ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒
เรื่องนางวิสาขา มิคารมารดา
[๑๒๖] ครั้นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภัคคะชนบท ตามพระพุทธา- *ภิรมย์ แล้วเสด็จจาริกทางพระนครสาวัตถี เสด็จจาริกโดยลำดับถึงพระนครสาวัตถี แล้ว ทราบว่าพระองค์ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก คหบดี เขตพระนครสาวัตถีนั้น ครั้งนั้น นางวิสาขามิคารมารดา ถือหม้อน้ำ ปุ่มไม้สำหรับเช็ดเท้า และไม้กวาด เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ขอพระองค์จงทรงรับหม้อน้ำ ปุ่มไม้สำหรับเช็ดเท้า และไม้กวาดของหม่อมฉัน เพื่อประโยชน์เพื่อความสุขแก่ หม่อมฉัน สิ้นกาลนาน พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคทรงรับหม้อน้ำ และไม้กวาด มิได้ทรงรับปุ่มไม้สำหรับเช็ดเท้า ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้นางวิสาขามิคาร- *มารดาเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถา นางได้ลุกจากที่นั่ง ถวายบังคม ทำประทักษิณแล้วกลับไป ฯ [๑๒๗] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๑.

ทั้งหลาย เราอนุญาตหม้อน้ำ และไม้กวาด ภิกษุไม่พึงใช้ปุ่มไม้สำหรับเช็ดเท้า รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตที่เช็ดเท้า ๓ ชนิด คือ หินกรวด ๑ กระเบื้อง ๑ หินฟองน้ำในทะเล ๑ ฯ [๑๒๘] ต่อจากนั้นมา นางวิสาขามิคารมารดา ถือพัดโบกและพัดใบตาล เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูล ว่า ขอพระองค์จงทรงรับพัดโบก และพัดใบตาลของหม่อมฉัน เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่หม่อมฉันตลอดกาลนาน พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคทรงรับพัด โบกและพัดใบตาลแล้ว ได้ทรงชี้แจงให้นางวิสาขามิคารมารดาเห็นแจ้ง ... ด้วย ธรรมีกถา นางวิสาขา ... ทำประทักษิณแล้วกลับไป ฯ
เรื่องพัด
[๑๒๙] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาตพัดโบก และพัดใบตาล ฯ [๑๓๐] สมัยนั้นไม้ปัดยุงเกิดแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคๆ ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไม้ปัดยุง แส้จามรี บังเกิด ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคๆ ตรัสว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้แส้จามรี รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตพัด ๓ ชนิด คือ พัดทำด้วยปอ ๑ พัด ทำด้วยแฝก ๑ พัดทำด้วยขนปีกขนหางนกยูง ๑ ฯ
เรื่องร่ม
[๑๓๑] สมัยนั้น ร่มบังเกิดแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคๆ ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตร่ม ฯ [๑๓๒] สมัยนั้น พระฉัพพัคคีย์เดินกั้นร่มเที่ยวไป ครั้งนั้น อุบาสก ผู้หนึ่งได้ไปเที่ยวสวนกับสาวกของอาชีวกหลายคน พวกสาวกของอาชีวกเหล่านั้น

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๒.

ได้เห็นพระฉัพพัคคีย์เดินกั้นร่มมาแต่ไกล ครั้นแล้วได้กล่าวกะอุบาสกผู้นั้นว่า พระคุณเจ้าเหล่านี้ เป็นผู้เจริญของพวกท่าน เดินกั้นร่มมาคล้ายมหาอำมาตย์ โหราจารย์ อุบาสกผู้นั้นกล่าวว่า นั่นมิใช่ภิกษุ เป็นปริพาชก ขอรับ พวกเขา แคลงใจว่า ภิกษุหรือมิใช่ภิกษุ ครั้นอุบาสกเข้าไปใกล้ ก็จำได้ จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระคุณเจ้าทั้งหลายจึงเดินกั้นร่ม ภิกษุทั้งหลายได้ ยินอุบาสกนั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี พระภาคๆ ตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ... จริงหรือ ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียน ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะ ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงกั้นร่ม รูปใดกั้น ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ [๑๓๓] สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ เธอเว้นร่มแล้วไม่สบาย ภิกษุ ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคๆ ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรา อนุญาตร่มแก่ภิกษุอาพาธ ฯ [๑๓๔] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาต ร่มแก่ภิกษุอาพาธเท่านั้น ไม่ได้ทรงอนุญาตแก่ภิกษุไม่อาพาธ จึงรังเกียจที่จะกั้น ร่มในวัดและอุปจารของวัด ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ... ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุแม้ไม่ อาพาธกั้นร่มในวัด หรือในอุปจารของวัดได้ ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ บรรทัดที่ ๙๖๗-๑๐๒๓ หน้าที่ ๔๐-๔๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=7&A=967&Z=1023&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=7&A=967&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=7&siri=13              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=-126              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=7&A=988              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=7&A=988              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_7              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd15/en/brahmali#pli-tv-kd15:22.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd15/en/horner-brahmali#Kd.15.22

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]