ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
๑๐. โกฏฐิตสูตรที่ ๓
ว่าด้วยความหมายของอวิชชาและวิชชา
[๓๓๒] พระนครพาราณสี. ท่านพระสารีบุตรนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ถาม ท่านพระมหาโกฏฐิตะว่า ดูกรท่านโกฏฐิตะ ที่เรียกว่า อวิชชา อวิชชา ดังนี้ อวิชชาเป็นไฉน หนอแล และบุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยอวิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่าไร? ท่านพระมหาโกฏฐิตะกล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งรูป ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งเหตุเกิดแห่ง รูป ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความดับแห่งรูป ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับแห่งรูป ย่อม ไม่รู้ชัดซึ่งเวทนา ... ซึ่งสัญญา ... ซึ่งสังขาร ... ซึ่งวิญญาณ ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งเหตุเกิดแห่งวิญญาณ ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความดับแห่งวิญญาณ ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ. ดูกรท่านผู้มีอายุ นี้เรียกว่า อวิชชา และบุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยอวิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล. [๓๓๓] เมื่อท่านพระมหาโกฏฐิตะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงได้ถามว่า ดูกร ท่านโกฏฐิตะ ที่เรียกว่า วิชชา วิชชา ดังนี้ วิชชาเป็นไฉนหนอแล และบุคคลเป็นผู้ประกอบ ด้วยวิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่าไร? ท่านพระมหาโกฏฐิตะตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ อริยสาวกผู้ได้ สดับแล้วในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดซึ่งรูป ย่อมรู้ชัดซึ่งเหตุเกิดแห่งรูป ย่อมรู้ชัดซึ่งความดับแห่ง รูป ย่อมรู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับแห่งรูป ย่อมรู้ชัดซึ่งเวทนา ... ซึ่งสัญญา ... ซึ่ง สังขาร ... ซึ่งวิญญาณ ย่อมรู้ชัดซึ่งเหตุเกิดแห่งวิญญาณ ย่อมรู้ชัดซึ่งความดับแห่งวิญญาณ ย่อม รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ ดูกรท่านผู้มีอายุ นี้เรียกว่า วิชชา และ บุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยวิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.
จบ สูตรที่ ๑๐.
จบ อวิชชาวรรคที่ ๓.
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สมุทยธัมมสูตรที่ ๑ ๖. สมุทยธัมมสูตรที่ ๑ ๒. สมุทยธัมมสูตรที่ ๒ ๗. สมุทยธัมมสูตรที่ ๒ ๓. สมุทยธัมมสูตรที่ ๓ ๘. โกฏฐิตสูตรที่ ๑ ๔. อัสสาทสูตรที่ ๑ ๙. โกฏฐิตสูตรที่ ๒ ๕. อัสสาทสูตรที่ ๒ ๑๐. โกฏฐิตสูตรที่ ๓.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ บรรทัดที่ ๓๙๕๙-๓๙๘๖ หน้าที่ ๑๗๐-๑๗๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=3959&Z=3986&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=17&A=3959&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=17&siri=135              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=332              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=17&A=4421              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=17&A=4421              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_17              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/17i320-e.php#sutta10 https://suttacentral.net/sn22.135/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]