ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑ ธรรมสังคณีปกรณ์
             [๘๖๕] สติ เป็นไฉน?

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๙๘.

สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความไม่เลื่อนลอย ความไม่ลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ อันใดนี้เรียกว่า สติ สัมปชัญญะ เป็นไฉน? ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิอันใด นี้เรียกว่า สัมปชัญญะ. [๘๖๖] กำลังคือการพิจารณา เป็นไฉน? ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิอันใด นี้เรียกว่า กำลังคือการพิจารณา. กำลังคือภาวนา เป็นไฉน? การเสพ การเจริญ การทำให้มาก ซึ่งกุศลธรรมทั้งหลาย อันใด นี้เรียกว่า กำลังคือ ภาวนา. โพชฌงค์แม้ทั้ง ๗ จัดเป็นกำลังคือภาวนา. [๘๖๗] สมถะ เป็นไฉน? ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ อันใด นี้เรียกว่า สมถะ. วิปัสสนา เป็นไฉน? ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิอันใด นี้เรียกว่า วิปัสสนา. [๘๖๘] สมถนิมิต เป็นไฉน? ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ อันใด นี้เรียกว่า สมถนิมิต. ปัคคาหนิมิต เป็นไฉน? การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่า ปัคคาหนิมิต. [๘๖๙] ปัคคาหะ เป็นไฉน? การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่า ปัคคาหะ. อวิกเขปะ เป็นไฉน? ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ อันใด นี้เรียกว่า อวิกเขปะ. [๘๗๐] สีลวิบัติ เป็นไฉน?

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๙๙.

ความล่วงละเมิดทางกาย ความล่วงละเมิดทางวาจา ความล่วงละเมิดทางกายและทางวาจา อันใด นี้เรียกว่า สีลวิบัติ. ความเป็นผู้ทุศีลแม้ทั้งหมด จัดเป็น สีลวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ เป็นไฉน? ความเห็นว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล การบูชาไม่มีผล การบวงสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่ง กรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกอื่นไม่มี บิดาไม่มี มารดาไม่มี สัตว์ที่จุติและอุปบัติไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบไม่มีในโลก สมณพราหมณ์ที่ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกอื่น ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้ไม่มีในโลก ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า ทิฏฐิวิบัติ. มิจฉาทิฏฐิแม้ทั้งหมด จัดเป็น ทิฏฐิวิบัติ. [๘๗๑] สีลสัมปทา เป็นไฉน? ความไม่ล่วงละเมิดทางกาย ความไม่ล่วงละเมิดทางวาจา ความไม่ล่วงละเมิดทางกายและ ทางวาจา นี้เรียกว่า สีลสัมปทา. สีลสังวรแม้ทั้งหมด จัดเป็น สีลสัมปทา. ทิฏฐิสัมปทา เป็นไฉน? ความเห็นว่า ทานที่บุคคลให้แล้วย่อมมีผล การบูชาย่อมมีผล การบวงสรวงย่อมมีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วมีอยู่ โลกนี้มีอยู่ โลกอื่นมีอยู่ มารดามีอยู่ บิดามีอยู่ สัตว์ที่จุติและ อุปบัติมีอยู่ สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมีอยู่ในโลก สมณพราหมณ์ที่ทำให้แจ้ง ซึ่งโลกนี้ และโลกอื่นด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้มีอยู่ในโลก ดังนี้ ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิมีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่าทิฏฐิสัมปทา. สัมมาทิฏฐิแม้ทั้งหมด จัดเป็น ทิฏฐิสัมปทา. [๘๗๒] สีลวิสุทธิ เป็นไฉน? ความไม่ล่วงละเมิดทางกาย ความไม่ล่วงละเมิดทางวาจา ความไม่ล่วงละเมิดทางกายและ ทางวาจา นี้เรียกว่า สีลวิสุทธิ. สีลสังวรแม้ทั้งหมด จัดเป็นสีลวิสุทธิ.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๐๐.

ทิฏฐิวิสุทธิ เป็นไฉน? ญาณเป็นเครื่องรู้ว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตน (กัมมัสสกตาญาณ) ญาณอันสมควรแก่การ หยั่งรู้อริยสัจ (สัจจานุโลมิกญาณ) ญาณของท่านผู้พร้อมเพรียงด้วยมรรค (มัคคญาณ) ญาณของท่าน ผู้พร้อมเพรียงด้วยผล (ผลญาณ) [๘๗๓] บทว่า ความหมดจดแห่งทิฏฐิ นั้น มีนิเทศว่า ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ. บทว่า ความเพียรแห่งบุคคลผู้มีทิฏฐิอันหมดจด นั้นมีนิเทศว่า การปรารภความเพียร ทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ. [๘๗๔] บทว่า ความสลดใจนั้น มีนิเทศว่า ญาณอันเห็นชาติโดยความเป็นภัย ญาณอันเห็นชราโดยความเป็นภัย ญาณอันเห็นพยาธิโดยความเป็นภัย ญาณอันเห็นมรณะโดย ความเป็นภัย. บทว่า ฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความสลดใจ นั้น มีนิเทศว่า ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ. บทว่า ความพยายามโดยแยบคายแห่งบุคคลผู้มีใจสลดแล้ว นั้น มีนิเทศว่า ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิตไว้ ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความไม่บังเกิดขึ้นแห่งอกุศลบาปธรรมทั้งหลายที่ยังไม่บังเกิดขึ้น เพื่อละอกุศล บาปธรรมทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อความบังเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น เพื่อความตั้งอยู่ เพื่อความไม่จืดจาง เพื่อความเพิ่มพูน เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นแล้ว. [๘๗๕] บทว่า ความไม่รู้จักอิ่มในกุศลธรรม นั้น มีนิเทศว่า ความพอใจยิ่งๆ ขึ้นไปของบุคคลผู้ไม่รู้จักอิ่ม ในการเจริญกุศลธรรมทั้งหลาย. บทว่า ความไม่ท้อถอยในความพยายาม นั้น มีนิเทศว่า ความเป็นผู้กระทำโดย เคารพ ความเป็นผู้กระทำติดต่อ ความเป็นผู้กระทำไม่หยุด ความเป็นผู้ประพฤติไม่ย่อหย่อน ความเป็นผู้ไม่ทิ้งฉันทะ ความเป็นผู้ไม่ทอดธุระการเสพ การเจริญ การกระทำให้มาก เพื่อความ เจริญแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๐๑.

[๘๗๖] บทว่า วิชชา นั้น มีนิเทศว่า วิชชา ๓ วิชชาคือญาณอันตามระลึกชาติหนหลังได้ (ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ) วิชชาคือญาณในจุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลายแล้ว (จุตูปปาตญาณ) วิชชาคือญาณในความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย (อาสวักขยญาณ) บทว่า วิมุติ นั้น มีนิเทศว่า วิมุติ ๒ อธิมุตติแห่งจิต (สมาบัติ ๘) และนิพพาน. [๘๗๗] บทว่า ขเย ญาณํ นั้น มีนิเทศว่า ญาณของท่านผู้พร้อมเพรียงด้วยมรรค. บทว่า อนุปปาเท ญาณํ นั้น มีนิเทศว่า ญาณของท่านผู้พร้อมเพรียงด้วยผล.
นิกเขปกัณฑ์ จบ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ บรรทัดที่ ๗๔๙๙-๗๕๘๒ หน้าที่ ๒๙๗-๓๐๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=34&A=7499&Z=7582&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=34&A=7499&w=เน€เธ˜เธŠเน€เธ˜๏ฟฝเน€เธ˜เธ”_เน€เธ™๏ฟฝเน€เธ˜๏ฟฝเน€เธ™๏ฟฝเน€เธ˜๏ฟฝเน€เธ™๏ฟฝเน€เธ˜๏ฟฝเน€เธ˜๏ฟฝ&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=34&siri=65              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=836              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=34&A=6550#865top              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=53&A=11088              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=34&A=6550#865top              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=53&A=11088              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_34              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ds2.3.3/en/caf_rhysdavids

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]