ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒
เรื่องวัตถุ ๕ ประการ
[๓๘๓] ครั้งนั้น พระเทวทัตเข้าไปหาพระโกกาลิกะ พระกตโมรกติส- *สกะ พระขัณฑเทวีบุตร พระสมุททัตตะ แล้วได้กล่าวว่า มาเถิดท่านทั้งหลาย

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๕๗.

พวกเราจักทำสังฆเภท จักรเภท แก่พระสมณโคดม เมื่อพระเทวทัตกล่าวอย่างนี้ แล้ว พระโกกาลิกะได้กล่าวว่า พระสมณโคดมมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก พวกเราจักทำสังฆเภท จักรเภท แก่พระสมณโคดมอย่างไรได้ พระเทวทัตกล่าวว่า มาเถิดท่านทั้งหลาย พวกเราจักเข้าไปเฝ้าพระสมณ- *โคดม แล้วทูลขอวัตถุ ๕ ประการว่า พระผู้มีพระภาคตรัสคุณแห่งความเป็นผู้ มักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่ สั่งสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย พระพุทธเจ้าข้า วัตถุ ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย ความเป็นผู้สันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สั่งสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ข้าพระพุทธเจ้า ขอประทานพระวโรกาส ภิกษุทั้งหลายพึงถือการอยู่ป่าเป็นวัตรตลอด ชีวิต รูปใดอาศัยบ้านอยู่ รูปนั้นพึงต้องโทษ ภิกษุทั้งหลายพึงถือเที่ยวบิณฑบาต เป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดยินดีกิจนิมนต์ รูปนั้นพึงต้องโทษ ภิกษุทั้งหลายพึงถือ ผ้าบังสุกุลเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดยินดีคหบดีจีวร รูปนั้นพึงต้องโทษ ภิกษุ ทั้งหลายพึงถืออยู่โคนไม้เป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดเข้าอาศัยที่มุงที่บัง รูปนั้นพึงต้อง- *โทษ ภิกษุทั้งหลายไม่พึงฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต รูปใดฉันปลาและเนื้อ รูปนั้น พึงต้องโทษ พระสมณโคดมจักไม่ทรงอนุญาตวัตถุ ๕ ประการนี้ แต่พวกเรานั้น จักให้ประชาชนเชื่อถือวัตถุ ๕ ประการนี้ พระโกกาลิกะกล่าวว่า ท่านทั้งหลาย พวกเราสามารถเพื่อทำสังฆเภท จักรเภท แก่พระสมณโคดมด้วยวัตถุ ๕ ประการนี้แน่ เพราะมนุษย์ทั้งหลายเลื่อมใส ในความปฏิบัติเศร้าหมอง ฯ
ทูลขอวัตถุ ๕ ประการ
[๓๘๔] ครั้งนั้น พระเทวทัตพร้อมกับบริษัทเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อนั่งเรียบร้อยแล้วได้กราบทูล

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๕๘.

พระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสคุณแห่งความเป็นผู้มักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส ความไม่สั่งสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย พระพุทธเจ้าข้า วัตถุ ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย ความเป็นผู้สันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส ความไม่สั่งสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ข้าพระพุทธเจ้า ขอประทานพระวโรกาส ภิกษุทั้งหลายพึงถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ตลอดชีวิต รูปใดอาศัยบ้านอยู่ รูปนั้นพึงต้องโทษ ภิกษุทั้งหลายพึงถือเที่ยว บิณฑบาตเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดยินดีกิจนิมนต์ รูปนั้นพึงต้องโทษ ภิกษุ ทั้งหลายพึงถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดยินดีคหบดีจีวร รูปนั้นพึงต้องโทษ ภิกษุทั้งหลายพึงถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดเข้าอาศัยที่มุงที่บัง รูป นั้นพึงต้องโทษ ภิกษุทั้งหลายไม่พึงฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต รูปใดฉันปลาและ เนื้อ รูปนั้นพึงต้องโทษ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า อย่าเลย เทวทัต ภิกษุใดปรารถนา ภิกษุนั้น จงถือการอยู่ป่าเป็นวัตร รูปใดปรารถนา จงอยู่ในบ้าน รูปใดปรารถนา จงถือ เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร รูปใดปรารถนา จงยินดีกิจนิมนต์ รูปใดปรารถนา จง ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร รูปใดปรารถนา จงยินดีคหบดีจีวร เราอนุญาตโคนไม้เป็น เสนาสนะ ๘ เดือน เราอนุญาตปลาและเนื้อที่บริสุทธิ์โดยส่วนสาม คือ ไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่รังเกียจ ครั้งนั้น พระเทวทัตคิดว่า พระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาต วัตถุ ๕ ประการ นี้ จึงร่าเริงดีใจพร้อมกับบริษัทลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำ ประทักษิณ แล้วกลับไป ฯ
โฆษณาวัตถุ ๕ ประการ
[๓๘๕] ต่อมา พระเทวทัตพร้อมกับบริษัทเข้าไปสู่กรุงราชคฤห์แล้ว ประกาศให้ประชาชนเข้าใจวัตถุ ๕ ประการว่า ท่านทั้งหลาย พวกอาตมาเข้าไปเฝ้า

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๕๙.

พระสมณโคดมทูลขอวัตถุ ๕ ประการว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสคุณ แห่งความเป็นผู้มักน้อย ... การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย พระพุทธเจ้าข้า วัตถุ ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย ... การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานพระวโรกาส ภิกษุทั้งหลายพึงถืออยู่ ป่าเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดอาศัยบ้านอยู่ รูปนั้นพึงต้องโทษ ... ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต รูปใดฉันปลาและเนื้อ รูปนั้นพึงต้องโทษ วัตถุ ๕ ประการนี้ พระสมณโคดมไม่ทรงอนุญาต แต่พวกอาตมาสมาทานประพฤติตาม วัตถุ ๕ ประการนี้ ฯ [๓๘๖] บรรดาประชาชนเหล่านั้น พวกที่ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส ไร้ปัญญา กล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ เป็นผู้กำจัด มีความ ประพฤติขัดเกลา ส่วนพระสมณโคดมประพฤติมักมาก ย่อมคิดเพื่อความมักมาก ส่วนพวกที่มีศรัทธา เลื่อมใส เป็นผู้ฉลาด มีปัญญา ย่อมเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระเทวทัตจึงได้พยายามเพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลายจักรเล่า ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระเทวทัตจึงได้พยายามเพื่อทำ ลายสงฆ์ เพื่อทำลายจักร แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ... ทรงสอบถามว่า ดูกรเทวทัต ข่าวว่า เธอพยายาม เพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลายจักร จริงหรือ พระเทวทัตทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อย่าเลย เทวทัต เธออย่าชอบใจการทำลายสงฆ์ เพราะการทำลายสงฆ์มีโทษหนักนัก ผู้ใดทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันย่อมประสพ- *โทษตั้งกัป ย่อมไหม้ในนรกตลอดกัป ส่วนผู้ใดสมานสงฆ์ผู้แตกกันแล้วให้พร้อม เพรียงกัน ย่อมประสพบุญอันประเสริฐ ย่อมบันเทิงในสวรรค์ตลอดกัป อย่า เลย เทวทัต เธออย่าชอบใจการทำลายสงฆ์เลย เพราะการทำลายสงฆ์มีโทษ หนักนัก ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๖๐.

[๓๘๗] ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า ท่านพระอานนท์นุ่งอันตรวาสก ถือบาตร จีวร เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ พระเทวทัตได้พบท่านพระอานนท์กำลังเที่ยว- *บิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ จึงเข้าไปหาท่านพระอานนท์ แล้วได้กล่าวว่า ท่าน อานนท์ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ผมจักทำอุโบสถ จักทำสังฆกรรม แยกจากพระผู้มี พระภาค แยกจากภิกษุสงฆ์ ครั้นท่านพระอานนท์เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ แล้ว เวลาปัจฉาภัตร กลับจากบิณฑบาตเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคม นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อนั่งเรียบร้อยแล้วจึงกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า เมื่อเช้านี้ ข้าพระพุทธเจ้านุ่งอันตรวาสก ถือบาตร และจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ พระเทวทัตพบข้าพระพุทธเจ้ากำลังเที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ แล้วเข้ามาหา ข้าพระพุทธเจ้า ครั้นแล้วกล่าวว่า ท่านอานนท์ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ผมจักทำ อุโบสถ จักทำสังฆกรรม แยกจากพระผู้มีพระภาค แยกจากภิกษุสงฆ์ วันนี้ พระเทวทัตจักทำลายสงฆ์ พระพุทธเจ้าข้า ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเรื่องนั้นแล้ว ทรงเปล่งอุทานในเวลา นั้น ว่าดังนี้:- [๓๘๘] ความดี คนดีทำง่าย ความดี คนชั่วทำยาก ความชั่ว คนชั่วทำง่าย แต่อารยชน ทำความชั่วได้ยาก ฯ
ทุติยภาณวาร จบ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ บรรทัดที่ ๓๗๗๐-๓๘๖๓ หน้าที่ ๑๕๖-๑๖๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=7&A=3770&Z=3863&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=7&A=3770&w=โกก๏ฟฝ๏ฟฝิก๏ฟฝ&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=7&siri=52              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=383              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=7&A=3835              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=7&A=3835              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_7              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd17/en/brahmali#pli-tv-kd17:3.13.5.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd17/en/horner-brahmali#Kd.17.3.13

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]