ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
๖. อัสสชิสูตร
ว่าด้วยความเป็นอนิจจังแห่งเวทนา
[๒๒๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวา- *ปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์. ก็สมัยนั้นแล ท่านพระอัสสชิอาพาธ เป็นไข้หนัก ได้รับทุกข- *เวทนา พักอยู่ที่อารามของกัสสปเศรษฐี. ครั้งนั้น ท่านพระอัสสชิเรียกภิกษุผู้อุปัฏฐากทั้งหลาย มาแล้วกล่าวว่า มาเถิดอาวุโสทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลาย จงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ จงถวายบังคมพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า ตามคำของเราว่า พระเจ้าข้า อัสสชิ- *ภิกษุอาพาธ เป็นไข้หนัก ได้รับทุกขเวทนา และท่านทั้งหลายจงทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์ เสด็จเข้าไปหา อัสสชิภิกษุถึงที่อยู่เถิด. ภิกษุเหล่านั้น รับคำท่านอัสสชิแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ครั้นแล้ว ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า อัสสชิภิกษุ อาพาธ เป็นไข้หนัก ได้รับทุกขเวทนา ท่าน ถวายบังคมพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วย เศียรเกล้า และสั่งมากราบทูลว่า พระเจ้าข้า ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์ เสด็จเข้าไปหาอัสสชิ ภิกษุถึงที่อยู่เถิด. พระผู้มีพระภาคทรงรับอาราธนาโดยดุษณีภาพ. [๒๒๓] ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่พักผ่อนแล้ว เสด็จเข้าไปหาท่านพระอัสสชิถึงที่อยู่ ท่านพระอัสสชิได้แลเห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล ครั้นเห็นแล้ว ก็ลุกขึ้นจากเตียง. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระอัสสชิว่า อย่าเลย อัสสชิ เธออย่าลุกจากเตียงเลย อาสนะเหล่านี้ ที่เขาปูลาดไว้มีอยู่ เราจะนั่งที่อาสนะนั้น. พระผู้มีพระภาค ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้. ครั้นแล้ว ได้ตรัสถามท่านพระอัสสชิว่า ดูกรอัสสชิ เธอพอทนได้หรือ พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ ฯลฯ ทุกขเวทนานั้นปรากฏว่า ทุเลาลง ไม่กำเริบขึ้นหรือ? ท่านพระอัสสชิกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ ทนไม่ไหว ไม่สามารถจะยังอัตภาพให้เป็นไปได้ ฯลฯ ทุกขเวทนานั้นปรากฏว่า กำเริบขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย. พ. ดูกรอัสสชิ เธอไม่มีความรำคาญ ไม่มีความเดือดร้อนอะไรบ้างหรือ? อ. พระเจ้าข้า แท้ที่จริง ข้าพระองค์มีความรำคาญไม่น้อย มีความเดือดร้อนอยู่ไม่น้อย เลย. พ. ดูกรอัสสชิ ก็ตัวเธอเองไม่ติเตียนตนเองได้โดยศีลบ้างหรือ? อ. พระเจ้าข้า ตัวข้าพระองค์เองจะติเตียนข้าพระองค์เองได้โดยศีลก็หาไม่. พ. ดูกรอัสสชิ ถ้าหากว่า ตัวเธอเองติเตียนตนเองโดยศีลไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอ จะมีความรำคาญและความเดือดร้อนอะไร? อ. พระเจ้าข้า ครั้งก่อน ข้าพระองค์ระงับกายสังขาร (ลมหายใจเข้าออก) ได้อย่าง ลำบาก จึงไม่ได้สมาธิ เมื่อข้าพระองค์ไม่ได้สมาธิ จึงเกิดความคิดอย่างนี้ว่า เราไม่เสื่อมหรือหนอ. พ. ดูกรอัสสชิ สมณพราหมณ์ที่มีสมาธิเป็นสาระ มีสมาธิเป็นสามัญญะ เมื่อไม่ได้ สมาธินั้น ย่อมเกิดความคิดอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายไม่เสื่อมหรือหนอ. ดูกรอัสสชิ เธอจะสำคัญ ความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง? อ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯลฯ พ. วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง? อ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯลฯ พ. เพราะเหตุนั้นแล ฯลฯ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมทราบ ชัดว่า ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ถ้าอริยสาวกนั้น ได้เสวยสุขเวทนา ก็ทราบชัดว่า สุขเวทนานั้นไม่เที่ยง ไม่น่าพอใจ ไม่น่าเพลิดเพลิน หากว่า เสวยทุกขเวทนา ก็ทราบชัดว่า ทุกขเวทนานั้นไม่เที่ยง ไม่น่าพอใจ ไม่น่าเพลิดเพลิน ถ้าหากว่า เสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็ทราบ ชัดว่า อทุกขมสุขเวทนานั้นไม่เที่ยง ไม่น่าพอใจ ไม่น่าเพลิดเพลิน หากว่า เสวยสุขเวทนา ก็ ปราศจากความยินดียินร้าย เสวยสุขเวทนานั้น ถ้าหากว่า เสวยทุกขเวทนา ก็ปราศจาก ความ ยินดียินร้าย เสวยทุกขเวทนานั้น ถ้าหากว่า เสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็ปราศจาก ความยินดียินร้าย เสวยอทุกขมสุขเวทนานั้น ย่อมทราบชัดว่า เวทนานั้น ไม่เที่ยง ไม่น่าพอใจ ไม่น่าเพลิดเพลิน. หากว่า เสวยเวทนา ๑- มีกายเป็นที่สุด ก็ทราบชัดว่า เสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ถ้าเสวยเวทนามี ชีวิตเป็นที่สุด ก็ทราบชัดว่า เสวยเวทนา ๒- มีชีวิตเป็นที่สุด ทราบชัดว่า ก่อนแต่จะสิ้นชีวิต เพราะกายแตก ความเสวยอารมณ์ทั้งมวลในโลกนี้ไม่น่ายินดี จักเป็นของเย็น. [๒๒๔] ดูกรอัสสชิ อุปมาเหมือนประทีปน้ำมันจะพึงติดอยู่ได้ เพราะอาศัยน้ำมันและไส้ เชื้อไม่มีก็พึงดับ เพราะหมดน้ำมันและไส้นั้น ฉันใด. ดูกรอัสสชิ ภิกษุเมื่อเสวยเวทนามีกาย เป็นที่สุด ก็ทราบชัดว่า เสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ก็ทราบชัด ว่า เสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ทราบชัดว่า ก่อนแต่จะสิ้นชีวิต เพราะกายแตก ความเสวย อารมณ์ทั้งมวลในโลกนี้ไม่น่ายินดี จักเป็นของเย็น.
จบ สูตรที่ ๖.
@๑. เวทนาทางทวารทั้ง ๕ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย @๒. เวทนาทางใจ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ บรรทัดที่ ๒๘๐๐-๒๘๕๗ หน้าที่ ๑๒๐-๑๒๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=2800&Z=2857&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=17&A=2800&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=17&siri=88              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=222              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=17&A=3094              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=7595              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=17&A=3094              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=7595              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_17              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/17i193-e.php#sutta6 https://suttacentral.net/sn22.88/en/sujato https://suttacentral.net/sn22.88/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]