ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒
เรื่องประคดเอว
[๑๖๓] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งไม่ได้คาดรัดประคด เข้าบ้านไปบิณฑบาต ผ้าสบงของเธอหลุดที่ถนน ชาวบ้านเห็นแล้วพากันโห่ ภิกษุนั้นกระดากอาย ครั้น ไปถึงวัดแล้ว เล่าเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลายๆ กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค ... ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่มีรัดประคดไม่พึงเข้าบ้าน รูปใดเข้าบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ เราอนุญาตผ้ารัดประคด ฯ [๑๖๔] สมัยนั้น พระฉัพพัคคีย์ใช้ผ้าประคดต่างๆ คือ ประคดถักเชือก หลายเส้น ประคดถักเป็นศีรษะงูน้ำ ประคดกลมคล้ายเกลียวเชือก ประคดคล้าย สังวาล ชาวบ้าน เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ... เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภค กาม ... ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ... *เส้น ประคดถักเป็นศีรษะงูน้ำ ประคดกลมคล้ายเกลียวเชือก ประคดคล้ายสังวาล รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตประคด ๒ ชนิด คือ ประคดแผ่นผ้า ๑ ประคดกลมดังไส้สุกร ๑ ... ชายผ้าประคดเก่า ... ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรา อนุญาตให้ถักกลมคล้ายเกลียวเชือก ให้ถักคล้ายสังวาลได้ ปลายประคดเก่า ... ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเย็บทบเข้ามา ถักเป็นห่วง ที่สุดห่วง ประคดเก่า ... ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตลูกถวิล ฯ
เรื่องลูกถวิล
[๑๖๕] สมัยนั้น พระฉัพพัคคีย์ใช้ลูกถวิลต่างๆ คือ ทำด้วยทอง ทำ ด้วยเงิน ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภค กาม ... ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ... ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้ลูกถวิลต่างๆ รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตลูกถวิล ทำด้วยกระดูก งา เขา ไม้อ้อ ไม้ไผ่ ... กระดองสังข์ เส้นด้าย ฯ
เรื่องลูกดุม
[๑๖๖] สมัยนั้น ท่านพระอานนท์ห่มผ้าสังฆาฏิเนื้อบางเข้าบ้านบิณฑบาต สังฆาฏิของท่านถูกลมหัวด้วนพัดเลิกขึ้น ครั้นท่านกลับถึงอารามแล้ว ได้แจ้งเรื่อง นั้นแก่ภิกษุทั้งหลายๆ กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตลูกดุมและรังดุม ฯ [๑๖๗] สมัยนั้น พระฉัพพัคคีย์ใช้ลูกดุมต่างๆ คือ ทำด้วยทอง ทำด้วย เงิน ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ... เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภค กาม ... ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ... ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้ลูกดุมต่างๆ รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตลูกดุม ทำด้วยกระดูก งา เขา ไม้อ้อ ไม้ไผ่ ไม้จริง ยางไม้ เมล็ดผลไม้ โลหะ กระดองสังข์ เส้นด้าย ฯ [๑๖๘] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเย็บตรึงลูกดุมบ้าง รังดุมบ้าง ลงที่จีวร จีวรชำรุด ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ... ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตแผ่นผ้ารองลูกดุม แผ่นผ้ารองรังดุม ภิกษุ ทั้งหลายเย็บตรึงแผ่นผ้ารองลูกดุมแผ่นผ้ารองรังดุมลงที่ชายจีวร มุมผ้าเปิด ภิกษุ ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ... ตรัสว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ติดแผ่นผ้ารองลูกดุม แผ่นผ้ารองรังดุมที่ชายผ้าลึกเข้าไป ๗-๘ องคุลี ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ บรรทัดที่ ๑๒๑๒-๑๒๕๓ หน้าที่ ๕๐-๕๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=7&A=1212&Z=1253&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=7&A=1212&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=7&siri=17              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=-163              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=7&A=1257              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=7&A=1257              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_7              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd15/en/brahmali#pli-tv-kd15:29.1.1 https://suttacentral.net/pli-tv-kd15/en/horner-brahmali#Kd.15.29

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]