ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
                          เสวยวิบากอันเป็นผลแห่งกรรมที่ทำดีแล้ว จุติแล้วเวียนมาใน
		โลกนี้ ได้แล้วซึ่งความเป็นผู้มีพระหนุดังว่าคางราชสีห์ที่
		ประเสริฐกว่าสัตว์สี่เท้า เป็นพระราชาที่เป็นใหญ่กว่ามนุษย์
		แสนยากที่ใครจะกำจัดพระองค์ได้ พระองค์เป็นผู้ใหญ่ยิ่งของ
		มวลมนุษย์ มีอานุภาพมากเป็นผู้เสมอด้วยเทวดาผู้ประเสริฐ
		ในชั้นไตรทิพย์และเป็นเหมือนพระอินทร์ผู้ประเสริฐกว่าเทวดา
		เป็นผู้มั่นคง อันคนธรรพ์ อสูร ท้าวสักกะและยักษ์ผู้กล้าไม่
		กำจัดได้โดยง่ายเลย พระมหาบุรุษเช่นนั้น ย่อมเป็นใหญ่ทุก
		ทิศในโลกนี้โดยแท้ ฯ
	[๑๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเคยเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ภพก่อน กำเนิด
ก่อน ละมิจฉาอาชีวะแล้ว สำเร็จความเป็นอยู่ด้วยสัมมาอาชีวะ เว้นขาดจากการ
โกงด้วยตาชั่ง การโกงด้วยของปลอมและการโกงด้วยเครื่องตวงวัด และการโกง
ด้วยการรับสินบน การหลอกลวงและตลบตะแลง เว้นขาดจากการตัด การฆ่า
การจองจำ การตีชิง การปล้นและกรรโชก ตถาคตย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เพราะกรรมนั้นอันตนทำ สั่งสม พอกพูน
ไพบูลย์ ฯลฯ ครั้นจุติจากสวรรค์นั้นแล้วมาสู่ความเป็นอย่างนี้ ย่อมได้เฉพาะซึ่ง
มหาปุริสลักษณะ ๒ เหล่านี้ คือ มีพระทนต์เสมอกัน ๑ และมีพระทาฐะสีขาว
งาม ๑ พระมหาบุรุษนั้นสมบูรณ์ด้วยลักษณะทั้ง ๒ นั้น ถ้าอยู่ครองเรือนจะได้
เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ฯลฯ เมื่อเป็นพระราชาจะได้อะไร เมื่อเป็นพระราชาจะได้
รับผลข้อนี้ คือ มีบริวารสะอาด บริวารของพระองค์ที่สะอาดนั้นเป็นพราหมณ์
และคฤหบดี เป็นชาวนิคม และชาวชนบท เป็นโหราจารย์และมหาอำมาตย์
เป็นกองทหาร เป็นนายประตู เป็นอำมาตย์ เป็นบริษัท เป็นเจ้า เป็นเศรษฐี
เป็นราชกุมาร ก็ถ้าพระมหาบุรุษนั้นออกจากเรือนผนวชเป็นบรรพชิต จะได้เป็น
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีหลังคาคือกิเลสอันเปิดแล้วในโลก เมื่อเป็น
พระพุทธเจ้าจะได้อะไร เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะได้รับผลข้อนี้ คือ มีบริวารสะอาด
บริวารของพระองค์ที่สะอาดนั้น เป็นภิกษุ เป็นภิกษุณี เป็นอุบาสก เป็น
อุบาสิกา เป็นเทวดา เป็นมนุษย์ เป็นอสูร เป็นนาค เป็นคนธรรพ์ พระผู้มี
พระภาคตรัสเนื้อความนี้ไว้ พระโบราณกเถระทั้งหลายจึงกล่าวคาถาประพันธ์นี้
ในพระลักษณะเหล่านั้นว่า
	[๑๗๑] 	พระมหาบุรุษนั้น ละมิจฉาอาชีวะเสีย ยังความประพฤติให้เกิด
		แล้วด้วยสัมมาอาชีวะอันสะอาด อันเป็นไปโดยธรรม ละกรรม
		อันไม่เป็นประโยชน์ ประพฤติแต่กรรมที่เป็นประโยชน์และ
		เป็นสุขแก่พหุชน ทำกรรมมีผลดีที่หมู่สัตบุรุษผู้มีปัญญาอัน
		ละเอียด ผู้ฉลาดสรรเสริญแล้ว เสวยสุขอยู่ในสวรรค์เป็นผู้
		พรั่งพร้อมด้วยสมบัติ เป็นที่ยินดีเพลิดเพลินอภิรมย์อยู่ เสมอ
		ด้วยท้าวสักกะผู้ประเสริฐในชั้นไตรทิพย์ จุติจากสวรรค์แล้ว
		ได้ภพเป็นที่อยู่แห่งมนุษย์ ยังซ้ำได้เฉพาะซึ่งพระทนต์ที่เกิดใน
		พระโอษฐ์สำหรับตรัสเรียบเสมอ และพระทาฐะสีขาวดีหมดจด
		สะอาด เพราะวิบากอันเป็นผลแห่งกรรมที่ทำดี พวกมนุษย์ผู้
		ทำนายลักษณะที่มีปัญญาอันละเอียดที่มหาชนยกย่องเป็นจำนวน
		มากมาประชุมกันแล้ว พยากรณ์ว่า พระราชกุมารนี้จะมีหมู่ชนที่
		สะอาดเป็นบริวาร มีพระทนต์ที่เกิดสองหนเสมอ และมีพระ
		ทาฐะมีสีขาวสะอาดงาม ชนเป็นอันมากที่สะอาดเป็นบริวารของ
		พระมหาบุรุษผู้เป็นพระราชาปกครองแผ่นดินใหญ่นี้ ไม่กดขี่
		เบียดเบียนชาวชนบท ชนทั้งหลายต่างประพฤติกิจเป็นประโยชน์
		และเป็นสุขแก่ชนมาก ถ้าพระองค์ทรงผนวชจะเป็นสมณะ
		ปราศจากบาปธรรม มีกิเลสเป็นดังธุลีระงับไป มีหลังคาคือ
		กิเลสอันเปิดแล้ว ปราศจากความกระวนกระวาย และความ
		ลำบาก จะทรงเห็นโลกนี้และโลกอื่น และบรมธรรม
		โดยแท้ คฤหัสถ์เป็นจำนวนมาก และพวกบรรพชิตที่ยังไม่
		สะอาด จะทำตามพระโอวาทของพระองค์ ผู้กำจัดบาปธรรมที่
		บัณฑิตติเตียนเสียแล้ว พระองค์จะเป็นผู้อันบริวารที่สะอาด
		ผู้กำจัดกิเลสเป็นมลทินเป็นดังว่าตออันให้โทษ ห้อมล้อมแล้ว ฯ
	พระมีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุทั้งหลายนั้นชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล ฯ
จบ ลักขณสูตร ที่ ๗
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ บรรทัดที่ ๓๘๖๖-๓๙๒๒ หน้าที่ ๑๕๙-๑๖๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=11&A=3866&Z=3922&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=11&A=3866&w=วิบาก&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=11&siri=7              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=130              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=11&A=3311#169top              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=6&A=2689              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=11&A=3311#169top              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=6&A=2689              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_11              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/dn30/en/sujato https://suttacentral.net/dn30/en/tw-caf_rhysdavids

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]