ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑ ธรรมสังคณีปกรณ์
เหตุโคจฉกะ
[๙๐๐] ธรรมเป็นเหตุ เป็นไฉน? กุศลเหตุ ๓ อกุศลเหตุ ๓ อัพยากตเหตุ ๓ อโลภกุศลเหตุ อโทสกุศลเหตุ บังเกิดในกุศลทั้ง ๔ ภูมิ อโมหกุศลเหตุบังเกิดในกุศลทั้ง ๔ ภูมิ เว้นจิตตุปบาทที่เป็นญาณวิปปยุตฝ่ายกามาวจร ๔ ดวง โลภะ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ ๘ ดวง โทสะ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัส ๒ ดวง โมหะ บังเกิดในอกุศลทั้งปวง อโลภวิปากเหตุ อโทสวิปากเหตุ ย่อมเกิดในวิบากทั้ง ๔ ภูมิ เว้นอเหตุกจิตตุปบาท ฝ่ายกามาวจรวิบาก อโมหวิปากเหตุ บังเกิดในวิบากทั้ง ๔ ภูมิ เว้นอเหตุกจิตตุปบาท ฝ่ายกามาวจรวิบาก (และ) เว้นจิตตุปบาทที่เป็นญาณวิปปยุต ๔ ดวง อโลภกิริยเหตุ อโทสกิริยเหตุ บังเกิดในกิริยาทั้ง ๓ ภูมิ เว้นอเหตุกจิตตุปบาทฝ่าย กามาวจรกิริยา อโมหกิริยเหตุ บังเกิดในกิริยาทั้ง ๓ ภูมิ เว้นอเหตุกจิตตุปบาท ฝ่ายกามาวจรกิริยา (และ) เว้นจิตตุปบาทที่เป็นญาณวิปปยุต ๔ ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นเหตุ. ธรรมไม่เป็นเหตุ เป็นไฉน? เว้นเหตุทั้งหลายเสีย กุศลในภูมิ ๔ อกุศล วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นเหตุ. [๙๐๑] ธรรมมีเหตุ เป็นไฉน? อกุศลที่เหลือ เว้นโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา (และ) ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ, กุศล- *ในภูมิ ๔, วิบากในภูมิ ๔ เว้นอเหตุกจิตตุปบาท ฝ่ายกามาวจรวิบาก, กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ เว้นอเหตุกจิตตุปบาท ฝ่ายกามาวจรกิริยา สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมมีเหตุ. ธรรมไม่มีเหตุ เป็นไฉน? โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา โมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ ปัญจวิญญาณ ทั้ง ๒ ฝ่าย มโนธาตุ ๓ อเหตุกมโนวิญญาณธาตุ ๕ รูปและนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรม ไม่มีเหตุ. [๙๐๒] ธรรมสัมปยุตด้วยเหตุ เป็นไฉน? อกุศลที่เหลือ เว้นโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา (และ) ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ, กุศล ในภูมิ ๔, วิบากในภูมิ ๔ เว้นอเหตุกจิตตุปบาทฝ่ายกามาวจรวิบาก, กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ เว้นอเหตุกจิตตุปบาทฝ่ายกามาวจรกิริยา สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยเหตุ. ธรรมวิปปยุตจากเหตุ เป็นไฉน? โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา โมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ ปัญจวิญญาณทั้ง ๒ ฝ่าย มโนธาตุ ๓ อเหตุกมโนวิญญาณธาตุ ๕ รูปและนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรม วิปปยุตจากเหตุ. [๙๐๓] ธรรมเป็นเหตุและมีเหตุ เป็นไฉน? เหตุ ๒-๓ บังเกิดร่วมกันในจิตตุปบาทใด สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นเหตุ และมีเหตุ. ธรรมมีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ เป็นไฉน? กุศลในภูมิ ๔, อกุศล, วิบากในภูมิ ๔ เว้นอเหตุกจิตตุปบาทฝ่ายกามาวจรวิบาก, กิริยา อัพยากฤตในภูมิ ๓ เว้นอเหตุกจิตตุปบาทฝ่ายกามาวจรกิริยา, เว้นเหตุทั้งหลายที่บังเกิดใน จิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมมีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ. ธรรมไม่มีเหตุ จะกล่าวว่า ธรรมเป็นเหตุและมีเหตุก็ไม่ได้ ว่าธรรมมีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ ก็ไม่ได้. [๙๐๔] ธรรมเป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ เป็นไฉน? เหตุ ๒-๓ บังเกิดร่วมกันในจิตตุปบาทใด สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นเหตุและ สัมปยุตด้วยเหตุ. ธรรมสัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ เป็นไฉน? กุศลในภูมิ ๔, อกุศล, วิบากในภูมิ ๔ เว้นอเหตุกจิตตุปบาทฝ่ายกามาวจรวิบาก, กิริยา อัพยากฤตในภูมิ ๓ เว้นอเหตุกจิตตุปบาทฝ่ายกามาวจรกิริยา เว้นเหตุทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นใน จิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ. ธรรมวิปปยุตจากเหตุ จะกล่าวว่า ธรรมเป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุก็ไม่ได้ ว่าธรรม สัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็ไม่ได้. [๙๐๕] ธรรมไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ เป็นไฉน? กุศลในภูมิ ๔, อกุศล, วิบากในภูมิ ๔ เว้นอเหตุกจิตตุปบาทฝ่ายกามาวจรวิบาก, กิริยา อัพยากฤตในภูมิ ๓ เว้นอเหตุกจิตตุปบาทฝ่ายกามาวจรกิริยา, เว้นเหตุทั้งหลายที่บังเกิดใน จิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ. ธรรมไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ เป็นไฉน? ปัญจวิญญาณทั้ง ๒ ฝ่าย มโนธาตุ ๓ อเหตุกมโนวิญญาณธาตุ ๕ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ. ธรรมเป็นเหตุ จะกล่าวว่า ธรรมไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุก็ไม่ได้ ว่าธรรมไม่เป็นเหตุและ ไม่มีเหตุก็ไม่ได้.
เหตุโคจฉกะ จบ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ บรรทัดที่ ๗๘๓๔-๗๘๙๗ หน้าที่ ๓๑๑-๓๑๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=34&A=7834&Z=7897&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=34&A=7834&w=เน€เธ˜เธŠเน€เธ˜๏ฟฝเน€เธ˜เธ”_เน€เธ™๏ฟฝเน€เธ˜๏ฟฝเน€เธ™๏ฟฝเน€เธ˜๏ฟฝเน€เธ™๏ฟฝเน€เธ˜๏ฟฝเน€เธ˜๏ฟฝ&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=34&siri=67              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=900              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=34&A=7021              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=53&A=11965              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=34&A=7021              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=53&A=11965              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_34

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]