ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] จุลวรรค ภาค ๒

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนีขันธกะ]

๒. ทุติยภาณวาร

เรื่องงดโอวาท
[๔๑๒] สมัยนั้น ท่านพระอุทายีงดโอวาทแล้วหลีกจาริกไป ภิกษุณีทั้งหลาย ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระคุณเจ้าอุทายี จึงงดโอวาทแล้วหลีกจาริก ไปเล่า” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายไม่พึงงดโอวาทแล้ว จาริกไป รูปใดเที่ยวจาริกไป ต้องอาบัติทุกกฏ” สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้โง่เขลาไม่ฉลาด งดโอวาท ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้โง่เขลาไม่ฉลาด ไม่พึงงดโอวาท รูปใดงด ต้องอาบัติทุกกฏ” สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายงดโอวาท เพราะเรื่องไม่สมควร เพราะเหตุไม่สมควร ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงงดโอวาท เพราะเรื่องไม่ สมควร เพราะเหตุไม่สมควร รูปใดงด ต้องอาบัติทุกกฏ” สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายงดโอวาทแล้วไม่ให้คำวินิจฉัย ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุงดโอวาทแล้วจะไม่ให้คำวินิจฉัย ไม่ได้ รูปใดไม่ให้ ต้องอาบัติทุกกฏ” [๔๑๓] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายไม่ยอมไปรับโอวาท ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่อง นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๓๓๒}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนีขันธกะ]

๒. ทุติยภาณวาร

พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่ไปรับโอวาทไม่ได้ รูปใด ไม่ไป พึงปรับอาบัติตามธรรม”๑- สมัยนั้น ภิกษุณีสงฆ์พากันไปรับโอวาท(พร้อมกัน)ทั้งหมด คนทั้งหลายจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ภิกษุณีเหล่านี้เป็นภรรยาของภิกษุเหล่านี้ ภิกษุณีเหล่านี้เป็น ชู้ของภิกษุเหล่านี้ บัดนี้ภิกษุและภิกษุณีเหล่านี้จะอภิรมย์กัน” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีสงฆ์ไม่พึงไปรับโอวาท(พร้อม กัน)ทั้งหมด ถ้าไป(พร้อมกัน)ทั้งหมด ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้ภิกษุณี ๔-๕ รูปไปรับโอวาท” สมัยนั้น ภิกษุณี ๔-๕ รูปไปรับโอวาท คนทั้งหลายจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนา ว่า “ภิกษุณีเหล่านี้เป็นภรรยาของภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ ภิกษุณีเหล่านี้เป็นชู้ของภิกษุ เหล่านี้ บัดนี้ภิกษุและภิกษุณีเหล่านี้จะอภิรมย์กัน” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงไปรับโอวาท ๔-๕ รูป ถ้าพวกเธอไป ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณี ๒-๓ รูป ไปรับโอวาท”
วิธีรับโอวาทของภิกษุณี
ภิกษุณีทั้งหลายพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่งกราบเท้า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “พระคุณเจ้า ภิกษุณีสงฆ์กราบเท้าภิกษุสงฆ์ และขอเข้ารับโอวาท นัยว่า ภิกษุณีสงฆ์จงได้การเข้ารับโอวาท” @เชิงอรรถ : @ พึงปรับอาบัติตามธรรม หมายถึงปรับอาบัติปาจิตตีย์ ตามความแห่งสิกขาบทที่ ๙ แห่งอารามวรรค @ที่กำหนดให้ภิกษุณีทั้งหลายต้องเข้าไปถามอุโบสถและฟังโอวาทจากภิกษุทั้งหลายสงฆ์ทุกครึ่งเดือน @(ดู วิ.ภิกฺขุนี. (แปล) ๓/๑๐๕๘/๒๘๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๓๓๓}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนีขันธกะ]

๒. ทุติยภาณวาร

ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุผู้ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ภิกษุณีสงฆ์กราบเท้าภิกษุสงฆ์ และขอการเข้ารับโอวาท นัยว่า ภิกษุณีสงฆ์จงได้การ เข้ารับโอวาท” ภิกษุผู้ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงพึงถามว่า “ภิกษุบางรูปที่สงฆ์แต่งตั้งให้สอนภิกษุณี มีอยู่หรือ” ถ้าภิกษุบางรูปที่สงฆ์แต่งตั้งให้เป็นผู้สอนภิกษุณี มีอยู่ ภิกษุผู้ยกปาติโมกข์ขึ้น แสดงพึงกล่าวว่า “ภิกษุชื่อนี้สงฆ์แต่งตั้งให้สอนภิกษุณี ภิกษุณีสงฆ์จงเข้าไปหาภิกษุนั้น” ถ้าภิกษุบางรูปที่สงฆ์แต่งตั้งให้สอนภิกษุณีไม่มีอยู่ ภิกษุผู้ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พึงถามว่า “ท่านรูปใดสามารถสอนภิกษุณีได้เล่า” ถ้าภิกษุบางรูปสามารถกล่าวสอน ภิกษุณีได้และมีคุณสมบัติ ๘ อย่าง ภิกษุผู้ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงพึงสวดแต่งตั้งแล้ว ประกาศว่า “ภิกษุชื่อนี้สงฆ์แต่งตั้งให้เป็นผู้สอนภิกษุณี ภิกษุณีสงฆ์จงเข้าไปหาภิกษุนั้น” ถ้าไม่มีใครสามารถจะสอนภิกษุณีได้ ภิกษุผู้ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พึงบอกว่า “ไม่มีรูปใดที่สงฆ์แต่งตั้งให้สอนภิกษุณี ภิกษุณีสงฆ์จงเป็นอยู่ด้วยอาการที่น่าเลื่อมใสเถิด” [๔๑๔] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่ยอมรับให้โอวาท ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายจะไม่รับให้โอวาทไม่ได้ รูปใดไม่รับ ต้องอาบัติทุกกฏ” สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นคนโง่เขลา ภิกษุณีทั้งหลายพากันไปหาภิกษุนั้น ได้ กล่าวดังนี้ว่า “พระคุณเจ้า ท่านโปรดรับให้โอวาท” ภิกษุนั้นตอบว่า “น้องหญิงทั้งหลาย อาตมาเป็นคนโง่เขลา จะรับให้โอวาทได้ อย่างไรกัน” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๓๓๔}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนีขันธกะ]

๒. ทุติยภาณวาร

ภิกษุณีทั้งหลายกล่าวว่า “พระคุณเจ้า ท่านโปรดรับให้โอวาทเถิด เพราะพระ ผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้อย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลายพึงรับให้โอวาทแก่ภิกษุณีทั้งหลาย” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ยกเว้นภิกษุผู้โง่เขลา เราอนุญาตให้ ภิกษุทั้งหลายที่เหลือรับให้โอวาท” สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นไข้ ภิกษุณีทั้งหลายพากันเข้าไปหาภิกษุนั้นแล้วได้ กล่าวดังนี้ว่า “พระคุณเจ้า ท่านโปรดรับให้โอวาท” ภิกษุนั้นตอบว่า “น้องหญิงทั้งหลาย อาตมาเป็นไข้ จะรับให้โอวาทได้อย่างไรกัน” ภิกษุณีทั้งหลายกล่าวว่า “พระคุณเจ้า ท่านโปรดรับให้โอวาทเถิด เพราะพระ ผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ยกเว้นภิกษุผู้โง่เขลา ภิกษุทั้งหลายที่เหลือพึงรับให้โอวาท” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ยกเว้นภิกษุผู้โง่เขลาและภิกษุเป็นไข้ เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายที่เหลือพึงรับให้โอวาท” สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งกำลังเตรียมจะเดินทาง ภิกษุณีทั้งหลายพากันเข้าไปหา ภิกษุนั้นได้กล่าวดังนี้ว่า “พระคุณเจ้า ท่านโปรดรับให้โอวาท” ภิกษุนั้นตอบว่า “น้องหญิงทั้งหลาย อาตมากำลังจะเดินทาง จะรับให้โอวาท ได้อย่างไรกัน” ภิกษุณีทั้งหลายกล่าวว่า “พระคุณเจ้า ท่านโปรดรับให้โอวาทเถิด เพราะพระ ผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้อย่างนี้ว่า ยกเว้นภิกษุผู้โง่เขลาและภิกษุเป็นไข้ ภิกษุทั้งหลาย ที่เหลือพึงรับให้โอวาท” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ยกเว้นภิกษุผู้โง่เขลา ภิกษุเป็นไข้และ ภิกษุกำลังจะเดินทาง เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายที่เหลือรับให้โอวาท” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๓๓๕}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนีขันธกะ]

๒. ทุติยภาณวาร

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในป่า ภิกษุณีทั้งหลายพากันเข้าไปหาภิกษุนั้น ได้ กล่าวดังนี้ว่า “พระคุณเจ้า ท่านโปรดรับให้โอวาท” ภิกษุนั้นตอบว่า “น้องหญิงทั้งหลาย อาตมาอยู่ในป่า จะรับให้โอวาทได้อย่างไร กัน” ภิกษุณีทั้งหลายกล่าวว่า “พระคุณเจ้า ท่านโปรดรับให้โอวาทเถิด เพราะพระ ผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้อย่างนี้ว่า ยกเว้นภิกษุโง่เขลา ภิกษุเป็นไข้และภิกษุผู้กำลัง จะเดินทาง ภิกษุทั้งหลายที่เหลือพึงรับให้โอวาท” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่ป่ารับให้โอวาท และนัดหมายว่า เราจะกลับมาในที่นั้น” [๔๑๕] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายรับให้โอวาทแล้วไม่บอก(โอวาท) ภิกษุทั้งหลาย จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่บอกโอวาทไม่ได้ รูปใดไม่บอก ต้องอาบัติทุกกฏ” สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายรับให้โอวาทแล้วไม่ยอมกลับมาบอก(โอวาท) ภิกษุ ทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่กลับมาบอกโอวาทไม่ได้ รูปใด ไม่กลับมาบอก ต้องอาบัติทุกกฏ” สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายไม่ไปที่นัดหมาย ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่ไปที่นัดหมายไม่ได้ รูปใด ไม่ไป ต้องอาบัติทุกกฏ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๓๓๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๓๓๒-๓๓๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=7&siri=86              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=7&A=6474&Z=6561                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=538              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=7&item=538&items=15              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=7&item=538&items=15                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu7              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd20/en/brahmali#pli-tv-kd20:9.3.5 https://suttacentral.net/pli-tv-kd20/en/horner-brahmali#Kd.20.9.3



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :