ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ปริวาร

พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม]

๑. โวหรันเตนชานิตัพพาทิ

มหาสงคราม
ว่าด้วยภิกษุผู้เข้าสู่มหาสงคราม
๑. โวหรันเตนชานิตัพพาทิ
ว่าด้วยข้อปฏิบัติที่ภิกษุผู้กล่าวพึงรู้ เป็นต้น
[๓๖๘] อันภิกษุผู้เข้าสงคราม เมื่อกล่าวในสงฆ์พึงรู้วัตถุ พึงรู้วิบัติ พึงรู้อาบัติ พึงรู้นิทาน พึงรู้อาการ พึงรู้คำต้นและคำหลัง พึงรู้สิ่งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ พึงรู้กรรม พึงรู้อธิกรณ์ พึงรู้สมถะ ไม่พึงลำเอียงเพราะชอบ ไม่พึงลำเอียงเพราะชัง ไม่พึง ลำเอียงเพราะหลง ไม่พึงลำเอียงเพราะกลัว พึงชี้แจงในฐานะที่ควรชี้แจง พึงพิจารณา ในฐานะที่ควรพิจารณา พึงเพ่งเล็งในฐานะที่ควรเพ่งเล็ง พึงเลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส ไม่พึงดูหมิ่นฝ่ายอื่นด้วยเข้าใจว่าเราได้พวกแล้ว ไม่พึงดูหมิ่นผู้มีสุตะน้อยด้วยเข้าใจว่า เรามีสุตะมาก ไม่พึงดูหมิ่นภิกษุผู้อ่อนกว่าด้วยเข้าใจว่าเราเป็นผู้แก่กว่า ไม่พึงพูดเรื่อง ที่ยังมาไม่ถึง ไม่พึงให้เรื่องที่มาถึงแล้วเสื่อมไปจากพระธรรมวินัย อธิกรณ์นั้นจะระงับ ด้วยธรรมใด ด้วยวินัยใด ด้วยสัตถุศาสน์ใด พึงให้อธิกรณ์นั้นระงับด้วยวิธีนั้น
ว่าด้วยการรู้วัตถุ
[๓๖๙] คำว่า พึงรู้วัตถุ นั้น คือ พึงรู้วัตถุแห่งปาราชิก ๘ สิกขาบท พึงรู้วัตถุ แห่งสังฆาทิเสส ๒๓ สิกขาบท พึงรู้วัตถุแห่งอนิยต ๒ สิกขาบท พึงรู้วัตถุแห่งนิสสัคคีย์ ๔๒ สิกขาบท พึงรู้วัตถุแห่งปาจิตตีย์ ๑๘๘ สิกขาบท พึงรู้วัตถุแห่งปาฏิเทสนียะ ๑๒ สิกขาบท พึงรู้วัตถุแห่งทุกกฏ พึงรู้วัตถุแห่งทุพภาสิต
ว่าด้วยการรู้วิบัติ
[๓๗๐] คำว่า พึงรู้วิบัติ นั้น คือ พึงรู้สีลวิบัติ พึงรู้อาจารวิบัติ พึงรู้ทิฏฐิวิบัติ พึงรู้อาชีววิบัติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๕๕๔}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม]

๑. โวหรันเตนชานิตัพพาทิ

ว่าด้วยการรู้อาบัติ
[๓๗๑] คำว่า พึงรู้อาบัติ นั้น คือ พึงรู้อาบัติปาราชิก พึงรู้อาบัติสังฆาทิเสส พึงรู้อาบัติถุลลัจจัย พึงรู้อาบัติปาจิตตีย์ พึงรู้อาบัติปาฏิเทสนียะ พึงรู้อาบัติทุกกฏ พึงรู้อาบัติทุพภาสิต
ว่าด้วยการรู้นิทาน
[๓๗๒] คำว่า พึงรู้นิทาน นั้น คือ พึงรู้นิทานแห่งปาราชิก ๘ สิกขาบท พึงรู้นิทานแห่งสังฆาทิเสส ๒๓ สิกขาบท พึงรู้นิทานแห่งอนิยต ๒ สิกขาบท พึงรู้ นิทานแห่งนิสสัคคีย์ ๔๒ สิกขาบท พึงรู้นิทานแห่งปาจิตตีย์ ๑๘๘ สิกขาบท พึงรู้ นิทานแห่งปาฏิเทสนียะ ๑๒ สิกขาบท พึงรู้นิทานแห่งทุกกฏ พึงรู้นิทานแห่ง ทุพภาสิต
ว่าด้วยการรู้อาการ
[๓๗๓] คำว่า พึงรู้อาการ นั้น คือ พึงรู้สงฆ์โดยอาการ พึงรู้คณะโดยอาการ พึงรู้บุคคลโดยอาการ พึงรู้โจทก์โดยอาการ พึงรู้จำเลยโดยอาการ ข้อว่า พึงรู้สงฆ์โดยอาการ นั้น คือ พึงรู้สงฆ์โดยอาการอย่างนี้ว่า สงฆ์หมู่นี้ จะสามารถระงับอธิกรณ์นี้ได้โดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ หรือไม่หนอ ข้อว่า พึงรู้คณะโดยอาการ นั้น คือ พึงรู้คณะโดยอาการอย่างนี้ว่า คณะนี้จะ สามารถระงับอธิกรณ์นี้ได้โดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ หรือไม่หนอ ข้อว่า พึงรู้บุคคลโดยอาการ นั้น คือ พึงรู้บุคคลโดยอาการอย่างนี้ว่า บุคคลนี้จะสามารถระงับอธิกรณ์นี้ได้โดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ หรือไม่หนอ ข้อว่า พึงรู้โจทก์โดยอาการ นั้น คือ พึงรู้โจทก์โดยอาการอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้ จะตั้งอยู่ในธรรม ๕ ประการ แล้วโจทผู้อื่น หรือไม่หนอ ข้อว่า พึงรู้จำเลยโดยอาการ นั้น คือ พึงรู้จำเลยโดยอาการอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้จะ ตั้งอยู่ในธรรม ๒ ข้อ คือ ให้การตามจริงและไม่โกรธ หรือไม่หนอ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๕๕๕}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม]

๑. โวหรันเตนชานิตัพพาทิ

ว่าด้วยการรู้คำต้นและคำหลัง
[๓๗๔] คำว่า พึงรู้คำต้นและคำหลัง นั้น คือ พึงรู้คำต้นและคำหลังอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้ย้ายวัตถุจากวัตถุ ย้ายวิบัติจากวิบัติ ย้ายอาบัติจากอาบัติ ปฏิเสธแล้วกลับ ปฏิญาณ ปฏิญาณแล้วกลับปฏิเสธ หรือสับเรื่องอื่นด้วยเรื่องอื่น หรือไม่หนอ
ว่าด้วยการรู้สิ่งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ
[๓๗๕] คำว่า พึงรู้สิ่งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ นั้น คือ พึงรู้เมถุนธรรม พึง รู้ข้ออนุโลมแก่เมถุนธรรม พึงรู้บุพพภาคแห่งเมถุนธรรม ข้อว่า พึงรู้เมถุนธรรม นั้น คือ พึงรู้กิจที่กระทำกันสองต่อสอง ข้อว่า พึงรู้ข้ออนุโลมแก่เมถุนธรรม นั้น คือ (พึงรู้เรื่อง)ภิกษุอมองคชาตของ ภิกษุอื่นด้วยปากของตน ข้อว่า พึงรู้บุพพภาคแห่งเมถุนธรรม นั้น คือ พึงรู้สีมิใช่สี๑- การถูกต้องกาย วาจาชั่วหยาบ การบำเรอความใคร่ของตน การใช้คำชักชวน๒-
ว่าด้วยการรู้กรรม
[๓๗๖] คำว่า พึงรู้กรรม นั้น คือ พึงรู้กรรม ๑๖ อย่าง คือ อปโลกนกรรม ๔ ญัตติกรรม ๔ ญัตติทุติยกรรม ๔ ญัตติจตุตถกรรม ๔
ว่าด้วยการรู้อธิกรณ์
[๓๗๗] คำว่า พึงรู้อธิกรณ์ นั้น คือ พึงรู้อธิกรณ์ ๔ คือ (๑) วิวาทาธิกรณ์ (๒) อนุวาทาธิกรณ์ (๓) อาปัตตาธิกรณ์ (๔) กิจจาธิกรณ์ @เชิงอรรถ : @ พึงรู้สี คือพึงรู้สีของอสุจิ มิใช่สี คือพึงรู้ว่าไม่เกี่ยวกับสีอสุจิ แต่ภิกษุพยายามเพื่อความหายโรค น้ำอสุจิ @เคลื่อน (วิ.อ. ๓/๓๗๕/๕๐๗, สารตฺถ.ฏีกา. ๓/๓๗๕/๕๘๐. ดู วิ.มหา. (แปล) ๑/๒๔๐/๒๕๕-๒๕๖ ประกอบ) @ การใช้คำชักชวน หมายถึงการทำหน้าที่ชักสื่อ (วิ.อ. ๓/๓๗๕/๕๐๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๕๕๖}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม]

๒. อคติอคันตัพพะ

ว่าด้วยการรู้สมถะ
[๓๗๘] คำว่า พึงรู้สมถะ นั้น คือ พึงรู้สมถะ ๗ คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) เยภุยยสิกา (๓) สติวินัย (๔) อมูฬหวินัย (๕) ปฏิญญาตกรณะ (๖) ตัสสปาปิยสิกา (๗) ติณวัตถารกะ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๘ หน้าที่ ๕๕๔-๕๕๗. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=8&siri=99              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=8&A=9777&Z=9835                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=1087              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=8&item=1087&items=11              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=11464              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=8&item=1087&items=11              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=11464                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu8              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr15/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-pvr15/en/horner-brahmali



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :