ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
มูคผักขจริยาที่ ๖
ว่าด้วยพระจริยาวัตรของมูคผักขกุมาร
[๒๖] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลเมื่อเราเป็นพระราชโอรสของพระเจ้ากาสี ชนทั้งหลายเรียกเราโดยชื่อว่ามูคผักขกุมารบ้าง เตมิยกุมารบ้าง ในกาลนั้น พระสนมนางในหมื่นหกพัน ไม่มีพระราชโอรส โดย วันคืนล่วงไปๆ เราบังเกิดผู้เดียว พระบิดารับสั่งให้ตั้งเศวตฉัตร ให้เลี้ยงดูเราผู้เป็นบุตรสุดที่รัก อันได้ด้วยยากเป็นอภิชาตบุตร ทรง ไว้ซึ่งความรุ่งเรือง บนที่นอน ในกาลนั้น เรานอนอยู่บนที่นอนอัน อ่อนนุ่ม ตื่นขึ้นแล้วได้เห็นเศวตฉัตรอันเป็นเหตุให้เราไปสู่นรก ความสะดุ้งหวาดกลัวเกิดขึ้นแล้วแก่เรา พร้อมกับได้เห็นฉัตร เรา ถึงความวินิจฉัยว่า เมื่อไรหนอ เราจึงจะเปลื้องธุลีนี้ได้ เทพธิดา ผู้เป็นสาโลหิตของเรามาก่อน ผู้ใคร่ประโยชน์ต่อเรา นางเห็นเราผู้ ประกอบไปด้วยทุกข์ จึงแนะนำให้เราประกอบในเหตุ ๓ ประการ ว่าท่านจงอย่าแสดงความเป็นบัณฑิต จงแสดงความเป็นคนโง่แก่ชน ทั้งปวง ชนทั้งหมดนั้นก็จะดูหมิ่นท่าน ประโยชน์จักมีแก่ท่านด้วย อาการอย่างนี้ เมื่อเทพธิดากล่าวอย่างนี้แล้ว เราได้กล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนนางเทพธิดา ข้าพเจ้าจะทำตามคำที่ท่านกล่าวกะเราฉะนั้น ท่าน เป็นผู้ปรารถนาประโยชน์ เป็นผู้ใคร่ความเกื้อกูลแก่ข้าพเจ้า แม่ เทพธิดา ครั้นเราได้ฟังคำของเทพธิดานั้นแล้ว เหมือนดังได้พบฝั่ง ในสาคร ร่าเริงดีใจ ได้อธิษฐานองค์ ๓ ประการ คือ เราเป็นคนใบ้ เป็นคนหูหนวก เป็นคนง่อยเปลี้ยเว้นจากคติ เราอธิษฐานองค์ ๓ ประการนี้อยู่ ๑๖ ปี ครั้งนั้น เสนาบดีเป็นต้นตรวจดูมือเท้า ลิ้น และช่องหูของเราแล้ว เห็นความไม่บกพร่องของเรา ติเตียนว่าเป็น คนกาฬกิณี ทีนั้นชาวชนบท เสนาบดี และปุโรหิตทั้งปวงร่วมใจกัน ทั้งหมด พลอยดีใจการที่รับสั่งให้นำไปทิ้ง เรานั้นได้ฟังความประสงค์ ของเสนาบดีเป็นต้นนั้นแล้ว ร่าเริงดีใจว่า เราประพฤติตบะมาเพื่อ ประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นจะสำเร็จแก่เรา ราชบุรุษทั้งหลายอาบน้ำ ให้เรา ไล้ทาด้วยของหอม สวมราชมงกุฏราชาภิเษกแล้ว มีฉัตรที่ บุคคลถือไว้ให้ทำประทักษิณพระนครดำรงเศวตฉัตรอยู่ ๗ วัน พอ ดวงอาทิตย์ขึ้นนายสารถีอุ้มเราขึ้นรถ เข้าไปยังป่า นายสารถีหยุดรถ ไว้ ณ โอกาสหนึ่งปล่อยรถเทียมม้าพอพ้นมือ ก็ขุดหลุมเพื่อจะฝัง เราเสียในแผ่นดิน พระมหากษัตริย์ทรงคุกคามการอธิษฐาน ที่เรา อธิษฐานไว้ด้วยเหตุต่างๆ แต่เราก็ไม่ทำลายการอธิษฐานนั้น เพราะ เหตุแห่งโพธิญาณนั่นเอง เราจะเกลียดพระมารดาพระบิดาก็หามิได้ เราจะเกลียดตนเองก็หามิได้ แต่พระสัญพัญญุตญาณ เป็นที่รักของ เรา เพราะฉะนั้นแหละ เราจึงอธิษฐานองค์ ๓ ประการนี้ เรา อธิษฐานองค์ ๓ ประการนี้อยู่ ๑๖ ปี ผู้เสมอด้วยอธิษฐานของเรา ไม่มี นี่เป็นอธิษฐานบารมีของเรา ฉะนี้แล.
จบมูคผักขจริยาที่ ๖

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ บรรทัดที่ ๙๒๖๙-๙๓๐๗ หน้าที่ ๓๙๗-๓๙๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=33&A=9269&Z=9307&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=33&A=9269&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=33&siri=245              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33&i=234              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=33&A=12036              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=33&A=12036              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_33

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]