ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ปริวาร

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ]

๔. ทิฏฐาวิกัมมวรรค

๔. ทิฏฐาวิกัมมวรรค
หมวดว่าด้วยการเปิดเผยความเห็น
ความเห็นที่ไม่ชอบธรรม
[๔๒๕] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “การเปิดเผยความเห็นที่ไม่ชอบธรรมมีเท่าไร หนอแล พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี การเปิดเผยความเห็นที่ไม่ชอบธรรมมี ๕ อย่าง คือ ๑. การเปิดเผยความเห็นในอนาบัติ ๒. การเปิดเผยความเห็นในอาบัติที่เป็นอเทสนาคามินี ๓. การเปิดเผยความเห็นในอาบัติที่แสดงแล้ว ๔. การเปิดเผยความเห็นพร้อมกัน ๔-๕ รูป ๕. การเปิดเผยความเห็นด้วยนึกในใจ อุบาลี การเปิดเผยความเห็น ๕ อย่างนี้แล ที่ไม่ชอบธรรม
ความเห็นที่ชอบธรรม
อุบาลี การเปิดเผยความเห็นที่ชอบธรรมมี ๕ อย่าง คือ ๑. การเปิดเผยความเห็นในอาบัติ ๒. การเปิดเผยความเห็นในอาบัติที่เป็นเทสนาคามินี ๓. การเปิดเผยความเห็นในอาบัติที่ยังไม่ได้แสดง ๔. การไม่เปิดเผยความเห็นพร้อมกัน ๔-๕ รูป ๕. การไม่เปิดเผยความเห็นด้วยนึกในใจ อุบาลี การเปิดเผยความเห็น ๕ อย่างนี้แล ที่ชอบธรรม
ความเห็นที่ไม่ชอบธรรม อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี การเปิดเผยความเห็นที่ไม่ชอบธรรมแม้อื่นอีก ๕ อย่าง คือ ๑. การเปิดเผยความเห็นในสำนักภิกษุนานาสังวาส ๒. การเปิดเผยความเห็นในสำนักภิกษุผู้อยู่ในสีมาต่างกัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๖๐๘}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ]

๔. ทิฏฐาวิกัมมวรรค

๓. การเปิดเผยความเห็นในสำนักภิกษุมิใช่ปกตัตตะ ๔. การเปิดเผยความเห็นพร้อมกัน ๔-๕ รูป ๕. การเปิดเผยความเห็นด้วยนึกในใจ อุบาลี การเปิดเผยความเห็น ๕ อย่างนี้แล ที่ไม่ชอบธรรม
ความเห็นที่ชอบธรรม
อุบาลี การเปิดเผยความเห็นที่ชอบธรรมนี้มี ๕ อย่าง คือ ๑. การเปิดเผยความเห็นในสำนักภิกษุสมานสังวาส ๒. การเปิดเผยความเห็นในสำนักภิกษุผู้อยู่ในสีมาเดียวกัน ๓. การเปิดเผยความเห็นในสำนักภิกษุผู้เป็นปกตัตตะ ๔. การไม่เปิดเผยความเห็นพร้อมกัน ๔-๕ รูป ๕. การไม่เปิดเผยความเห็นด้วยนึกในใจ อุบาลี การเปิดเผยความเห็น ๕ อย่างนี้แล ที่ชอบธรรม”
การรับประเคนที่ใช้ไม่ได้
[๔๒๖] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “การรับประเคนที่ไม่ถูกต้อง มีเท่าไรหนอ แล พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี การรับประเคนที่ใช้ไม่ได้มี ๕ อย่าง คือ ๑. ของเขาให้ด้วยกาย ไม่รับประเคนด้วยกาย ๒. ของเขาให้ด้วยกาย ไม่รับประเคนด้วยของเนื่องด้วยกาย ๓. ของเขาให้ด้วยของเนื่องด้วยกาย ไม่รับประเคนด้วยกาย ๔. ของเขาให้ด้วยของเนื่องด้วยกาย ไม่รับประเคนด้วยของเนื่องด้วยกาย ๕. ของเขาให้ด้วยการโยนให้ ไม่รับประเคนด้วยกายหรือด้วยของเนื่อง ด้วยกาย อุบาลี การรับประเคน ๕ อย่างนี้แล ใช้ไม่ได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๖๐๙}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ]

๔. ทิฏฐาวิกัมมวรรค

การรับประเคนที่ใช้ได้
อุบาลี การรับประเคนที่ใช้ได้นี้มี ๕ อย่าง คือ ๑. ของเขาให้ด้วยกาย รับประเคนด้วยกาย ๒. ของเขาให้ด้วยกาย รับประเคนด้วยของเนื่องด้วยกาย ๓. ของเขาให้ด้วยของเนื่องด้วยกาย รับประเคนด้วยกาย ๔. ของเขาให้ด้วยของเนื่องด้วยกาย รับประเคนด้วยของเนื่องด้วยกาย ๕. ของเขาให้ด้วยการโยนให้ รับประเคนด้วยกายหรือด้วยของเนื่องด้วยกาย อุบาลี การรับประเคน ๕ อย่างนี้แล ใช้ได้”
ของที่ไม่เป็นเดน
[๔๒๗] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ของที่ไม่เป็นเดนมีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ของที่ไม่เป็นเดนมี ๕ อย่าง คือ ๑. ของที่ภิกษุยังมิได้ทำให้เป็นกัปปิยะ ๒. ของที่ภิกษุยังมิได้รับประเคน ๓. ของที่ภิกษุยังมิได้ยกขึ้นส่งให้ ๔. ของที่อยู่นอกหัตถบาส ๕. ของที่ภิกษุยังมิได้กล่าวว่า ‘ทั้งหมดนั่นพอแล้ว’ อุบาลี ของที่ไม่เป็นเดนนี้มี ๕ อย่างแล
ของที่เป็นเดน
อุบาลี ของที่เป็นเดนมี ๕ อย่าง คือ ๑. ของที่ภิกษุทำให้เป็นกัปปิยะแล้ว ๒. ของที่ภิกษุรับประเคนแล้ว ๓. ของที่ภิกษุยกขึ้นส่งให้แล้ว ๔. ของที่อยู่ในหัตถบาส ๕. ของที่ภิกษุกล่าวว่า ‘ทั้งหมดนั่นพอแล้ว’ อุบาลี ของที่เป็นเดนนี้มี ๕ อย่างแล” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๖๑๐}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ]

๔. ทิฏฐาวิกัมมวรรค

การห้ามภัตร
[๔๒๘] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “การห้ามภัตรย่อมปรากฏด้วยอาการเท่าไร หนอแล พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี การห้ามภัตรย่อมปรากฏด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ ๑. ภิกษุกำลังฉัน ๒. ทายกนำโภชนะมาถวาย ๓. ทายกอยู่ในหัตถบาส ๔. ทายกน้อมของถวาย ๕. ภิกษุบอกห้าม อุบาลี การห้ามภัตรย่อมปรากฏด้วยอาการ ๕ อย่างนี้แล”
ปฏิญญาตกรณะที่ไม่ชอบธรรม
[๔๒๙] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ปฏิญญาตกรณะที่ไม่ชอบธรรมมีเท่าไร หนอแล พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ปฏิญญาตกรณะที่ไม่ชอบธรรมนี้มี ๕ อย่าง คือ ๑. ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก ถูกโจทด้วยอาบัติปาราชิก แต่ปฏิญญา ว่าต้องอาบัติสังฆาทิเสส สงฆ์ปรับอาบัติสังฆาทิเสสภิกษุนั้น ชื่อว่า ปฏิญญาตกรณะไม่ชอบธรรม ๒. ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก ถูกโจทด้วยอาบัติปาราชิก แต่ปฏิญญา ว่าต้องอาบัติปาจิตตีย์ สงฆ์ปรับอาบัติปาจิตตีย์ภิกษุนั้น ชื่อว่า ปฏิญญาตกรณะไม่ชอบธรรม ๓. ภิกษุต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ถูกโจทด้วยอาบัติปาฏิเทสนียะ แต่ ปฏิญญาว่าต้องอาบัติทุกกฏ สงฆ์ปรับอาบัติทุกกฏภิกษุนั้น ชื่อว่า ปฏิญญาตกรณะไม่ชอบธรรม ๔. ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ถูก โจทด้วยอาบัติทุกกฏ แต่ปฏิญญาว่าต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์ปรับ อาบัติปาราชิกภิกษุนั้น ชื่อว่าปฏิญญาตกรณะไม่ชอบธรรม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๖๑๑}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ]

๔. ทิฏฐาวิกัมมวรรค

๕. ภิกษุต้องอาบัติทุกกฏ ถูกโจทด้วยอาบัติทุกกฏ แต่ปฏิญญาว่า ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ สงฆ์ปรับอาบัติ ปาฏิเทสนียะภิกษุนั้น ชื่อว่าปฏิญญาตกรณะไม่ชอบธรรม อุบาลี ปฏิญญาตกรณะ ๕ อย่างนี้แล ไม่ชอบธรรม
ปฏิญญาตกรณะที่ชอบธรรม
อุบาลี ปฏิญญาตกรณะที่ชอบธรรมนี้มี ๕ อย่าง คือ ๑. ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก ถูกโจทด้วยอาบัติปาราชิก ปฏิญญาว่า ต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์ปรับอาบัติปาราชิกภิกษุนั้น ชื่อว่า ปฏิญญาตกรณะที่ชอบธรรม ๒. ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส ถูกโจทด้วยอาบัติสังฆาทิเสส ปฏิญญา ว่าต้องอาบัติสังฆาทิเสส สงฆ์ปรับอาบัติสังฆาทิเสสภิกษุนั้น ชื่อว่า ปฏิญญาตกรณะที่ชอบธรรม ๓. ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถูกโจทด้วยอาบัติปาจิตตีย์ ปฏิญญาว่า ต้องอาบัติปาจิตตีย์ สงฆ์ปรับอาบัติปาจิตตีย์ภิกษุนั้น ชื่อว่า ปฏิญญาตกรณะที่ชอบธรรม ๔. ภิกษุต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ถูกโจทด้วยอาบัติปาฏิเทสนียะ ปฏิญญาว่าต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ สงฆ์ปรับอาบัติปาฏิเทสนียะ ภิกษุนั้น ชื่อว่าปฏิญญาตกรณะที่ชอบธรรม ๕. ภิกษุต้องอาบัติทุกกฏ ถูกโจทด้วยอาบัติทุกกฏ ปฏิญญาว่าต้อง อาบัติทุกกฏ สงฆ์ปรับอาบัติทุกกฏภิกษุนั้น ชื่อว่าปฏิญญาต- กรณะที่ชอบธรรม อุบาลี ปฏิญญาตกรณะ ๕ อย่างนี้แล ที่ชอบธรรม” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๖๑๒}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ]

๔. ทิฏฐาวิกัมมวรรค

ไม่ควรทำโอกาส
[๔๓๐] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล ขอ ให้ทำโอกาส สงฆ์ไม่ควรทำโอกาส พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ขอให้ทำโอกาส สงฆ์ไม่ควรทำโอกาส องค์ ๕ คือ ๑. เป็นอลัชชี ๒. เป็นคนโง่เขลา ๓. ไม่ใช่ปกตัตตะ ๔. เป็นผู้กล่าวประสงค์จะให้เคลื่อนจากศาสนา ๕. ไม่เป็นผู้กล่าวประสงค์จะให้ออกจากอาบัติ อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ขอให้ทำโอกาส สงฆ์ไม่ควรทำโอกาส
ควรทำโอกาส
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ขอให้ทำโอกาส สงฆ์ควรทำโอกาส องค์ ๕ คือ ๑. เป็นลัชชี ๒. เป็นบัณฑิต ๓. เป็นปกตัตตะ ๔. เป็นผู้กล่าวประสงค์จะให้ออกจากอาบัติ ๕. ไม่เป็นผู้กล่าวประสงค์จะให้เคลื่อนจากศาสนา อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ขอให้ทำโอกาส สงฆ์ควรทำโอกาส”
ไม่ควรสนทนาวินัย
[๔๓๑] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุทั้งหลายไม่ควรสนทนาวินัยกับภิกษุ ผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่ควรสนทนาวินัยกับผู้ประกอบ ด้วยองค์ ๕ องค์ ๕ คือ ๑. ไม่รู้วัตถุ ๒. ไม่รู้นิทาน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๖๑๓}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ]

๔. ทิฏฐาวิกัมมวรรค

๓. ไม่รู้พระบัญญัติ ๔. ไม่รู้บทที่ตกหล่นในภายหลัง ๕. ไม่รู้ถ้อยคำอันเกี่ยวเนื่องกัน อุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่ควรสนทนาวินัยกับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล
ควรสนทนาวินัย
อุบาลี ภิกษุทั้งหลายควรสนทนาวินัยกับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ องค์ ๕ คือ ๑. รู้วัตถุ ๒. รู้นิทาน ๓. รู้บัญญัติ ๔. รู้บทที่ตกหล่นในภายหลัง ๕. รู้ถ้อยคำอันเกี่ยวเนื่องกัน อุบาลี ภิกษุทั้งหลายควรสนทนาวินัยกับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล”
เหตุที่ถามปัญหา ๕ อย่าง
[๔๓๒] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “การถามปัญหามีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี การถามปัญหานี้มี ๕ อย่าง คือ ๑. ภิกษุถามปัญหาเพราะความเป็นผู้โง่เขลา งมงาย ๒. เป็นผู้ปรารถนาเลวทราม ถูกความอยากครอบงำ จึงถามปัญหา ๓. ถามปัญหาเพราะดูหมิ่น ๔. เป็นผู้ไม่ประสงค์จะรู้จึงถามปัญหา ๕. ถามปัญหาด้วยคำนึงว่า ถ้าเราถามปัญหาแล้ว ภิกษุจักพยากรณ์ ได้ถูกต้อง การพยากรณ์ดังนี้นั้นเป็นสิ่งดี แต่ถ้าเราถามปัญหาแล้ว เธอจักพยากรณ์ไม่ถูกต้อง เราก็จักพยากรณ์แก่เธออย่างถูกต้อง อุบาลี การถามปัญหามี ๕ อย่างนี้แล” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๖๑๔}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ]

๔. ทิฏฐาวิกัมมวรรค

การอวดอ้างมรรคผล
[๔๓๓] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “การอวดอ้างมรรคผลมีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี การอวดอ้างมรรคผลมี ๕ อย่าง คือ ๑. ภิกษุอวดอ้างมรรคผลเพราะความเป็นผู้โง่เขลา งมงาย ๒. เป็นผู้ปรารถนาเลวทราม ถูกความอยากครอบงำ จึงอวดอ้างมรรคผล ๓. อวดอ้างมรรคผลเพราะวิกลจริต มีจิตฟุ้งซ่าน ๔. อวดอ้างมรรคผลเพราะสำคัญว่าได้บรรลุ ๕. อวดอ้างมรรคผลที่เป็นจริง อุบาลี การอวดอ้างมรรคผลมี ๕ อย่างนี้แล”
วิสุทธิ
[๔๓๔] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “วิสุทธิมีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี วิสุทธินี้มี ๕ แบบ คือ ๑. ยกนิทานขึ้นแสดงจบแล้ว พึงสวดอุทเทสที่เหลือด้วยสุตบท นี้จัด เป็นวิสุทธิแบบที่ ๑ ๒. ยกนิทานขึ้นแสดง ยกปาราชิก ๔ ขึ้นแสดงจบแล้วพึงสวดอุทเทส ที่เหลือด้วยสุตบท นี้เป็นวิสุทธิแบบที่ ๒ ๓. ยกนิทานขึ้นแสดง ยกปาราชิก ๔ ขึ้นแสดง ยกสังฆาทิเสส ๑๓ ขึ้นแสดงจบแล้ว พึงสวดอุทเทสที่เหลือด้วยสุตบท นี้เป็นวิสุทธิแบบที่ ๓ ๔. ยกนิทานขึ้นแสดง ยกปาราชิก ๔ ขึ้นแสดง ยกสังฆาทิเสส ๑๓ ขึ้นแสดง ยกอนิยต ๒ ขึ้นแสดงจบแล้ว พึงสวดอุทเทสที่เหลือ ด้วยสุตบท นี้เป็นวิสุทธิแบบที่ ๔ ๕. ยกขึ้นแสดงโดยพิสดารทั้งหมด เป็นวิสุทธิแบบที่ ๕ อุบาลี วิสุทธิมี ๕ แบบนี้แล” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๖๑๕}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ]

๕. อัตตาทานวรรค

โภชนะ ๕
[๔๓๕] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “โภชนะมีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี โภชนะนี้มี ๕ อย่าง คือ ๑. ข้าวสุก ๒. ขนมสด ๓. ขนมแห้ง ๔. ปลา ๕. เนื้อ อุบาลี โภชนะมี ๕ อย่างนี้แล”
ทิฏฐาวิกัมมวรรคที่ ๔ จบ
หัวข้อประจำวรรค
การเปิดเผยความเห็นในอนาบัติ การเปิดเผยความเห็นในอาบัติ การรับประเคน ของที่เป็นเดน การห้ามภัตร ปฏิญญาตกรณะ การขอโอกาส การสนทนา การถามปัญหา การอวดอ้างมรรคผล วิสุทธิ โภชนะ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๘ หน้าที่ ๖๐๘-๖๑๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=8&siri=109              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=8&A=10985&Z=11177                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=1172              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=8&item=1172&items=11              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=8&item=1172&items=11                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu8              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr17/en/brahmali#pli-tv-pvr17:54.0 https://suttacentral.net/pli-tv-pvr17/en/horner-brahmali#Prv.17.4



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :