ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑
ปิณโฑภารทวาชเถราปทานที่ ๑๐ (๘)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกปทุม
[๑๐] พระสยัมภูชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตระ เป็นบุคคลผู้เลิศประทับอยู่บนยอด ภูเขาจิตกูฏข้างหน้าภูเขาหิมวันต์ เราเป็นพระยาเนื้อผู้ไม่มีความกลัว สามารถจะไปได้ในทิศทั้ง ๔ อยู่ ณ ที่นั้น สัตว์เป็นอันมากได้ฟังเสียง ของเราแล้วย่อมครั้นคร้าม เราคาบดอกปทุมที่บาน เข้าไปหาพระนราสภ ได้บูชาพระพุทธเจ้าซึ่งเสด็จออกจากสมาธิ เวลานั้น เรานมัสการพระพุทธ- เจ้าผู้ประเสริฐสูงสุดกว่านระในสี่ทิศ ยังจิตของตนให้เลื่อมใสแล้ว ได้บันลือสีหนาท พระปทุมุตรพุทธเจ้าผู้ทรงรู้แจ้งโลก ทรงรับเครื่องบูชา ของเรา แล้วประทับนั่งบนอาสนะของพระองค์ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ ทวยเทพทั้งปวงได้ทราบพระดำรัสของพระพุทธเจ้าแล้ว มาประชุมกันกล่าว กันว่า พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐจักเสด็จมาแล้ว เราทั้งหลายจักฟังธรรมนั้น พระมหามุนีทรงเห็นกาลยาวผู้เป็นนายกของโลก ทรงประกาศเสียงของเรา ข้างหน้าของทวยเทพและมนุษย์ผู้ประกอบด้วยความร่าเริงเหล่านั้นว่า ผู้ใด ได้ถวายปทุมนี้ และได้บันลือสีหนาท เราจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลาย จงฟังเรากล่าว ในกัลปที่ ๘ แต่ภัทรกัลปนี้ ผู้นั้นจักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ สมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ เป็นใหญ่ในทวีปทั้ง ๔ จักเสวยความ เป็นใหญ่ในแผ่นดิน ๖๔ ชาติ จักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิทรงกำลัง มี พระนามชื่อว่าปทุม ในแสนกัลป พระศาสดาพระนามว่าโคดมโดย พระโคตร ซึ่งสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติในโลก เมื่อพระศาสดาพระองค์นั้นทรงประกาศพระศาสนาแล้ว พระยาสีหะนี้จัก เป็นบุตรของพราหมณ์ จักออกจากสกุลพราหมณ์แล้วบวชในพระศาสนา ของพระศาสดาพระองค์นั้น เขามีตนส่งไปแล้วเพื่อความเพียร สงบระงับ ไม่มีอุปธิ กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว จักไม่มีอาสวะนิพพาน ณ เสนา- สนะอันสงัด ปราศจากชนเกลื่อนกล่นด้วยเนื้อร้าย คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งแล้ว พระ- พุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล. ทราบว่า ท่านพระปิณโฑภารทวาชเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ ปิณโฑภารทวาชเถราปทาน
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒ บรรทัดที่ ๑๑๐๗-๑๑๓๖ หน้าที่ ๔๗-๔๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=32&A=1107&Z=1136&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=32&A=1107&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=32&siri=10              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=32&i=10              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=32&A=1485              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=49&A=9079              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=32&A=1485              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=49&A=9079              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_32              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/tha-ap10/en/walters

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]