดับ ไม่ลึกชันดิ่งไปทันที ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่มหาสมุทรต่ำไปโดยลำดับ ลาดไปโดยลำดับ ลึกลงไปโดย ลำดับ ไม่ลึกชันดิ่งไปทันที นี้เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏประการที่ ๑ ในมหา สมุทร ที่พวกอสูรพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในมหาสมุทร ๒. (น้ำใน)มหาสมุทรมีปกติคงที่ ไม่ล้นฝั่ง ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่(น้ำใน)มหาสมุทรมีปกติคงที่ ไม่ล้นฝั่ง นี้เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๒ ในมหาสมุทร ที่พวกอสูรพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีใน มหาสมุทร ๓. มหาสมุทรไม่อยู่ร่วมกับซากศพ ย่อมซัดซากศพขึ้นฝั่งจนถึงบนบกทันที ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่มหาสมุทรไม่อยู่ร่วมกับซากศพ ย่อมซัดซากศพขึ้นฝั่งจนถึง บนบกทันที นี้เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏประการที่ ๓ ในมหาสมุทร ที่พวก อสูรพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในมหาสมุทร ๔. มหานทีทุกสาย คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ไหลลงสู่ มหาสมุทรแล้ว ย่อมละชื่อและโคตรเดิมของตน รวมเรียกว่า มหา สมุทรทั้งสิ้น @เชิงอรรถ : @ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๑๙/๒๔๖, ขุ.อุ. (แปล) ๒๕/๔๕/๒๖๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๒๘๐}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปนขันธกะ]

๒. มหาสมุทเทอัฎฐัจฉริยะ

ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่มหานทีทุกสาย คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ไหลลง สู่มหาสมุทรแล้ว ย่อมละชื่อและโคตรเดิมของตน รวมเรียกว่า มหาสมุทรทั้งสิ้น นี้ เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏประการที่ ๔ ในมหาสมุทร ที่พวกอสูรพบเห็นแล้ว ต่างพากันยินดีในมหาสมุทร ๕. แม่น้ำสายใดสายหนึ่งในโลกที่ไหลรวมลงสู่มหาสมุทร และสายฝน ตกลงจากฟากฟ้า ก็ไม่ทำให้มหาสมุทรพร่องหรือเต็มได้ ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่แม่น้ำสายใดสายหนึ่งในโลกที่ไหลรวมลงสู่มหาสมุทรและ สายฝนตกลงจากฟากฟ้า ก็ไม่ทำให้มหาสมุทรพร่องหรือเต็มได้ นี้เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๕ ในมหาสมุทร ที่พวกอสูรพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีใน มหาสมุทร ๖. มหาสมุทรมีรสเดียว คือ รสเค็ม ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่มหาสมุทรมีรสเดียว คือ รสเค็ม นี้เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ไม่ เคยปรากฏประการที่ ๖ ในมหาสมุทร ที่พวกอสูรพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีใน มหาสมุทร ๗. มหาสมุทรมีรัตนะมาก มีรัตนะหลายชนิด คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้ว ไพฑูรย์ สังข์ ศิลา ประพาฬ เงิน ทอง ทับทิม แก้วตาแมว ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่มหาสมุทรมีรัตนะมาก มีรัตนะหลายชนิด คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา ประพาฬ เงิน ทอง ทับทิม แก้วตาแมว นี้ เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏประการที่ ๗ ในมหาสมุทร ที่พวกอสูรพบเห็น แล้วต่างพากันยินดีในมหาสมุทร ๘. มหาสมุทรเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ขนาดใหญ่ คือ ปลาติมิ ปลาติ มิงคละ ปลาติมิติมิงคละ ปลามหาติมิงคละ อสูร นาค คนธรรพ์ มีลำตัว ๑๐๐ โยชน์บ้าง ๒๐๐ โยชน์บ้าง ๓๐๐ โยชน์บ้าง ๔๐๐ โยชน์บ้าง ๕๐๐ โยชน์บ้าง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๒๘๑}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปนขันธกะ]

๓. อิมัสมิงธัมมวินเยอัฎฐัจฉริยะ

ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่มหาสมุทรเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ขนาดใหญ่ คือ ปลาติมิ ปลาติมิงคละ ปลาติมิติมิงคละ ปลามหาติมิงคละ อสูร นาค คนธรรพ์ มีลำตัว ๑๐๐ โยชน์บ้าง ๒๐๐ โยชน์บ้าง ๓๐๐ โยชน์บ้าง ๔๐๐ โยชน์บ้าง ๕๐๐ โยชน์บ้าง นี้เป็นความอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏประการที่ ๘ ในมหาสมุทร ที่พวกอสูรพบเห็นแล้ว ต่างพากันยินดีในมหาสมุทร
๓. อิมัสมิงธัมมวินเยอัฏฐัจฉริยะ
ว่าด้วยความมหัศจรรย์ในพระธรรมวินัย ๘ ประการ
[๓๘๕] ภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ มีธรรมที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ ที่พวกภิกษุพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้เหมือนกัน ธรรมที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ คือ ๑. ในธรรมวินัยนี้ มีการศึกษาไปตามลำดับ มีการบำเพ็ญไปตามลำดับ มีการปฏิบัติไปตามลำดับ ไม่ใช่มีการบรรลุอรหัตตผลโดยทันที เหมือนมหาสมุทรต่ำไปโดยลำดับ ลาดไปโดยลำดับ ลึกลงไปโดย ลำดับ ไม่ลึกชันดิ่งไปทันที ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ในธรรมวินัยนี้ มีการศึกษาไปตามลำดับ มีการบำเพ็ญไป ตามลำดับ มีการปฏิบัติไปตามลำดับ ไม่ใช่มีการบรรลุอรหัตตผลโดยทันที นี้เป็น ธรรมที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏประการที่ ๑ ในธรรมวินัยนี้ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็น แล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้ ๒. สาวกทั้งหลายของเราย่อมไม่ละเมิดสิกขาบทที่เราบัญญัติไว้ แม้ เพราะเหตุแห่งชีวิต เหมือน(น้ำใน)มหาสมุทรมีปกติคงที่ ไม่ล้นฝั่ง ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่สาวกทั้งหลายของเราย่อมไม่ละเมิดสิกขาบทที่เราบัญญัติ ไว้แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏประการที่ ๒ ใน ธรรมวินัยนี้ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๒๘๒}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปนขันธกะ]

๓. อิมัสมิงธัมมวินเยอัฎฐัจฉริยะ

๓. บุคคลใดทุศีลมีบาปธรรม ประพฤติไม่สะอาด น่ารังเกียจ ปกปิด พฤติกรรม ไม่ใช่สมณะแต่ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่พรหมจารี แต่ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี เน่าภายใน เปียกชุ่ม เป็นดุจหยากเยื่อ สงฆ์ก็ไม่อยู่ร่วมกับบุคคลนั้น สงฆ์ย่อมประชุมกันนำบุคคลนั้นออก ไปทันที แม้บุคคลนั้นจะนั่งอยู่ในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ก็ยังห่างไกล จากสงฆ์ และสงฆ์ก็ห่างไกลจากบุคคลนั้น เหมือนมหาสมุทรไม่อยู่ ร่วมกับซากศพ ย่อมซัดซากศพขึ้นฝั่งจนถึงบนบก ทันที ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลใดทุศีล มีบาปธรรม ประพฤติไม่สะอาด น่ารังเกียจ ปกปิดพฤติกรรม ไม่ใช่สมณะแต่ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่พรหมจารีแต่ปฏิญญา ว่าเป็นพรหมจารี เน่าภายใน เปียกชุ่ม เป็นดุจหยากเยื่อ สงฆ์ไม่อยู่ร่วมกับบุคคลนั้น สงฆ์ย่อมประชุมกันนำบุคคลนั้นเธอออกไปทันที แม้บุคคลนั้นจะนั่งอยู่ในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ก็ยังห่างไกลจากสงฆ์ และสงฆ์ก็ห่างไกลจากบุคคลนั้น นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ไม่ เคยปรากฏประการที่ ๓ ในธรรมวินัยที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพา กันยินดีใน ธรรมวินัยนี้ ๔. วรรณะ ๔ เหล่านี้คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ออกจากเรือนมาบวชในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ย่อมละชื่อและ โคตรเดิม รวมเรียกว่าสมณะเชื้อสายศากยบุตรทั้งสิ้น เหมือนมหา นทีทุกสาย คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ไหลลงสู่มหา สมุทรแล้ว ย่อมละชื่อและโคตรเดิม รวมเรียกว่า มหาสมุทรทั้งสิ้น ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่วรรณะ ๔ เหล่านี้คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ออกจากเรือนมาบวชในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ย่อมละชื่อและโคตรเดิม รวมเรียกว่า สมณะเชื้อสายศากยบุตร นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏประการ ที่ ๔ ในธรรมวินัยนี้ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้ ๕. แม้ถ้าภิกษุจำนวนมาก ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ก็ ไม่ทำให้นิพพานพร่องหรือเต็มได้ เหมือนแม่น้ำสายใดสายหนึ่งใน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๒๘๓}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปนขันธกะ]

๓. อิมัสมิงธัมมวินเยอัฎฐัจฉริยะ

โลกที่ไหลรวมลงสู่มหาสมุทร และสายฝนตกลงจากฟากฟ้า ก็ไม่ทำ ให้มหาสมุทรพร่องหรือเต็มได้ ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่แม้ถ้าภิกษุจำนวนมาก ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพาน ธาตุ ก็ไม่ทำให้นิพพานพร่องหรือเต็มได้ นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏ ประการที่ ๕ ในธรรมวินัยนี้ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีธรรมวินัยนี้ ๖. ธรรมวินัยนี้มีรสเดียวคือวิมุตติรส(ความหลุดพ้น) เหมือนมหาสมุทร มีรสเดียว คือ รสเค็ม ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ธรรมวินัยนี้มีรสเดียวคือวิมุตติรส(ความหลุดพ้น) นี้เป็น ธรรมที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏประการที่ ๖ ในธรรมวินัยที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็น แล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้ ๗. ธรรมวินัยนี้มีรัตนะมาก มีรัตนะหลายชนิดคือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ เหมือนมหาสมุทรมีรัตนะมาก มีรัตนะหลาย ชนิด คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา ประพาฬ เงิน ทอง ทับทิม แก้วตาแมว ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ธรรมวินัยนี้มีรัตนะมาก มีรัตนะหลายชนิด คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เป็นความอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏประการที่ ๗ ในธรรมวินัยที่ภิกษุทั้งหลายพบ เห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้ ๘. ธรรมวินัยนี้เป็นที่อยู่ของผู้ใหญ่ คือ พระโสดาบัน บุคคลผู้ปฏิบัติ เพื่อบรรลุโสดาปัตติผล พระสกิทาคามี บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุ สกิทาคามิผล พระอนาคามี บุคคคลผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุอนาคามิผล พระอรหันต์ บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุอรหัตตผล เหมือนมหาสมุทร เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ขนาดใหญ่ คือ ปลาติมิ ปลาติมิงคละ ปลา ติมิติมิงคละ ปลามหาติมิงคละ อสูร นาค คนธรรพ์ มีลำตัว ๑๐๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๒๘๔}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปนขันธกะ]

๔. ปาติโมกขสวนารหะ

โยชน์บ้าง ๒๐๐ โยชน์บ้าง ๓๐๐ โยชน์บ้าง ๔๐๐ โยชน์บ้าง ๕๐๐ โยชน์บ้าง ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ธรรมวินัยนี้เป็นที่อยู่ของผู้ใหญ่ คือ พระโสดาบัน บุคคล ผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผล พระสกิทาคามี บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุสกิทาคามิ ผล พระอนาคามี บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุอนาคามิผล พระอรหันต์ บุคคลผู้ปฏิบัติ เพื่อบรรลุอรหัตตผล นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏประการที่ ๘ ในธรรมวินัย ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้๑- ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้น จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า ยิ่งปิด ยิ่งรั่ว เปิดแล้วไม่รั่ว เพราะฉะนั้น พึงเปิดสิ่งที่ปิด เมื่อเป็นดังนี้ สิ่งที่เปิดนั้นก็จะไม่รั่ว๒-
๔. ปาติโมกขสวนารหะ
ว่าด้วยผู้ควรฟังปาติโมกข์
เรื่องทรงให้ภิกษุสงฆ์ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงเอง
[๓๘๖] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ตั้งแต่ บัดนี้เป็นต้นไป เราจะไม่ทำอุโบสถ ไม่ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ภิกษุทั้งหลาย ตั้งแต่ นี้ไปพวกเธอพึงทำอุโบสถ พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงเอง ภิกษุทั้งหลาย มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่เราจะทำอุโบสถ จะยกปาติโมกข์ขึ้น แสดงในบริษัทที่ไม่บริสุทธิ์ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีอาบัติติดตัวไม่พึงฟังปาติโมกข์ รูปใดฟัง ต้องอาบัติทุกกฎ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้งดปาฎิโมกข์แก่ภิกษุผู้มีอาบัติติดตัวนั้น @เชิงอรรถ : @ องฺ. อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๒๐/๒๕๒-๒๕๖, ขุ.อุ. ๒๕/๔๕/๒๖๐ @ ดูเทียบ ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๔๔๗/๔๑๕, ขุ.อุ. ๒๕/๔๕/๒๖๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๒๘๕}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๒๘๐-๒๘๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=7&siri=74              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=7&A=5404&Z=5538                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=449              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=7&item=449&items=17              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=7&item=449&items=17                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu7              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd19/en/brahmali#pli-tv-kd19:1.3.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd19/en/horner-brahmali#Kd.19.1.3



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :