ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๕. ทูตชาดก
ว่าด้วยการบอกความทุกข์แก่ผู้ที่ควรบอก
[๑๗๗๗] ดูกรพราหมณ์ เราส่งทูตทั้งหลายเพื่อท่านผู้เพ่งอยู่ ณ ฝั่งแม่น้ำคงคา ทูตเหล่านั้นถามท่าน ท่านก็มิได้บอกให้แจ่มแจ้ง ความทุกข์ที่เกิดขึ้นแก่ ท่านนั้น เป็นความตายของท่านมิใช่หรือ? [๑๗๗๘] ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงบำรุงรัฐกาสีให้เจริญ ถ้าความทุกข์เกิดขึ้นแก่พระองค์ ผู้ใดไม่พึงเปลื้องพระองค์จากทุกข์ได้ พระองค์อย่าได้ตรัสบอกความทุกข์ นั้นแก่ผู้นั้น. [๑๗๗๙] ผู้ใดพึงเปลื้องทุกข์ของบุคคลผู้เกิดทุกข์ได้ส่วนเดียวโดยธรรม พึงบอก เล่าแก่ผู้นั้นได้โดยแท้. [๑๗๘๐] ข้าแต่พระราชา เสียงของสุนัขจิ้งจอกก็ดี ของนกก็ดี รู้ได้ง่าย เสียงของมนุษย์รู้ได้ยากยิ่งกว่านั้น. [๑๗๘๑] อนึ่ง ผู้ใด เมื่อก่อน เป็นผู้ใจดี คนทั้งหลายนับถือว่า เป็นญาติเป็นมิตร หรือเป็นสหาย ภายหลัง ผู้นั้นกลับกลายเป็นศัตรูไปก็ได้ ใจของมนุษย์ รู้ได้ยากอย่างนี้. [๑๗๘๒] ผู้ใดถูกถามเนืองๆ ถึงทุกข์ของตน ย่อมบอกในกาลอันไม่ควร ผู้นั้น ย่อมมีแต่มิตรผู้แสวงหาประโยชน์ แต่ไม่ยินดีร่วมทุกข์ด้วย. [๑๗๘๓] บุคคลรู้กาลอันควร และรู้จักบัณฑิต ผู้มีปัญญาว่า มีใจร่วมกันแล้ว พึงบอกความทุกข์ทั้งหลายแก่บุคคลผู้เช่นนั้น นักปราชญ์พึงบอกความ ทุกข์ร้อนแก่ผู้อื่น พึงเปล่งวาจาอ่อนหวานมีประโยชน์. [๑๗๘๔] อนึ่ง ถ้าบุคคลอดกลั้นความทุกข์ของตนไม่ได้ก็พึงรู้ว่า ประเพณีของ โลกนี้ จะมีเพื่อถึงความสุขสำหรับเราผู้เดียวไม่ได้ นักปราชญ์เมื่อเพ่งเล็ง หิริและโอตตัปปะอันเป็นของจริง พึงอดกลั้นความทุกข์ร้อนไว้ผู้เดียว เท่านั้น. [๑๗๘๕] ข้าแต่พระมหาราชา ข้าพระองค์ต้องการจะหาทรัพย์ให้อาจารย์ จึงเที่ยวไป ทั่วแว่นแคว้น นิคม และราชธานีทั้งหลาย. [๑๗๘๖] ขอกะคฤหบดี ราชบุรุษ และพราหมณ์มหาศาลได้ทองคำ ๗ ลิ่ม ทองคำ ๗ ลิ่มของข้าพระองค์นั้นหายเสียแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์จึง เศร้าโศกมาก. [๑๗๘๗] ข้าแต่พระมหาราชา บุรุษผู้เป็นทูตของพระองค์เหล่านั้น ข้าพระองค์คิดรู้ ด้วยใจว่า ไม่สามารถจะปลดเปลื้อง ข้าพระองค์จากทุกข์ได้ เพราะ เหตุนั้น ข้าพระองค์จึงไม่บอกแก่บุรุษเหล่านั้น. [๑๗๘๘] ข้าแต่พระมหาราชา ส่วนพระองค์ ข้าพระองค์คิดรู้ด้วยใจว่า พระองค์ สามารถจะปลดเปลื้องข้าพระองค์จากทุกข์ได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์ จึงกราบทูลให้พระองค์ทรงทราบ. [๑๗๘๙] พระราชาผู้บำรุงรัฐกาสีให้เจริญ มีพระหฤทัยเลื่อมใส ได้พระราชทาน ทองคำ ๑๔ แท่ง แก่พระโพธิสัตว์นั้น.
จบ ทูตชาดกที่ ๕.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ บรรทัดที่ ๖๙๑๘-๖๙๕๕ หน้าที่ ๓๑๒-๓๑๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=27&A=6918&Z=6955&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=27&A=6918&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=27&siri=478              ศึกษาอรรถกถาชาดกได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1777              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=27&A=7166              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=40&A=3644              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=27&A=7166              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=40&A=3644              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_27              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ja478/en/rouse

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]