ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๙. อักขมสูตร
[๑๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ ไม่ควรแก่พระราชา ไม่ควรเป็นช้างทรง ไม่ถึงการนับว่าเป็นพระราช- *พาหนะ องค์ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ช้างของพระราชาเป็นสัตว์ไม่อดทนต่อ รูป ๑ ไม่อดทนต่อเสียง ๑ ไม่อดทนต่อกลิ่น ๑ ไม่อดทนต่อรส ๑ ไม่ อดทนต่อโผฏฐัพพะ ๑ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ช้างของพระราชาเป็นสัตว์ไม่อดทนต่อรูปอย่างไร คือ ช้างของพระราชาเข้าสู่สงครามแล้ว เห็นกองพลช้าง กองพลม้า กองพลรถ หรือกองพลเดินเท้า ย่อมหยุดนิ่งสะทกสะท้าน ไม่สามารถเข้าสนามรบ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาเป็นสัตว์ไม่อดทนต่อรูปอย่างนี้แล ก็ช้างของ พระราชาเป็นสัตว์ไม่อดทนต่อเสียงอย่างไร คือ ช้างของพระราชาเข้าสู่สงคราม แล้ว ได้ยินเสียงกองพลช้าง เสียงกองพลม้า เสียงกองพลรถ เสียงกองพล เดินเท้า หรือเสียงกลอง บัณเฑาะว์ สังข์ มโหระทึกย่อมหยุดนิ่ง สะทก สะท้าน ไม่สามารถเข้าสนามรบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาเป็นสัตว์ ไม่อดทนต่อเสียงอย่างนี้แล ก็ช้างของพระราชาเป็นสัตว์ไม่อดทนต่อกลิ่นอย่างไร คือ ช้างของพระราชาเข้าสู่สงครามแล้ว ได้กลิ่นมูตรและคูถแห่งช้างของพระราชา (ฝ่ายข้าศึก) ที่ใหญ่กว่า ซึ่งเข้าสนามรบทั้งหลาย ย่อมหยุดนิ่ง สะทกสะท้าน ไม่สามารถเข้าสนามรบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาเป็นสัตว์ไม่อดทน ต่อกลิ่นอย่างนี้แล ก็ช้างของพระราชาเป็นสัตว์ไม่อดทนต่อรสอย่างไร คือ ช้าง ของพระราชาเข้าสู่สงครามแล้ว ไม่ได้กินอาหารเพียงคืนหนึ่ง ๒ คืน ๓ คืน ๔ คืน หรือ ๕ คืน ย่อมหยุดนิ่ง สะทกสะท้าน ไม่สามารถเข้าสนามรบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาเป็นสัตว์ไม่อดทนต่อรสอย่างนี้แล ก็ช้างของพระราชาเป็นสัตว์ ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพะอย่างไร คือ ช้างของพระราชาเข้าสงครามแล้ว ถูกเขายิง ด้วยลูกศรครั้งหนึ่ง ๒ ครั้ง ๓ ครั้ง ๔ ครั้ง หรือ ๕ ครั้งเข้าแล้ว ย่อมหยุดนิ่ง สะทกสะท้าน ไม่สามารถเข้าสนามรบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชา เป็นสัตว์ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพะอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ก็ฉันนั้น เหมือนกัน ย่อมเป็นผู้ไม่ควรแก่ของคำนับ ไม่ควรแก่ของต้อนรับ ไม่ควรแก่ ของทำบุญ ไม่ควรแก่การกระทำอัญชลี ไม่เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่น ยิ่งกว่า ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่อดทนต่อ รูป ๑ ไม่อดทนต่อเสียง ๑ ไม่อดทนต่อกลิ่น ๑ ไม่อดทนต่อรส ๑ ไม่อดทน ต่อโผฏฐัพพะ ๑ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อรูปอย่างไร คือ ภิกษุในธรรม วินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมกำหนัดในรูปที่ชวนให้กำหนัด ไม่สามารถตั้ง จิตไว้โดยชอบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อรูปอย่างนี้แล ก็ ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อเสียงอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ฟังเสียงด้วยหูแล้ว ย่อมกำหนัดในเสียงที่ชวนให้กำหนัด ไม่สามารถตั้งจิตไว้โดยชอบ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อเสียงอย่างนี้แล ก็ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อ กลิ่นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สูดกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ย่อมกำหนัด ในกลิ่นที่ชวนให้กำหนัด ไม่สามารถตั้งจิตไว้โดยชอบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อกลิ่นอย่างนี้แล ก็ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อรสอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ย่อมกำหนัดในรสที่ชวนให้กำหนัด ไม่สามารถตั้งจิตไว้โดยชอบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อรสอย่างนี้ แล ก็ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพะอย่างไร คือภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูก โผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ย่อมกำหนัดในโผฏฐัพพะที่ชวนให้กำหนัด ไม่สามารถ ตั้งจิตไว้โดยชอบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพะอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ไม่ควร แก่ของคำนับ ไม่ควรแก่ของต้อนรับ ไม่ควรแก่ของทำบุญ ไม่ควรแก่การกระทำ อัญชลี ไม่เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชา ประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ เป็นช้างควรแก่พระราชา ควรเป็นช้างทรง ถึงการนับว่าเป็นราชพาหนะ องค์ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ช้างของพระราชาเป็นสัตว์อดทนต่อรูป ๑ อดทน ต่อเสียง ๑ อดทนต่อกลิ่น ๑ อดทนต่อรส ๑ อดทนต่อโผฏฐัพพะ ๑ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ช้างของพระราชาเป็นสัตว์อดทนต่อรูปอย่างไร คือ ช้างของพระราชาเข้าสู่สงครามแล้ว เห็นกองพลช้าง กองพลม้า กองพลรถ หรือ กองพลเดินเท้า ย่อมไม่หยุดนิ่ง ไม่สะทกสะท้าน สามารถเข้าสนามรบได้ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาเป็นสัตว์อดทนต่อรูปอย่างนี้แล ก็ช้างของพระราชา เป็นสัตว์อดทนต่อเสียงอย่างไร คือ ช้างของพระราชาเข้าสู่สงครามแล้ว ได้ยิน เสียงกองพลช้าง เสียงกองพลม้า เสียงกองพลรถ เสียงกองพลเดินเท้า หรือ เสียงกลอง บัณเฑาะว์ สังข์ มโหระทึกที่กระหึ่ม ย่อมไม่หยุดนิ่ง ไม่สะทก สะท้าน สามารถเข้าสนามรบได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาอดทนต่อ เสียงอย่างนี้แล ก็ช้างของพระราชาเป็นสัตว์อดทนต่อกลิ่นอย่างไร คือ ช้างของ พระราชาเข้าสงครามแล้ว ได้กลิ่นมูตรและคูถแห่งช้างของพระราชา (ฝ่ายข้าศึก) ที่ใหญ่กว่า ซึ่งเข้าสนามรบทั้งหลาย ย่อมไม่หยุดนิ่ง ไม่สะทกสะท้าน สามารถ เข้าสนามรบได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ช้างพระราชาเป็นสัตว์อดทนต่อกลิ่นอย่างนี้แล ก็ช้างของพระราชาเป็นสัตว์อดทนต่อรสอย่างไร คือ ช้างของพระราชาเข้าสู่สง ครามแล้ว ไม่ได้กินอาหารแม้เพียงคืนหนึ่ง ๒ คืน ๓ คืน ๔ คืน หรือ ๕ คืน ย่อมไม่หยุดนิ่ง ไม่สะทกสะท้าน สามารถเข้าสนามรบได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาอดทนต่อรสอย่างนี้แล ก็ช้างของพระราชาเป็นสัตว์อดทนต่อ โผฏฐัพพะอย่างไร คือ ช้างของพระราชาเข้าสงครามแล้ว ถูกเขายิงด้วยลูกศร ครั้งหนึ่ง ๒ ครั้ง ๓ ครั้ง ๔ ครั้ง หรือ ๕ ครั้ง ย่อมไม่หยุดนิ่ง ไม่สะทก สะท้าน สามารถเข้าสนามรบได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาเป็นสัตว์ อดทนต่อโผฏฐัพพะอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาประกอบด้วย องค์ ๕ ประการนี้แล เป็นช้างควรแก่พระราชา ควรเป็นช้างทรง ถึงการนับว่า เป็นพระราชพาหนะ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือน กัน เป็นผู้ควรแก่ของคำนับ ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรแก่การ กระทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ธรรม ๕ ประการเป็น ไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้อดทนต่อรูป ๑ อดทนต่อเสียง ๑ อดทน ต่อกลิ่น ๑ อดทนต่อรส ๑ อดทนต่อโผฏฐัพพะ ๑ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อรูปอย่างไร คือ ภิกษุในธรรม วินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่กำหนัดในรูปที่ชวนให้กำหนัด สามารถ ตั้งจิตไว้โดยชอบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อรูปอย่างนี้แล ก็ภิกษุ เป็นผู้อดทนต่อเสียงอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ฟังเสียงด้วยหูแล้ว ย่อม ไม่กำหนัดในเสียงที่ชวนให้กำหนัด สามารถตั้งจิตไว้โดยชอบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อเสียงอย่างนี้แล ก็ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อกลิ่นอย่างไร คือ ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ สูดกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ย่อมไม่กำหนัดในกลิ่นที่ชวนให้กำหนัด สามารถตั้งจิตไว้โดยชอบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อกลิ่นอย่างนี้แล ภิกษุย่อมเป็นผู้อดทนต่อรสอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ย่อมไม่กำหนัดในรสที่ชวนให้กำหนัด สามารถตั้งจิตไว้โดยชอบ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อรสอย่างนี้แล ก็ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อโผฏฐัพพะ อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ย่อมไม่ กำหนัดในโผฏฐัพพะที่ชวนให้กำหนัด สามารถตั้งจิตไว้โดยชอบ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อโผฏฐัพพะอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้ควรแก่ของคำนับ ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรแก่การกระทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่น ยิ่งกว่า ฯ
จบสูตรที่ ๘

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๓๖๘๐-๓๗๗๗ หน้าที่ ๑๖๐-๑๖๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=3680&Z=3777&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=22&A=3680&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=139              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=139              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=22&A=3690              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=1198              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=22&A=3690              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=1198              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i131-e.php#sutta9 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an05/an05.139.than.html https://suttacentral.net/an5.139/en/sujato https://suttacentral.net/an5.139/en/thanissaro

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]