ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
ยุคนัทธวรรค ธรรมจักรกถา
[๖๑๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้ พระนครพาราณสี ฯลฯ เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านพระโกณฑัญญะ จึงมีชื่อว่า อัญญาโกณฑัญญะ ดังนี้ ฯ จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่ เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขอริยสัจ ... คำว่า แสงสว่างเกิดขึ้นเพราะอรรถ ว่าสว่างไสว ฯ จักษุเป็นธรรม ความเห็นเป็นอรรถ ญาณเป็นธรรม ความรู้เป็นอรรถ ปัญญาเป็นธรรม ความรู้ทั่วเป็นอรรถ วิชชาเป็นธรรม ความแทงตลอดเป็นอรรถ แสงสว่างเป็นธรรม ความสว่างไสวเป็นอรรถ ธรรม ๕ ประการ อรรถ ๕ ประการนี้ เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ เป็นที่ตั้งแห่งสัจจะ มีสัจจะเป็นอารมณ์ มีสัจจะเป็น โคจร สงเคราะห์เข้าในสัจจะ นับเนื่องในสัจจะ เข้ามาประชุมในสัจจะ ตั้งอยู่ในสัจจะ ประดิษฐานอยู่ในสัจจะ ฯ [๖๑๕] ชื่อว่าธรรมจักร ในคำว่า ธมฺมจกฺกํ นี้ เพราะอรรถว่า กระไร ฯ ชื่อว่าธรรมจักร เพราะอรรถว่าพระผู้มีพระภาคทรงให้ธรรมและจักรเป็นไป ทรงให้จักรและธรรมเป็นไป ทรงให้จักรเป็นไปโดยธรรม ทรงให้จักรเป็นไป โดยการประพฤติเป็นธรรม ทรงดำรงอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป ทรง ประดิษฐานอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป ทรงให้ประชาชนประดิษฐานอยู่ในธรรม ให้จักรเป็นไป ทรงบรรลุถึงความชำนาญในธรรมให้จักรเป็นไป ทรงยังประชาชน ให้บรรลุถึงความชำนาญในธรรมให้จักรเป็นไป ทรงบรรลุถึงความยอดเยี่ยมใน ธรรมให้จักรเป็นไป ทรงให้ประชาชนให้บรรลุถึงความยอดเยี่ยมในธรรมให้ จักรเป็นไป ทรงบรรลุถึงความแกล้วกล้าในธรรมให้จักรเป็นไป ทรงให้ ประชาชนบรรลุถึงความแกล้วกล้าในธรรมให้จักรเป็นไป ทรงสักการะธรรมให้ จักรเป็นไป ทรงเคารพธรรมให้จักรเป็นไป ทรงนับถือธรรมให้จักรเป็นไป ทรงบูชาธรรมให้จักรเป็นไป ทรงนอบน้อมธรรมให้จักรเป็นไป ทรงมีธรรม เป็นธงให้จักรเป็นไป ทรงมีธรรมเป็นยอดให้จักรเป็นไป ทรงมีธรรมเป็น ใหญ่ให้จักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักรเพราะอรรถว่า ก็ธรรมจักรนั้นแล สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก ให้เป็นไปไม่ได้ ชื่อ ว่าธรรมจักรเพราะอรรถว่าสัทธินทรีย์เป็นธรรม ทรงให้ธรรมนั้นเป็นไป ... ปัญญินทรีย์เป็นธรรม ทรงให้ธรรมนั้นเป็นไป สัทธาพละเป็นธรรม ... ปัญญาพละเป็นธรรม สติสัมโพชฌงค์เป็นธรรม ... อุเบกขาสัมโพชฌงค์ เป็นธรรม สัมมาทิฐิเป็นธรรม ... สัมมาสมาธิเป็นธรรม อินทรีย์เป็น ธรรมเพราะอรรถว่าเป็นใหญ่ พละเป็นธรรมเพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว โพชฌงค์ เป็นธรรมเพราะอรรถว่านำออก มรรคเป็นธรรมเพราะอรรถว่าเป็นเหตุ สติปัฏฐาน เป็นธรรมเพราะอรรถว่าตั้งมั่น สัมมัปปธานเป็นธรรมเพราะอรรถว่าตั้งไว้ อิทธิ- *บาทเป็นธรรมเพราะอรรถว่าให้สำเร็จ สัจจะเป็นธรรมเพราะอรรถว่าเป็นของแท้ สมถะเป็นธรรมเพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน วิปัสสนาเป็นธรรมเพราะอรรถว่าพิจารณา เห็น สมถวิปัสสนาเป็นธรรมเพราะอรรถว่ามีกิจเป็นอันเดียวกัน ธรรมที่เป็น คู่เป็นธรรมเพราะอรรถว่าไม่ล่วงเกินกัน ศีลวิสุทธิเป็นธรรมเพราะอรรถว่า สำรวม จิตตวิสุทธิเป็นธรรมเพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ทิฐิวิสุทธิเป็นธรรม เพราะอรรถว่าเห็น วิโมกข์เป็นธรรมเพราะอรรถว่าพ้น วิชาเป็นธรรมเพราะ อรรถว่าแทงตลอด วิมุติเป็นธรรมเพราะอรรถว่าบริจาค ญาณในความ สิ้นไปในธรรมเพราะอรรถว่าตัดขาด ญาณในความไม่เกิดขึ้นเป็นธรรมเพราะ อรรถว่าระงับ ฉันทะเป็นธรรมเพราะอรรถว่าเป็นมูล มนสิการเป็นธรรม เพราะอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน ผัสสะเป็นธรรมเพราะอรรถว่าเป็นที่รวม เวทนา เป็นธรรมเพราะอรรถว่าเป็นที่ประชุม สมาธิเป็นธรรมเพราะอรรถว่าเป็นประธาน สติเป็นธรรมเพราะอรรถว่าเป็นใหญ่ ปัญญาเป็นธรรมเพราะอรรถว่ายิ่งกว่าธรรม นั้นๆ วิมุติเป็นธรรมเพราะอรรถว่าเป็นแก่นสาร นิพพานอันหยั่งลงในอมตะ เป็นธรรมเพราะอรรถว่าเป็นที่สุด ทรงให้ธรรมนั้นๆ เป็นไป ฯ [๖๑๖] จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล ควรกำหนดรู้ ฯลฯ เรากำหนดรู้แล้ว คำว่า จักษุเกิดขึ้นเพราะอรรถว่ากระไร ฯลฯ คำว่า แสงสว่างเกิดขึ้นเพราะอรรถว่า กระไร ฯ คำว่า จักษุเกิดขึ้นเพราะอรรถว่าเห็น ฯลฯ คำว่า แสงสว่างเกิดขึ้นเพราะ อรรถว่าสว่างไสว ฯ จักษุเป็นธรรม ความเห็นเป็นอรรถ ฯลฯ แสงสว่างเป็นธรรม ความ สว่างไสวเป็นอรรถ ธรรม ๕ ประการ อรรถ ๕ ประการนี้ เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ ... ประดิษฐานอยู่ในสัจจะ ฯ ชื่อว่าธรรมจักร ในคำว่า ธมฺมจกฺกํ นี้ เพราะอรรถว่ากระไร ฯ ชื่อว่าธรรมจักร เพราะอรรถว่า พระผู้มีพระภาคทรงให้ธรรมและจักรเป็น ไป ... นิพพานอันหยั่งลงในอมตะเป็นธรรม เพราะอรรถว่าเป็นที่สุด ทรงให้ธรรม นั้นๆ เป็นไป ฯ [๖๑๗] จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลาย ที่เราไม่เคย ได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขสมุทัยอริยสัจ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรม ทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล ควรละ ฯลฯ เราละได้แล้ว คำว่า จักษุเกิดขึ้นเพราะอรรถว่ากระไร ฯลฯ คำว่า แสงสว่าง เกิดขึ้น เพราะอรรถว่ากระไร ฯ คำว่า จักษุเกิดขึ้นเพราะอรรถว่าเห็น ฯลฯ คำว่า แสงสว่างเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าสว่างไสว ฯ จักษุเป็นธรรม ความเห็นเป็นอรรถ ฯลฯ แสงสว่างเป็นธรรม ความ สว่างไสวเป็นอรรถ ธรรม ๕ ประการนี้ อรรถ ๕ ประการนี้ เป็นที่ตั้งแห่งสมุทัย เป็นที่ตั้งแห่งสัจจะ ฯลฯ เป็นที่ตั้งแห่งนิโรธ เป็นที่ตั้งแห่งมรรค เป็นที่ตั้งแห่ง สัจจะ มีสัจจะเป็นอารมณ์ ... ประดิษฐานอยู่ในสัจจะ ฯ ชื่อว่าธรรมจักร ในคำว่า ธมฺมจกฺกํ นี้ เพราะอรรถว่ากระไร ฯ ชื่อว่าธรรมจักร เพราะอรรถว่า พระผู้มีพระภาคทรงให้ธรรมและจักรเป็น ไป ... นิพพานอันหยั่งลงในอมตะเป็นธรรมเพราะอรรถว่าเป็นที่สุด ทรงให้ธรรม นั้นๆ เป็นไป ฯ [๖๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรม ทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า การพิจารณาเห็นกายในกายนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ การพิจารณาเห็นกายในกายนี้นั้นแล ควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อน ว่า การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายนี้ ฯลฯ การพิจารณาเห็นจิตในจิต นี้ ฯลฯ การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายนี้ ควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ การพิจารณาเห็นกายในกายนี้ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่ เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็การพิจารณาเห็นกายในกายนี้นั้นแล ควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว คำว่า จักษุ เกิดขึ้นเพราะอรรถว่ากระไร ฯลฯ คำว่า แสงสว่าง เกิดขึ้นเพราะอรรถว่ากระไร ฯ คำว่า จักษุเกิดขึ้นเพราะอรรถว่าเห็น ฯลฯ คำว่า แสงสว่างเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าสว่างไสว ฯ จักษุเป็นธรรม ความเห็นเป็นอรรถ ฯลฯ แสงสว่างเป็นธรรม ความ สว่างไสวเป็นอรรถ ธรรม ๕ ประการ อรรถ ๕ ประการนี้ เป็นที่ตั้งแห่งกาย เป็นที่ตั้งแห่งสติปัฏฐาน ฯลฯ เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา เป็นที่ตั้งแห่งสติ- *ปัฏฐาน ฯลฯ เป็นที่ตั้งแห่งจิต เป็นที่ตั้งแห่งสติปัฏฐาน เป็นที่ตั้งแห่งธรรม เป็นที่ตั้งแห่งสติปัฏฐาน มีสติปัฏฐานเป็นอารมณ์ ... ประดิษฐานอยู่ในสติ- *ปัฏฐาน ฯ ชื่อว่าธรรมจักร ในคำว่า ธมฺมจกฺกํ นี้ เพราะอรรถว่ากระไร ฯ ชื่อว่าธรรมจักร เพราะอรรถว่า พระผู้มีพระภาคทรงให้ธรรมและจักรเป็น ไป ... นิพพานอันหยั่งลงในอมตะเป็นธรรม เพราะอรรถว่าเป็นที่สุด ทรงให้ธรรม นั้นๆ เป็นไป ฯ [๖๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรม ทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยฉันทะ และปธานสังขารนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรม ทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยฉันทะ และปธานสังขารนี้นั้นแลควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า อิทธิบาทประกอบ ด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิริยะและปธานสังขารนี้ ฯลฯ อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอัน ยิ่งด้วยจิตและปธานสังขารนี้ ฯลฯ อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิมังสา และปธานสังขารนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรม ทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิมังสา และปธานสังขารนี้นั้นแล ควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว ฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยฉันทะและปธานสังขารนี้ จักษุ ฯลฯ แสง สว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็อิทธิบาทประกอบด้วย สมาธิอันยิ่งด้วยฉันทะและปธานสังขารนี้นั้นแล ควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว คำว่า จักษุเกิดขึ้นเพราะอรรถว่ากระไร ฯลฯ คำว่า แสงสว่างเกิดขึ้นเพราะอรรถ ว่ากระไร ฯ คำว่า จักษุเกิดขึ้นเพราะอรรถว่าเห็น ... คำว่า แสงสว่างเกิดขึ้นเพราะ อรรถว่าสว่างไสว ฯ จักษุเป็นธรรม ความเห็นเป็นอรรถ ... แสงสว่างเป็นธรรม ความ สว่างไสวเป็นอรรถ ธรรม ๕ ประการ อรรถ ๕ ประการนี้ เป็นที่ตั้งแห่ง ฉันทะเป็นที่ตั้งแห่งอิทธิบาท มีอิทธิบาทเป็นอารมณ์ ... ประดิษฐานอยู่ใน อิทธิบาท ฯ ชื่อว่าธรรมจักร ในคำว่า ธมฺมจกฺกํ นี้ เพราะอรรถว่ากระไร ฯ ชื่อว่าธรรมจักร เพราะอรรถว่า พระผู้มีพระภาคทรงให้ธรรมและจักรเป็น ไป ... นิพพานอันหยั่งลงในอมตะเป็นธรรม เพราะอรรถว่าเป็นที่สุด ทรงให้ ธรรมนั้นๆ เป็นไป ฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมา ก่อนว่า อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิริยะและปธานสังขารนี้ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็อิทธิบาทประกอบ ด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิริยะและปธานสังขารนี้นั้นแล ควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว คำว่า จักษุเกิดขึ้นเพราะอรรถว่ากระไร ฯลฯ คำว่า แสงสว่างเกิดขึ้นเพราะ อรรถว่ากระไร ฯ คำว่า จักษุเกิดขึ้นเพราะอรรถว่าเห็น ฯลฯ คำว่า แสงสว่างเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าสว่างไสว ฯ จักษุเป็นธรรม ความเห็นเป็นอรรถ ฯลฯ แสงสว่างเป็นธรรม ความ สว่างไสวเป็นอรรถ ธรรม ๕ ประการ อรรถ ๕ ประการนี้ เป็นที่ตั้งแห่งวิริยะ เป็นที่ตั้งแห่งอิทธิบาท ฯลฯ เป็นที่ตั้งแห่งจิต เป็นที่ตั้งแห่งอิทธิบาท เป็นที่ตั้ง แห่งวิมังสา เป็นที่ตั้งแห่งอิทธิบาท มีอิทธิบาทเป็นอารมณ์ มีอิทธิบาทเป็นโคจร สงเคราะห์เข้าในอิทธิบาท นับเนื่องในอิทธิบาท เข้ามาประชุมในอิทธิบาท ตั้ง อยู่ในอิทธิบาท ประดิษฐานอยู่ในอิทธิบาท ฯ ชื่อว่าธรรมจักร ในคำว่า ธมฺมจกฺกํ นี้ เพราะอรรถว่ากระไร ฯ ชื่อว่าธรรมจักร เพราะอรรถว่า พระผู้มีพระภาคทรงให้ธรรมและจักรเป็น ไป ... นิพพานอันหยั่งลงในอมตะเป็นธรรม เพราะอรรถว่าเป็นที่สุด ทรงให้ ธรรมนั้นๆ เป็นไป ฯ
จบธรรมจักรกถา ฯ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๙๑๒๗-๙๒๗๖ หน้าที่ ๓๗๘-๓๘๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=31&A=9127&Z=9276&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=31&A=9127&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=31&siri=76              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=614              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=31&A=10541              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=48&A=5819              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=31&A=10541              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=48&A=5819              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_31

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]