ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
ปุตตสูตร
[๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวกเป็นไฉน คือ สมณะผู้ไม่หวั่นไหวจำพวก ๑ สมณะบุณฑริกจำพวก ๑ สมณะปทุมจำพวก ๑ สมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะจำพวก ๑ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหวอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็น พระเสขะ ผู้ดำเนินปฏิปทาปรารถนาความเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม เชฏฐโอรส ของพระมหากษัตริย์ผู้ได้มูรธาภิเษกแล้ว จะได้อภิเษก แต่ยังไม่อภิเษกก่อน เป็นผู้ถึงความแน่นอนที่จะได้อภิเษก ฉันใด ภิกษุเป็นพระเสขะ ดำเนินปฏิปทา ปรารถนาความเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม ก็ฉันนั้นเหมือนกัน บุคคลเป็นสมณะ ไม่หวั่นไหวอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นสมณะบุณฑริกอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัย นี้ กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ ทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ แต่หาได้ถูกต้อง วิโมกข์ ๘ ด้วยนามกายไม่ บุคคลเป็นสมณะบุณฑริกอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นสมณะปทุมอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลาย สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ และย่อมถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วยนามกาย บุคคลเป็นสมณะปทุมอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะเป็น อย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้รับขอร้องจึงบริโภคจีวรเป็นอันมาก ไม่ได้รับ ขอร้องย่อมบริโภคจีวรน้อย ได้รับขอร้องจึงบริโภคบิณฑบาตเป็นอันมาก ไม่ได้ รับขอร้องย่อมบริโภคบิณฑบาตน้อย ได้รับขอร้องจึงบริโภคเสนาสนะเป็นอันมาก ไม่ได้รับขอร้องย่อมบริโภคเสนาสนะน้อย ได้รับขอร้องจึงบริโภคเภสัชบริขารอัน เป็นปัจจัยแก่คนไข้เป็นอันมาก ไม่ได้รับขอร้องย่อมบริโภคแต่น้อยและย่อมอยู่กับ สพรหมจารีเหล่าใด สพรหมจารีเหล่านั้นย่อมประพฤติด้วยกายกรรมเป็นที่ชอบใจ เป็นส่วนมาก ที่ไม่ชอบใจเป็นส่วนน้อย ย่อมประพฤติวจีกรรมเป็นที่ชอบเป็น ส่วนมาก ที่ไม่ชอบใจเป็นส่วนน้อย ย่อมประพฤติมโนกรรมเป็นที่ชอบใจเป็น ส่วนมาก ที่ไม่ชอบใจเป็นส่วนน้อย ต่อเธอ ย่อมนำเข้าไปแต่สิ่งที่ชอบใจเท่า นั้น ที่ไม่ชอบใจมีน้อย อนึ่ง เวทนาเหล่าใด มีดีเป็นสมุฏฐานก็ดี มีเสมหะ เป็นสมุฏฐานก็ดี มีลมเป็นสมุฏฐานก็ดี ประชุมกันเกิดก็ดี เกิดแต่ฤดูแปรปรวน ก็ดี เกิดแต่การบริหารไม่สม่ำเสมอก็ดี เกิดแต่บาดเจ็บก็ดี เกิดแต่ผลของกรรม ก็ดี เวทนาเหล่านั้น ไม่บังเกิดแก่เธอเป็นส่วนมาก เธอเป็นผู้มีอาพาธน้อย เป็น ผู้มีปรกติได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีใน จิตยิ่ง เป็นสุขวิหารธรรมในปัจจุบัน กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อัน หาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้า ถึงอยู่ บุคคลเป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อจะเรียกบุคคลใดโดยชอบว่าเป็นสมณะผู้ ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ ก็พึงเรียกบุคคลนั้น คือ เรานี้แหละว่า เป็นสมณะผู้ ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเราได้รับขอร้องเท่านั้น จึง ใช้สอยจีวรมาก ไม่ได้รับขอร้องย่อมใช้สอยแต่น้อย ได้รับขอร้องเท่านั้นจึง บริโภคบิณฑบาตมาก ไม่ได้รับขอร้องย่อมบริโภคแต่น้อย ได้รับขอร้องเท่านั้นจึง บริโภคเสนาสนะมาก ไม่ได้รับขอร้องย่อมบริโภคแต่น้อย ได้รับขอร้องเท่านั้นจึง บริโภคเภสัชบริขารอันเป็นปัจจัยแก่คนไข้มาก ไม่ได้รับขอร้องย่อมบริโภคแต่น้อย และเราย่อมอยู่กับภิกษุเหล่าใด ภิกษุเหล่านั้นย่อมประพฤติด้วยกายกรรมอันเป็นที่ พอใจเท่านั้นต่อเราเป็นอันมาก ที่ไม่พอใจน้อย ย่อมประพฤติด้วยวจีกรรมเป็นที่ พอใจเท่านั้นต่อเราเป็นอันมาก ที่ไม่พอใจน้อย ย่อมประพฤติมโนกรรมเป็นที่พอใจ เท่านั้นต่อเราเป็นอันมาก ที่ไม่พอใจน้อย ย่อมนำเข้ามาแต่สิ่งที่พอใจเท่านั้น ที่ ไม่พอใจน้อย อนึ่ง เวทนาเหล่าใด มีดีเป็นสมุฏฐานก็ดี มีเสมหะเป็นสมุฏฐาน ก็ดี มีลมเป็นสมุฏฐานก็ดี ประชุมกันเกิดขึ้นก็ดี เกิดแต่ฤดูแปรปรวนก็ดี เกิด แต่การบริหารไม่สม่ำเสมอก็ดี เกิดแต่บาดเจ็บก็ดี เกิดแต่ผลกรรมก็ดี เวทนา เหล่านั้น ไม่บังเกิดขึ้นแก่เรามากนัก เราเป็นผู้มีอาพาธน้อย อนึ่ง เราเป็นผู้มี ปรกติได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยากไม่ลำบากซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นสุขวิหารธรรมในปัจจุบัน กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหา อาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึง อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อจะเรียกก็พึงเรียกบุคคลนั้น คือ เรานี่แหละว่า เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ
จบสูตรที่ ๗

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ บรรทัดที่ ๒๓๖๓-๒๔๒๐ หน้าที่ ๑๐๒-๑๐๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=2363&Z=2420&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=21&A=2363&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=21&siri=87              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=87              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=21&A=2383              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=8410              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=21&A=2383              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=8410              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_21              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i081-e.php#sutta7 https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i081-e2.php#sutta7 https://suttacentral.net/an4.87/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]