ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๖. สุรุจิชาดก
ว่าด้วยพระเจ้าสุรุจิ
[๑๙๔๒] ดิฉันถูกเชิญมาเป็นพระอัครมเหสีคนแรกของพระเจ้าสุรุจิตลอดเวลาหมื่น ปี พระเจ้าสุรุจินำดิฉันมาผู้เดียว ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ดิฉันนั้นมิได้ รู้สึกเลยว่า ได้ล่วงเกินพระเจ้าสุรุจิผู้เป็นจอมประชาชนชาววิเทหรัฐ ครองพระนครมิถิลา ด้วยกาย วาจา หรือใจ ทั้งในที่แจ้งหรือในที่ลับ เลย ข้าแต่พระฤาษี ด้วยการกล่าวคำสัตย์จริงนี้ ขอบุตรจงเกิดเถิด เมื่อดิฉัน กล่าวคำเท็จ ขอศีรษะของดิฉันจงแตก ๗ เสี่ยง. [๑๙๔๓] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ดิฉันเป็นที่พอใจของพระภัสดา พระชนนี และ พระชนกของพระภัสดาก็เป็นที่รักของดิฉัน พระองค์ท่านเหล่านั้นทรง แนะนำดิฉัน ตลอดเวลาที่พระองค์ท่านยังทรงพระชนม์ชีพอยู่ ดิฉันนั้น ยินดีในความไม่เบียดเบียน มีปกติประพฤติธรรมโดยส่วนเดียว มุ่ง บำเรอพระองค์ท่านเหล่านั้นโดยเคารพ ไม่เกียจคร้านทั้งกลางคืนกลางวัน ข้าแต่พระฤาษี ด้วยการกล่าวคำสัตย์จริงนี้ ขอบุตรจงเกิดเถิด เมื่อดิฉัน กล่าวคำเท็จ ขอศีรษะของดิฉันจงแตก ๗ เสี่ยง. [๑๙๔๔] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ความริษยาหรือความโกรธ ในสตรีผู้เป็นพระราช- เทวีร่วมกัน ๑๖,๐๐๐ คน มิได้มีแก่ดิฉันในกาลไหนๆ เลย ดิฉันชื่นชม ด้วยความเกื้อกูลแก่พระราชเทวีเหล่านั้น และคนไหนที่จะไม่เป็นที่รัก ของดิฉันไม่มีเลย ดิฉันอนุเคราะห์หญิงผู้ร่วมพระสามีทั่วกันทุกคน ใน กาลทุกเมื่อ เหมือนอนุเคราะห์ตน ฉะนั้น ข้าแต่พระฤาษี ด้วยการกล่าว คำสัตย์จริงนี้ ขอบุตรจงเกิดเถิด เมื่อดิฉันกล่าวคำเท็จ ขอศีรษะของ ดิฉันจงแตก ๗ เสี่ยง. [๑๙๔๕] ดิฉันเลี้ยงดูทาสกรรมกร ซึ่งจะต้องเลี้ยงดูและชนเหล่าอื่นผู้อาศัยเลี้ยง ชีวิต โดยเหมาะสมกับหน้าที่ ดิฉันมีอินทรีย์อันเบิกบานในกาลทุกเมื่อ ข้าแต่พระฤาษี ด้วยการกล่าวคำสัตย์จริงนี้ ขอบุตรจงเกิดเถิด เมื่อดิฉัน กล่าวคำเท็จ ขอศีรษะของดิฉันจงแตก ๗ เสี่ยง. [๑๙๔๖] ดิฉันมีฝ่ามืออันชุ่ม เลี้ยงดูสมณพราหมณ์ และแม้วณิพกเหล่าอื่น ให้อิ่ม หนำสำราญด้วยข้าวและน้ำทุกเมื่อ ข้าแต่พระฤาษี ด้วยการกล่าวคำสัตย์ จริงนี้ ขอบุตรจงเกิดเถิด เมื่อดิฉันกล่าวคำเท็จ ขอศีรษะของดิฉันจง แตก ๗ เสี่ยง. [๑๙๔๗] ดิฉันเข้าอยู่ประจำอุโบสถ อันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ตลอดดิถี ที่ ๑๔,๑๕ และดิถีที่ ๘ แห่งปักษ์ และตลอดปาฏิหาริยปักษ์ ดิฉัน สำรวมแล้วในศีลทุกเมื่อ ข้าแต่พระฤาษี ด้วยการกล่าวคำสัตย์จริงนี้ ขอบุตรจงเกิดเถิด เมื่อดิฉันกล่าวคำเท็จ ขอศีรษะของดิฉันจงแตก ๗ เสี่ยง. [๑๙๔๘] ดูกรพระราชบุตรีผู้เรืองยศงดงาม คุณอันเป็นธรรมเหล่าใด ในพระองค์ ที่พระองค์แสดงแล้ว คุณอันเป็นธรรมเหล่านั้นมีทุกอย่าง พระราชโอรส ผู้เป็นกษัตริย์ สมบูรณ์ด้วยพระชาติ เป็นอภิชาตบุตร เรืองพระยศ เป็น พระธรรมราชาแห่งชนชาววิเทหะ จงอุบัติแก่พระนาง. [๑๙๔๙] ท่านผู้มีดวงตาน่ายินดี ทรงผ้าคลุกธุลี สถิตอยู่บนเวหาอันไม่มีสิ่งใดกั้น ได้กล่าววาจาเป็นที่พอใจจับใจของดิฉัน ท่านเป็นเทวดามาจากสวรรค์ เป็นฤาษีผู้มีฤทธิ์มาก หรือว่าเป็นใครมาถึงที่นี้ ขอท่านจงกล่าวความจริง ให้ดิฉันทราบด้วย. [๑๙๕๐] หมู่เทวดามาประชุมกันที่สุธรรมาสภา ย่อมกราบไหว้ท้าวสักกะองค์ใด ข้าพเจ้าเป็นท้าวสักกะองค์นั้น มีดวงตาพันหนึ่ง มายังสำนักของท่าน หญิงเหล่าใดในเทวโลก เป็นผู้มีปกติประพฤติสม่ำเสมอ มีปัญญา มีศีล มี พ่อผัวแม่ผัวเป็นเทวดา ยำเกรงสามี เทวดาทั้งหลายผู้มิใช่มนุษย์ มาเยี่ยม หญิงเช่นนั้น ผู้มีปัญญา มีกรรมอันสะอาด เป็นหญิงมนุษย์ ดูกรนางผู้ เจริญ ท่านเกิดในราชสกุลนี้ พรั่งพร้อมไปด้วยสิ่งที่น่าปรารถนาทุกอย่าง ด้วยสุจริตธรรมที่ท่านประพฤติดีแล้วในปางก่อน ดูกรพระราชบุตรี ก็ แหละ ข้อนี้เป็นชัยชนะในโลกทั้งสองของท่าน คือ การอุบัติในเทวโลก และเกียรติในชีวิตนี้ ดูกรพระนางสุเมธา ขอให้พระนางจงมีสุข ยั่งยืน นาน จงรักษาธรรมไว้ในตนให้ยั่งยืนเถิด ข้าพเจ้านี้ ขอลาไปสู่ไตรทิพย์ การพบเห็นท่าน เป็นการพบเห็นที่ดูดดื่มใจของข้าพเจ้ายิ่งนัก.
จบ สุรุจิชาดกที่ ๖.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ บรรทัดที่ ๗๕๐๔-๗๕๕๘ หน้าที่ ๓๓๕-๓๓๗. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=27&A=7504&Z=7558&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=27&A=7504&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=27&siri=489              ศึกษาอรรถกถาชาดกได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1942              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=27&A=7830              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=40&A=6122              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=27&A=7830              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=40&A=6122              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_27              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ja489/en/rouse

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]