ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
นิสันติสูตร
[๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวกเป็นไฉน คือ บุคคลเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อ ประโยชน์ผู้อื่นจำพวก ๑ ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ ตนจำพวก ๑ ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนทั้งไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่นจำพวก ๑ ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนทั้งเพื่อประโยชน์ผู้อื่นจำพวก ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่นอย่างไร บุคคล บางคนในโลกนี้ เป็นผู้สามารถรู้ได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย มีปรกติทรงไว้ซึ่ง ธรรมที่ได้สดับแล้ว และใคร่ครวญอรรถแห่งธรรมที่ตนทรงไว้ รู้อรรถรู้ธรรม ทั่วถึงแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม แต่หามีวาจาไพเราะ กล่าวถ้อยคำ อ่อนหวาน ประกอบด้วยวาจาของชาวเมือง อันสละสลวย ไม่มีโทษ ยังผู้ฟัง ให้เข้าใจเนื้อความไม่ หาชี้แจงให้เพื่อนพรหมจรรย์เห็นชัด ให้สมาทาน ให้ อาจหาญรื่นเริงไม่ บุคคลเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ ผู้อื่นอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น แต่ไม่ปฏิบัติ เพื่อประโยชน์ตนอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่เป็นผู้สามารถรู้ได้เร็วใน กุศลธรรมทั้งหลาย ไม่เป็นผู้มีปรกติทรงธรรมที่ได้สดับแล้ว ไม่เป็นผู้ใคร่ครวญ อรรถแห่งธรรมที่ตนทรงไว้ หาได้รู้อรรถรู้ธรรมทั่วถึงแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ ธรรมไม่ แต่เป็นผู้มีวาจาไพเราะ กล่าวถ้อยคำอ่อนหวาน ประกอบด้วยวาจาของ ชาวเมือง อันสละสลวย ไม่มีโทษยังผู้ฟังให้เข้าใจเนื้อความ เป็นผู้ชี้แจงให้เพื่อน พรหมจรรย์เห็นชัด ให้สมาทาน อาจหาญ รื่นเริง บุคคลเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อ ประโยชน์ผู้อื่น แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ บุคคลไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ทั้งไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่นอย่างไร บุคคล บางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่สามารถรู้ได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่เป็นผู้มีปรกติ ทรงธรรมที่ได้สดับแล้ว และไม่เป็นผู้ใคร่ครวญอรรถแห่งธรรมที่ตนทรงจำไว้ หา ได้รู้อรรถรู้ธรรมทั่วถึงแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่ ทั้งหาเป็นผู้มีวาจา ไพเราะ กล่าวถ้อยคำอ่อนหวาน ประกอบด้วยวาจาของชาวเมือง อันสละสลวย หาโทษมิได้ ยังผู้ฟังให้เข้าใจเนื้อความไม่ ทั้งไม่ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจรรย์ เห็นชัด ให้สมาทาน อาจหาญ รื่นเริง บุคคลเป็นผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ทั้งไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่นอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อ ประโยชน์ตนทั้งเพื่อประโยชน์ผู้อื่นอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้สามารถ รู้ได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย มีปรกติทรงจำธรรมที่ได้สดับแล้ว มีปรกติใคร่ครวญ อรรถแห่งธรรมที่ตนทรงจำไว้ รู้อรรถรู้ธรรมทั่วถึงแล้ว ปฏิบัติธรรมตามสมควร แก่ธรรม ทั้งเป็นผู้มีวาจาไพเราะ กล่าวถ้อยคำอ่อนหวาน ประกอบด้วยวาจาของ ชาวเมือง สละสลวย หาโทษมิได้ ยังผู้ฟังให้เข้าใจเนื้อความ และเป็นผู้ชี้แจง ให้เพื่อนพรหมจรรย์เห็นชัด ให้สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง บุคคลเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อประโยชน์ตน ทั้งเพื่อประโยชน์ผู้อื่นอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ
จบสูตรที่ ๗

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ บรรทัดที่ ๒๖๕๖-๒๖๙๓ หน้าที่ ๑๑๔-๑๑๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=2656&Z=2693&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=21&A=2656&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=21&siri=97              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=97              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=21&A=2692              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=8495              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=21&A=2692              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=8495              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_21              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i091-e.php#sutta7 https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i091-e2.php#sutta7 https://suttacentral.net/an4.97/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]