ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ปริวาร

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๒. กตาปัตติวาร ๒. สังฆาทิเลสกัณฑ์

๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์
คำถาม - คำตอบจำนวนอาบัติในสังฆาทิเสสกัณฑ์
๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท
[๑๖๑] ถาม : ภิกษุพยายามทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน ต้องอาบัติเท่าไร ตอบ : ภิกษุพยายามทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ ๑. จงใจ พยายาม น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒. จงใจ พยายาม น้ำอสุจิไม่เคลื่อน ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๓. ต้องอาบัติทุกกฏ๑- เพราะพยายาม
๒. กายสังสัคคสิกขาบท
ภิกษุถูกต้องกายกับมาตุคาม ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ ๑. ใช้กายจับต้องกาย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒. ใช้กายจับต้องของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๓. ใช้ของที่เนื่องด้วยกายจับต้องของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ @เชิงอรรถ : @ อาบัติทุกกฏในสุกกวิสัฏฐิสิกขาบทมีกล่าวในคัมภีร์มหาวิภังค์ ๒ แห่ง @๑. ภิกษุจับองคชาตของสามเณร ผู้หลับอยู่แล้ว น้ำอสุจิของภิกษุเคลื่อน ต้องอาบัติทุกกฏ @(วิ.มหา. (แปล) ๑/๒๖๕/๒๘๑) @๒. ภิกษุมีความกำหนัดเพ่งดูองค์กำเนิดของมาตุคาม ต้องอาบัติทุกกฏ (วิ.มหา. (แปล) ๑/๒๖๖/๒๘๔) @ในอรรถกถากล่าวอาบัติทุกกฏไว้ ๒ แห่ง @๑. ภิกษุยินดีในเมถุนธรรม จับต้องมาตุคามด้วยความกำหนัดในเมถุน น้ำอสุจิเคลื่อนเพราะ @พยายามจับต้อง แต่เพราะเป็นขั้นตอนแห่งเมถุนธรรม จึงต้องอาบัติทุกกฏ (วิ.อ. ๒/๒๔๐/๑๓) @๒. ภิกษุมีความกำหนัดพยายามเพ่งดูนิมิตของมาตุคามต้องอาบัติทุกกฏ (วิ.อ. ๒/๒๖๖/๑๘) @ต้องอาบัติทุกกฏ ขณะพยายาม ในคัมภีร์ปริวารนี้คงหมายถึงพยายามจับต้องมาตุคามด้วยประสงค์ @จะเสพเมถุนธรรมแล้วน้ำอสุจิเคลื่อน หรือพยายามเพ่งดูอวัยวะของมาตุคามก็ได้ เพราะข้อความตอนนี้ @ท่านอธิบายสุกกวิสัฏฐิสิกขาบท ในสิกขาบทวิภังค์ และปทภาชนีย์ ไม่มีกล่าวถึงอาบัติทุกกฏ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๑๒๔}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๒. กตาปัตติวาร ๒. สังฆาทิเลสกัณฑ์

๓. ทุฏฐุลลวาจาสิกขาบท
ภิกษุพูดเกี้ยวมาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบ ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ ๑. พูดชมบ้าง พูดติบ้าง พาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ต้องอาบัติ สังฆาทิเสส ๒. พูดชมบ้าง พูดติบ้าง พาดพิงถึงอวัยวะเบื้องบนใต้รากขวัญลงมา อวัยวะ เบื้องต่ำเหนือเข่าขึ้นไป เว้นทวารหนัก ทวารเบา ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๓. พูดชมบ้าง พูดติบ้าง พาดพิงถึงของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ
๔. อัตตกามปาริจริยสิกขาบท
ภิกษุกล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตน ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ ๑. กล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อหน้ามาตุคาม ต้องอาบัติ สังฆาทิเสส ๒. กล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อหน้าบัณเฑาะก์ ต้อง อาบัติถุลลัจจัย ๓. กล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อหน้าสัตว์ดิรัจฉาน ต้อง อาบัติทุกกฏ
๕. สัญจริตตสิกขาบท
ภิกษุทำหน้าที่ชักสื่อ ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ ๑. รับคำ ไปบอก กลับมาบอก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒. รับคำ ไปบอก ไม่กลับมาบอก ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๓. รับคำ ไม่ไปบอก ไม่กลับมาบอก ต้องอาบัติทุกกฏ
๖. กุฏิการสิกขาบท
ภิกษุสร้างกุฎีด้วยการขอเอาเอง ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๑๒๕}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๒. กตาปัตติวาร ๒. สังฆาทิเลสกัณฑ์

๑. กำลังใช้ให้สร้าง ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. ยังเหลืออิฐอีกก้อนหนึ่งจึงจะเสร็จ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๓. อิฐก้อนสุดท้ายเสร็จแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๗. วิหารการสิกขาบท
ภิกษุใช้ให้สร้างวิหารใหญ่ ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ ๑. กำลังใช้ให้สร้าง ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. ยังเหลืออิฐอีกก้อนหนึ่งจึงจะเสร็จ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๓. อิฐก้อนสุดท้ายเสร็จแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๘. ปฐมทุฏฐโทสสิกขาบท
ภิกษุใส่ความภิกษุด้วยอาบัติปาราชิกที่ไม่มีมูล ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ ๑. ไม่ขอโอกาสก่อน มีความประสงค์จะให้พ้นจากพรหมจรรย์ จึงโจท ต้องอาบัติทุกกฏกับสังฆาทิเสส ๒. ขอโอกาสก่อน มีความประสงค์จะด่า จึงโจท ต้องอาบัติเพราะกล่าว เสียดสี๑-
๙. ทุติยทุฏฐโทสสิกขาบท
ภิกษุอ้างเอาบางส่วนแห่งอธิกรณ์เรื่องอื่นเป็นเลศใส่ความภิกษุด้วยอาบัติปาราชิก ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ ๑. ไม่ขอโอกาสก่อน มีความประสงค์จะให้พ้นจากพรหมจรรย์ จึงโจท ต้องอาบัติทุกกฏกับสังฆาทิเสส ๒. ขอโอกาสก่อน มีความประสงค์จะด่า จึงโจท ต้องอาบัติเพราะกล่าว เสียดสี @เชิงอรรถ : @ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะกล่าวเสียดสีตามสิกขาบทที่ ๒ แห่งมุสาวาทวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์ @(วิ.มหา. (แปล) ๒/๑๔/๒๐๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๑๒๖}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๒. กตาปัตติวาร ๒. สังฆาทิเลสกัณฑ์

๑๐. สังฆเภทสิกขาบท
ภิกษุผู้ทำสงฆ์ให้แตกกัน ถูกสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้งก็ยังไม่สละ(เรื่องนั้น) ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ ๑. จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒. จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๓. จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๑๑. สังฆเภทานุวัตตกสิกขาบท
ภิกษุทั้งหลายที่ประพฤติตามสนับสนุนภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ถูกสงฆ์สวดสมนุภาสน์ ครบ ๓ ครั้ง ก็ยังไม่สละ(เรื่องนั้น) ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ ๑. จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒. จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๓. จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๑๒. ทุพพจสิกขาบท
ภิกษุเป็นคนว่ายาก ถูกสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง ก็ยังไม่สละ(เรื่องนั้น) ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ ๑. จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒. จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๓. จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๑๓. กุลทูสกสิกขาบท
ภิกษุผู้ประทุษร้ายตระกูล ถูกสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง ก็ยังไม่สละ ต้อง อาบัติ ๓ อย่าง คือ ๑. จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๑๒๗}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๒. กตาปัตติวาร ๔. นิสสัคคิยกัณฑ ๑. กฐินวรรค

๒. จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๓. จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
สังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท จบ
ฯเปฯ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๘ หน้าที่ ๑๒๔-๑๒๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=8&siri=25              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=8&A=2541&Z=2587                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=248              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=8&item=248&items=13              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=8&item=248&items=13                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu8              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr1.2/en/brahmali#pli-tv-pvr1.2:6.0 https://suttacentral.net/pli-tv-pvr1.2/en/horner-brahmali#Prv.1.2:Bu-Ss.1



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :