ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘ ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา
๗. โคตมเถรคาถา
คาถาสุภาษิตของพระโคตมเถระ
[๓๗๖] บุคคลพึงรู้จักประโยชน์ของตน พึงตรวจตราดูคำสั่งสอนของพระ ศาสดา และพึงตรวจตราสิ่งที่สมควรแก่กุลบุตร ผู้เข้าถึงซึ่ง ความเป็นสมณะในศาสนานี้ การมีมิตรดี การสมาทานสิกขา ให้บริบูรณ์ การเชื่อฟังต่อครูทั้งหลาย ข้อนี้ล้วนแต่สมควรแก่ สมณะ ในศาสนานี้ ความเคารพในพระพุทธเจ้า ความยำ เกรงในพระธรรมและพระสงฆ์ตามความเป็นจริงข้อนี้ ล้วนสมควร แก่สมณะ การประกอบในอาจาระและโคจร อาชีพที่หมดจด อัน บัณฑิตไม่ติเตียน การตั้งจิตไว้ชอบนี้ ล้วนแต่สมควรแก่สมณะ จาริตศีลและวาริตศีล การเปลี่ยนอิริยาบถอันน่าเลื่อมใส และ การประกอบในอธิจิต ก็ล้วนแต่สมควรแก่สมณะ เสนาสนะ ป่าอันสงบ ปราศจากเสียงอึกทึก มุนีพึงคบหา นี้เป็นของสม ควรแก่สมณะ จตุปาริสุทธศีล พาหุสัจจะ การเลือกเฟ้น ธรรมตามความเป็นจริง การตรัสรู้อริยสัจ นี้ก็ล้วนแต่สมควร แก่สมณะ ข้อที่บุคคลมาเจริญอนิจจสัญญาในสังขารทั้งปวงว่า สังขาร ทั้งปวงไม่เที่ยง เจริญอนัตตสัญญาว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา และเจริญอสุภสัญญาว่า กรัชกายนี้ไม่น่ายินดีในโลก นี้ก็ล้วนแต่ สมควรแก่สมณะ การที่บุคคลมาเจริญโพชฌงค์ ๗ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ และอริยมรรคมีองค์ ๘ ก็ล้วนสมควรแก่สมณะ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๐๔.

การที่บุคคลผู้เป็นมุนีมาละตัณหาทำลายอาสวะ พร้อมทั้งรากเหง้า เป็น ผู้หลุดพ้นจากอาสวะกิเลสอยู่ ก็ล้วนแต่สมควรแก่สมณะ.
-----------------------------------------------------
ในทสกนิบาตนี้ พระเถระ ๗ องค์ คือ พระกาฬุทายีเถระ ๑ พระเอกวิหาริยเถระ ๑ พระมหากัปปินเถระ ๑ พระจูฬปันถกเถระ ๑ พระกัปปเถระ ๑ พระอุปเสนวังคันตปุตตเถระ ๑ พระโคตมเถระ ๑ ได้เปล่งอุทานคาถาองค์ละ ๑๐ คาถา รวมเป็น ๗๐ คาถา ฉะนี้แล.
จบ ทสกนิบาต.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ บรรทัดที่ ๗๐๕๙-๗๐๘๗ หน้าที่ ๓๐๓-๓๐๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=26&A=7059&Z=7087&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=26&A=7059&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=26&siri=376              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=376              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=26&A=7209              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=33&A=5312              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=26&A=7209              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=33&A=5312              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_26              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/thag10.7/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]