ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] จุลวรรค ภาค ๒
เรื่องหญิงแพศยาชื่ออัฑฒกาสี
[๔๓๐] สมัยนั้น หญิงแพศยาชื่ออัฑฒกาสีบวชในสำนักภิกษุณี นางต้องการไป กรุงสาวัตถี ด้วยคิดว่า “จะอุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาค” พวกนักเลงพอได้ฟังข่าวว่า “หญิงแพศยาชื่ออัฑฒกาสีจะเดินทางไปกรุงสาวัตถี” จึงคอยดักแอบซุ่มอยู่ใกล้หนทาง หญิงแพศยาอัฑฒกาสีได้ทราบว่า “มีพวกนักเลงแอบซุ่มอยู่ใกล้หนทาง” จึง ส่งข่าวไปถึงพระผู้มีพระภาคว่า “ดิฉันต้องการจะอุปสมบท จะพึงปฏิบัติอย่างไร” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อุปสมบทได้แม้โดยทูต” ภิกษุทั้งหลายจึงให้ภิกษุณีอุปสมบทโดยมีภิกษุเป็นทูต ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่อง นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้ภิกษุณีอุปสมบทโดยมี ภิกษุเป็นทูต รูปใดให้อุปสมบท ต้องอาบัติทุกกฏ” ภิกษุทั้งหลายให้ภิกษุณีอุปสมบทโดยมีสิกขมานาเป็นทูต ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ให้ภิกษุณีอุปสมบทโดยมีสามเณรเป็นทูต ฯลฯ ภิกษุทั้งหลายใหัภิกษุณีอุปสมบทโดย มีสามเณรีเป็นทูต ฯลฯ ภิกษุทั้งหลายให้ภิกษุณีอุปสมบทโดยมีภิกษุณีโง่เขลาไม่ฉลาด เป็นทูต ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้ภิกษุณีอุปสมบท {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๓๕๘}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนีขันธกะ]

๓. ตติยภาณวาร

โดยมีภิกษุณีโง่เขลาไม่ฉลาดเป็นทูต รูปใดให้อุปสมบท ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีอุปสมบทโดยมีภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถเป็นทูต” ภิกษุณีผู้เป็นทูตพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้า ภิกษุทั้งหลายแล้วนั่งกระโหย่ง ประนมมือกล่าวว่า “พระคุณเจ้าทั้งหลาย ผู้มีชื่อนี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์ใน ภิกษุณีสงฆ์ เธอมาไม่ได้เพราะมีอันตรายบางอย่าง พระคุณเจ้าทั้งหลาย ผู้มีชื่อนี้ขอ อุปสมบทต่อสงฆ์ พระคุณเจ้าทั้งหลาย ขอสงฆ์โปรดอนุเคราะห์ยกเธอขึ้นเถิด พระคุณเจ้าทั้งหลาย ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบท แล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์ในภิกษุณีสงฆ์ เธอมาไม่ได้เพราะมีอันตรายบางอย่าง พระคุณเจ้าทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๒ ผู้มีชื่อนี้จึงขออุปสมบทต่อสงฆ์ พระคุณเจ้าทั้งหลาย ขอสงฆ์โปรดอนุเคราะห์ยกเธอขึ้นเถิด พระคุณเจ้าทั้งหลาย ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบท แล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์ในภิกษุณีสงฆ์ เธอมาไม่ได้เพราะมีอันตรายบางอย่าง พระคุณเจ้าทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๓ ผู้มีชื่อนี้อุปสมบทต่อสงฆ์ พระคุณเจ้าทั้งหลาย ขอสงฆ์โปรดอนุเคราะห์ยกเธอขึ้นเถิด
กรรมวาจาให้อุปสมบทด้วยทูต
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์ในภิกษุณีสงฆ์ เธอมาไม่ได้เพราะมีอันตราย บางอย่าง ผู้มีชื่อนี้ขออุปสมบทต่อสงฆ์มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ถ้าสงฆ์พร้อมแล้ว พึงให้ผู้มีชื่อนี้อุปสมบทมีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี นี่เป็นญัตติ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์ในภิกษุณีสงฆ์ เธอมาไม่ได้เพราะมีอันตราย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๓๕๙}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนีขันธกะ]

๓. ตติยภาณวาร

บางอย่าง ผู้มีชื่อนี้จึงขออุปสมบทต่อสงฆ์มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี สงฆ์ให้ผู้มีชื่อนี้ อุปสมบทมีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการอุปสมบทของผู้มีชื่อนี้มี แม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้าก็กล่าวความนี้ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้าก็กล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มี ชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์ใน ภิกษุณีสงฆ์ เธอมาไม่ได้เพราะมีอันตรายบางอย่าง ผู้มีชื่อนี้จึงขออุปสมบทต่อสงฆ์มี แม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี สงฆ์ให้ผู้มีชื่อนี้อุปสมบทมีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ท่านรูปใด เห็นด้วยกับการอุปสมบทของผู้มีชื่อนี้มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่าน รูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง ผู้มีชื่อนี้ สงฆ์ให้อุปสมบทแล้วมีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี สงฆ์เห็นด้วย เพราะ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้ ขณะนั้นแหละพึงวัดเงาแดด บอกประมาณฤดู ส่วนแห่งวัน บอกสังคีติ สั่ง ภิกษุณีทั้งหลายว่า “พวกเธอพึงบอกนิสัย ๓ และอกรณียกิจ ๘ แก่ภิกษุณีนั้น”


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๓๕๘-๓๖๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=7&siri=95              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=7&A=7049&Z=7111                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=595              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=7&item=595&items=2              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=7&item=595&items=2                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu7              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd20/en/brahmali#pli-tv-kd20:22.1.1 https://suttacentral.net/pli-tv-kd20/en/horner-brahmali#Kd.20.22



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :