ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑ ธรรมสังคณีปกรณ์
เหตุโคจฉกะ
[๖๘๙] ธรรมเป็นเหตุ เป็นไฉน? กุศลเหตุ ๓ อกุศลเหตุ ๓ อัพยากตเหตุ ๓ กามาวจรเหตุ ๙ รูปาวจรเหตุ ๖ อรูปาวจร เหตุ ๖ โลกุตตรเหตุ ๖. [๖๙๐] บรรดาเหตุเหล่านั้น กุศลเหตุ ๓ เป็นไฉน? อโลภะ อโทสะ อโมหะ. บรรดากุศลเหตุ ๓ นั้น อโลภะ เป็นไฉน? การไม่โลภ กิริยาที่ไม่โลภ ความไม่โลภ การไม่กำหนัดนัก กิริยาที่ไม่กำหนัดนัก ความไม่กำหนัดนัก ความไม่เพ่งเล็ง กุศลมูล คืออโลภะ นี้เรียกว่า อโลภะ. อโทสะ เป็นไฉน? การไม่คิดประทุษร้าย กิริยาที่ไม่คิดประทุษร้าย ความไม่คิดประทุษร้าย ไมตรีกิริยาที่ สนิทสนม ความสนิทสนม การเอ็นดู กิริยาที่เอ็นดู ความเอ็นดู ความแสวงหาประโยชน์ เกื้อกูล ความสงสาร ความไม่พยาบาท ความไม่คิดเบียดเบียน กุศลมูลคืออโทสะ นี้เรียกว่า อโทสะ. อโมหะ เป็นไฉน? ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินี- *ปฏิปทา ความรู้ในส่วนอดีต ความรู้ในส่วนอนาคต ความรู้ทั้งในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ความรู้ในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความ เข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ เห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือน ศาสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ที่มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า อโมหะ. สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า กุศลเหตุ ๓. [๖๙๑] อกุศลเหตุ ๓ เป็นไฉน? โลภะ โทสะ โมหะ. บรรดาอกุศลเหตุ ๓ นั้น โลภะ เป็นไฉน? ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความคล้อยตามอารมณ์ ความยินดี ความเพลิดเพลิน ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน ความกำหนัดนักแห่งจิต ความอยาก ความสยบ ความหมกมุ่น ความใคร่ ความรักใคร่ ความข้องอยู่ ความจมอยู่ ธรรมชาติผู้คร่าไป ธรรมชาติผู้หลอกลวง ธรรมชาติผู้ยังสัตว์ให้เกิด ธรรมชาติผู้ยังสัตว์ให้เกิดพร้อม ธรรมชาติอัน ร้อยรัด ธรรมชาติอันมีข่าย ธรรมชาติอันกำซาบใจ ธรรมชาติอันซ่านไป ธรรมชาติเหมือน เส้นด้าย ธรรมชาติอันแผ่ไป ธรรมชาติผู้ประมวลมา ธรรมชาติเป็นเพื่อนสอง ปณิธาน ธรรมชาติผู้นำไปสู่ภพ ตัณหาเหมือนป่า ตัณหาเหมือนดง ความเกี่ยวข้อง ความเยื่อใย ความห่วงใย ความผูกพัน การหวัง กิริยาที่หวัง ความหวัง ความหวังรูป ความหวังเสียง ความหวังกลิ่น ความหวังรส ความหวังโผฏฐัพพะ ความหวังลาภ ความหวังทรัพย์ ความ หวังบุตร ความหวังชีวิต ธรรมชาติผู้กระซิบ ธรรมชาติผู้กระซิบทั่ว ธรรมชาติผู้กระซิบยิ่ง การกระซิบ กิริยาที่กระซิบ ความกระซิบ การละโมบ กิริยาที่ละโมบ ความละโมบ ธรรมชาติเป็นเหตุซมซานไป ความใคร่ในอารมณ์ดีๆ ความกำหนัดในฐานะอันไม่ควร ความ โลภเกินขนาด ความติดใจ กิริยาที่ติดใจ ความปรารถนา ความกระหยิ่มใจ ความปรารถนานัก กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหาในรูปภพ ตัณหาในอรูปภพ ตัณหาในนิโรธ [คือราคะที่สหรคต ด้วยอุจเฉททิฏฐิ] รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา โอฆะ โยคะ คันถะ อุปาทาน อาวรณ์ นิวรณ์ เครื่องปิดบัง เครื่องผูก อุปกิเลส อนุสัย ปริยุฏฐาน ตัณหาเหมือนเถาวัลย์ ความปรารถนาวัตถุมีอย่าง ต่างๆ รากเหง้าแห่งทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ แดนเกิดแห่งทุกข์ บ่วงแห่งมาร เบ็ดแห่งมาร แดน แห่งมาร ตัณหาเหมือนแม่น้ำ ตัณหาเหมือนข่าย ตัณหาเหมือนเชือกผูก ตัณหาเหมือนสมุทร อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ อันใด นี้เรียกว่า โลภะ. โทสะ เป็นไฉน? อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้กระทำความเสื่อมเสียแก่เรา อาฆาตย่อมเกิดขึ้น ได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียแก่เรา อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้จักทำความ เสื่อมเสียแก่เรา อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ทำความเสื่อมเสีย ฯลฯ กำลังทำความ เสื่อมเสีย ฯลฯ จักทำความเสื่อมเสียแก่คนที่รักชอบพอของเรา อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ทำความเจริญ ฯลฯ กำลังทำความเจริญ ฯลฯ จักทำความเจริญแก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็น ที่ชอบพอของเรา หรืออาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ในฐานะอันใช่เหตุ จิตอาฆาต ความขัดเคือง ความกระทบกระทั่ง ความแค้น ความเคือง ความขุ่นเคือง ความพลุ่งพล่าน โทสะ ความคิด ประทุษร้าย ความมุ่งคิดประทุษร้าย ความขุ่นจิต ธรรมชาติที่ประทุษร้ายใจ โกรธ กิริยาที่โกรธ ความโกรธมีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด [และ] การคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ความ คิดประทุษร้าย การคิดปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ความคิดปองร้าย ความโกรธ ความแค้น ความดุร้าย ความปากร้าย ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต นี้เรียกว่า โทสะ. โมหะ เป็นไฉน? ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ ความไม่รู้ใน ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความไม่รู้ในส่วนอดีต ความไม่รู้ในส่วนอนาคต ความไม่รู้ทั้งในส่วน อดีตและส่วนอนาคต ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัยธรรมนี้จึง เกิดขึ้น ความไม่รู้ ความไม่เห็น ความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้โดยสมควร ความไม่รู้ตามเป็นจริง ความไม่แทงตลอด ความไม่ถือเอาโดยถูกต้อง ความไม่หยั่งลงโดยรอบคอบ ความไม่พินิจ ความไม่พิจารณา การไม่กระทำให้ประจักษ์ ความทรามปัญญา ความโง่เขลา ความไม่รู้ชัด ความหลง ความลุ่มหลง ความหลงใหล อวิชชา โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคือ อวิชชา ปริยุฏฐานคืออวิชชา ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูล คือ โมหะ มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า โมหะ. สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อกุศลเหตุ ๓. [๖๙๒] อัพยากตเหตุ ๓ เป็นไฉน? อโลภะ อโทสะ อโมหะ ฝ่ายวิบากของกุศลธรรม หรือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ ในพวกกิริยาอัพยากตธรรม สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อัพยากตเหตุ ๓. [๖๙๓] กามาวจรเหตุ ๙ เป็นไฉน? กุศลเหตุ ๓ อกุศลเหตุ ๓ อัพยากตเหตุ ๓ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า กามาวจรเหตุ ๙. รูปาวจรเหตุ ๖ เป็นไฉน? กุศลเหตุ ๓ อัพยากตเหตุ ๓ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า รูปาวจรเหตุ ๖. อรูปาวจรเหตุ ๖ เป็นไฉน? กุศลเหตุ ๓ อัพยากตเหตุ ๓ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อรูปาวจรเหตุ ๖. [๖๙๔] โลกุตตรเหตุ ๖ เป็นไฉน? กุศลเหตุ ๓ อัพยากตเหตุ ๓ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อรูปาวจรเหตุ ๖. บรรดาโลกุตตรเหตุ ๖ นั้น กุศลเหตุ ๓ เป็นไฉน? อโลภะ อโทสะ อโมหะ. บรรดากุศลเหตุ ๓ นั้น อโลภะ เป็นไฉน? การไม่โลภ กิริยาที่ไม่โลภ ความไม่โลภ ความไม่กำหนัด กิริยาที่ไม่กำหนัด ความ ไม่กำหนัด ความไม่เพ่งเล็ง กุศลมูลคืออโลภะ นี้เรียกว่า อโลภะ. อโทสะ เป็นไฉน? การไม่คิดประทุษร้าย กิริยาที่ไม่คิดประทุษร้าย ความไม่คิดประทุษร้าย ฯลฯ ความไม่ พยาบาท ความไม่คิดเบียดเบียน กุศลมูลคืออโทสะ นี้เรียกว่า อโทสะ. อโมหะ เป็นไฉน? ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินี- *ปฏิปทา ความรู้ในส่วนอดีต ความรู้ในส่วนอนาคต ความรู้ทั้งในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ความรู้ในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัยธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไป กำหนดเฉพาะภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือน ปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือน ดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค นี้ชื่อว่า อโมหะ. สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า กุศลเหตุ ๓. อัพยากตเหตุ ๓ เป็นไฉน? อโลภะ อโทสะ อโมหะ ฝ่ายวิบากแห่งกุศลธรรม สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อัพยากตเหตุ ๓. สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า โลกุตตรเหตุ ๖. สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นเหตุ. [๖๙๕] ธรรมไม่เป็นเหตุ เป็นไฉน? เว้นธรรมเป็นเหตุเหล่านั้นเสีย กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรมที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตตระ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นเหตุ. [๖๙๖] ธรรมมีเหตุ เป็นไฉน? ธรรมเหล่าใด มีเหตุโดยธรรมที่เป็นเหตุเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีเหตุ. ธรรมไม่มีเหตุ เป็นไฉน? ธรรมเหล่าใด ไม่มีเหตุโดยธรรมที่เป็นเหตุเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมไม่มีเหตุ. [๖๙๗] ธรรมสัมปยุตด้วยเหตุ เป็นไฉน? ธรรมเหล่าใด สัมปยุตด้วยธรรมที่เป็นเหตุเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยเหตุ. ธรรมวิปปยุตจากเหตุ เป็นไฉน? ธรรมเหล่าใด วิปปยุตจากธรรมที่เป็นเหตุเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากเหตุ. [๖๙๘] ธรรมเป็นเหตุและมีเหตุ เป็นไฉน? โลภะเป็นเหตุ และมีเหตุโดยโมหะ โมหะเป็นเหตุ และมีเหตุโดยโลภะ โทสะเป็นเหตุ และมีเหตุโดยโมหะ โมหะเป็นเหตุ และมีเหตุโดยโทสะ อโลภะ อโทสะ อโมหะ ทั้ง ๓ นั้นเป็นเหตุ และมีเหตุโดยกันและกัน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นเหตุ และมีเหตุ. ธรรมมีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ เป็นไฉน? ธรรมเหล่าใด มีเหตุโดยธรรมที่เป็นเหตุเหล่านั้น เว้นธรรมที่เป็นเหตุเหล่านั้นเสีย คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ. [๖๙๙] ธรรมเป็นเหตุ และสัมปยุตด้วยเหตุ เป็นไฉน? โลภะเป็นเหตุ และสัมปยุตด้วยเหตุโดยโมหะ โมหะเป็นเหตุ และสัมปยุตด้วยเหตุ โดยโลภะ โทสะเป็นเหตุ และสัมปยุตด้วยเหตุโดยโมหะ โมหะเป็นเหตุ และสัมปยุตด้วยเหตุ โดยโทสะ. อโลภะ อโทสะ อโมหะ ทั้ง ๓ นั้นเป็นเหตุ และสัมปยุตด้วยเหตุ โดยกันและกัน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นเหตุ และสัมปยุตด้วยเหตุ. ธรรมสัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ เป็นไฉน? ธรรมเหล่าใด สัมปยุตด้วยธรรมที่เป็นเหตุเหล่านั้น เว้นธรรมที่เป็นเหตุเหล่านั้นเสีย คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ. [๗๐๐] ธรรมไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ เป็นไฉน? ธรรมเหล่าใด ไม่เป็นเหตุ แต่มีเหตุโดยธรรมที่เป็นเหตุเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ. ธรรมไม่เป็นเหตุ และไม่มีเหตุ เป็นไฉน? ธรรมเหล่าใด ไม่เป็นเหตุ และไม่มีเหตุโดยธรรมที่เป็นเหตุเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นเหตุและ ไม่มีเหตุ.
เหตุโคจฉกะ จบ
-----------------------------------------------------
จูฬันตรทุกะ
[๗๐๑] ธรรมมีปัจจัย เป็นไฉน? ขันธ์ ๕ คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีปัจจัย. ธรรมไม่มีปัจจัย เป็นไฉน? อสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีปัจจัย. [๗๐๒] ธรรมเป็นสังขตะ เป็นไฉน? ธรรมที่มีปัจจัยเหล่านั้นอันใดเล่า ธรรมเหล่านั้นนั่นแหละชื่อว่า ธรรมเป็นสังขตะ. ธรรมเป็นอสังขตะ นั้น เป็นไฉน? ธรรมที่ไม่มีปัจจัยนั้นอันใดเล่า ธรรมนั้นนั่นแหละชื่อว่า ธรรมเป็นอสังขตะ. [๗๐๓] ธรรมที่เห็นได้ เป็นไฉน? รูปายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่เห็นได้. ธรรมที่เห็นไม่ได้ เป็นไฉน? จักขายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ, เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปที่เห็นไม่ได้ ที่กระทบไม่ได้ ซึ่งนับเนื่องในธัมมายตนะ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่ เห็นไม่ได้. [๗๐๔] ธรรมที่กระทบได้ เป็นไฉน? จักขายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่กระทบได้. ธรรมที่กระทบไม่ได้ เป็นไฉน? เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปที่เห็นไม่ได้ กระทบไม่ได้ ซึ่งนับเนื่องใน ธัมมายตนะ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่กระทบไม่ได้. [๗๐๕] ธรรมเป็นรูป เป็นไฉน? มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นรูป. ธรรมไม่เป็นรูป เป็นไฉน? เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม ไม่เป็นรูป. [๗๐๖] ธรรมเป็นโลกิยะ เป็นไฉน? กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะ ที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร คือ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นโลกิยะ. ธรรมเป็นโลกุตตระ เป็นไฉน? มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นโลกุตตระ. [๗๐๗] ธรรมที่จิตบางอย่างรู้ได้ และที่จิตบางอย่างรู้ไม่ได้ เป็นไฉน? ธรรมเหล่าใดจักขุวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นโสตวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใด โสตวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นจักขุวิญญาณรู้ไม่ได้, ธรรมเหล่าใดจักขุวิญญาณรู้ได้ ธรรม เหล่านั้นฆานวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดฆานวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นจักขุวิญญาณ รู้ไม่ได้, ธรรมเหล่าใดจักขุวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใด ชิวหาวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นจักขุวิญญาณรู้ไม่ได้, ธรรมเหล่าใดจักขุวิญญาณรู้ได้ ธรรม เหล่านั้น กายวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดกายวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นจักขุวิญญาณ รู้ไม่ได้. ธรรมเหล่าใดโสตวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นฆานวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใด ฆานวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นโสตวิญญาณรู้ไม่ได้, ธรรมเหล่าใดโสตวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้น ชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดชิวหาวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นโสตวิญญาณรู้ไม่ได้, ธรรมเหล่าใดโสตวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นกายวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดกายวิญญาณ รู้ได้ ธรรมเหล่านั้นโสตวิญญาณรู้ไม่ได้ ธรรมเหล่าใดโสตวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นจักขุวิญญาณ รู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดจักขุวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นโสตวิญญาณรู้ไม่ได้. ธรรมเหล่าใดฆานวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใด ชิวหาวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นฆานวิญญาณรู้ไม่ได้, ธรรมเหล่าใดฆานวิญญาณรู้ได้ ธรรม เหล่านั้นกายวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดกายวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นฆานวิญญาณรู้ไม่ได้ ธรรมเหล่าใดฆานวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นจักขุวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดจักขุวิญญาณ รู้ได้ ธรรมเหล่านั้นฆานวิญญาณรู้ไม่ได้ ธรรมเหล่าใดฆานวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นโสต วิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดโสตวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นฆานวิญญาณรู้ไม่ได้ ธรรมเหล่าใดชิวหาวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นกายวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใด กายวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้ ธรรมเหล่าใดชิวหาวิญญาณรู้ได้ ธรรม เหล่านั้นจักขุวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดจักขุวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นชิวหาวิญญาณ รู้ไม่ได้, ธรรมเหล่าใดชิวหาวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นโสตวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใด โสตวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้, ธรรมเหล่าใดชิวหาวิญญาณรู้ได้ ธรรม เหล่านั้นฆานวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดฆานวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นชิวหาวิญญาณ รู้ไม่ได้. ธรรมเหล่าใดกายวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นจักขุวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใด จักขุวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นกายวิญญาณรู้ไม่ได้, ธรรมเหล่าใดกายวิญญาณรู้ได้ ธรรม เหล่านั้นโสตวิญญาณรู้ไม่ได้, หรือธรรมเหล่าใดโสตวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นกายวิญญาณ รู้ไม่ได้ ธรรมเหล่าใดกายวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นฆานวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใด ฆานวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นกายวิญญาณไม่รู้ได้ ธรรมเหล่าใดกายวิญญาณรู้ได้ ธรรม เหล่านั้นชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้, หรือธรรมเหล่าใดชิวหาวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นกายวิญญาณ รู้ไม่ได้ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่จิตบางอย่างรู้ได้และที่จิตบางอย่างรู้ไม่ได้.
จูฬันตรทุกะ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ บรรทัดที่ ๖๐๔๒-๖๒๖๐ หน้าที่ ๒๔๑-๒๔๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=34&A=6042&Z=6260&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=34&A=6042&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=34&siri=55              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=689              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=34&A=5450              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=53&A=10453              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=34&A=5450              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=53&A=10453              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_34              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ds2.3.2/en/caf_rhysdavids

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]