ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๑

หน้าที่ ๑๓๕-๑๓๖.


                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

                                                                 ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ ปฐมบัญญัตินิทาน

มิคลัณฑิกะรับจ้างเอาบาตรและจีวรจึงฆ่าภิกษุมากมาย ถือดาบเปื้อนเลือดเดินไปถึง แม่น้ำวัคคุมุทา [๑๖๓] เมื่อตาเถนมิลัณฑิกะกำลังล้างดาบเปื้อนเลือดอยู่ ได้มีความกังวลใจ เดือดร้อนใจว่า ไม่ใช่ลาภของเราหนอ เราไม่มีลาภหนอ เราได้ชั่วแล้วหนอ เราได้ไม่ ดีหนอ เราได้สร้างบาปไว้มากที่ได้ฆ่าภิกษุผู้มีศีลมีกัลยาณธรรม ขณะนั้นเทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารตนหนึ่ง เดินมาบนผิวน้ำไม่แตกกระเซ็น กล่าวว่า “ดีแล้วๆ ท่านสัตบุรุษ เป็นลาภเป็นโชคของท่าน ท่านได้สั่งสมบุญไว้มาก ที่ได้ช่วยส่งคนที่ยังไม่พ้นทุกข์ให้ข้ามพ้นทุกข์ได้” ครั้นตาเถนมิคลัณฑิกะได้ทราบว่า เป็นลาภเป็นโชคของเรา เราได้สั่งสมบุญ ไว้มากที่ได้ช่วยส่งคนที่ยังไม่พ้นทุกข์ให้ข้ามพ้นทุกข์ได้ จึงถือดาบคมกริบเข้าไป บริเวณวิหารกล่าวว่า “ใครที่ยังไม่พ้นทุกข์ ข้าพเจ้าจะช่วยให้ใครพ้นทุกข์ได้บ้าง” ในภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุผู้ยังมีราคะ เกิดความหวาดกลัวขนพองสยองเกล้า ส่วนพวกภิกษุผู้ที่ไม่มีราคะ ย่อมไม่หวาดกลัว ไม่ขนพองสยองเกล้า เวลานั้น เขาฆ่าภิกษุวันละ ๑ รูปบ้าง ๒ รูปบ้าง ๓ รูปบ้าง ๔ รูปบ้าง ๕ รูปบ้าง ๖ รูปบ้าง ๗ รูปบ้าง ๘ รูปบ้าง ๙ รูปบ้าง ๑๐ รูปบ้าง ๒๐ รูปบ้าง ๓๐ รูปบ้าง ๔๐ รูปบ้าง ๕๐ รูปบ้าง ๖๐ รูปบ้าง
รับสั่งให้เผดียงสงฆ์
[๑๖๔] เมื่อครึ่งเดือนผ่านไป พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น ตรัส เรียกท่านพระอานนท์มาตรัสถามว่า “อานนท์ ทำไม ภิกษุสงฆ์จึงดูเหมือนจะน้อยลง” ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “จริงพระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสสอน อสุภกัมมัฏฐาน ทรงพรรณนาคุณอสุภกัมมัฏฐาน ตรัสสรรเสริญการเจริญ อสุภกัมมัฏฐาน ตรัสพรรณนาคุณอสุภสมาบัติเนืองๆ แก่ภิกษุทั้งหลายโดยประการ ต่างๆ และภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า ‘พระผู้มีพระภาคตรัสสอนอสุภกัมมัฏฐาน ทรง พรรณนาคุณอสุภกัมมัฏฐาน ตรัสสรรเสริญการเจริญอสุภกัมมัฏฐาน ตรัสพรรณนา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๓๕}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

                                                                 ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ ปฐมบัญญัตินิทาน

อสุภสมาบัติเนืองๆ โดยประการต่างๆ’ จึงพากันประกอบความเพียรในการเจริญ อสุภกัมมัฏฐานหลายประการ กระทั่งเกิดความรู้สึกอึดอัด เบื่อหน่าย รังเกียจร่าง กายของตน เหมือนชายหรือหญิงที่เป็นหนุ่มเป็นสาวชอบแต่งตัวอาบน้ำสระเกล้า มี ซากศพงู ซากศพสุนัขหรือซากศพมนุษย์ มาติดอยู่ที่คอ เกิดความรู้สึกอึดอัด เบื่อ หน่าย รังเกียจ ภิกษุเหล่านั้นจึงฆ่าตัวตายเองบ้าง ใช้กันและกันให้ฆ่าบ้าง ภิกษุบาง กลุ่มพากันไปหาตาเถนมิคลัณฑิกะบอกว่า ‘ขอโอกาสหน่อยเถิด ท่านช่วยฆ่าพวก อาตมาทีเถิด บาตรและจีวรนี้จักเป็นของท่าน’ ตาเถนมิคลัณฑิกะ รับจ้างเอาบาตร และจีวร จึงฆ่าภิกษุวันละ ๑ รูปบ้าง ฯลฯ วันละ ๖๐ รูปบ้าง ขอประทานพระ วโรกาส ขอพระองค์โปรดตรัสบอกวิธีอื่นที่ภิกษุสงฆ์จะพึงดำรงอยู่ในอรหัตตผลเถิด พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ถ้าเช่นนั้นเธอจงเผดียงภิกษุเท่าที่อาศัย กรุงเวสาลีอยู่ทั้งหมดให้ประชุมกันที่โรงอาหาร” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระพุทธดำรัส แล้วเผดียง๑- ภิกษุสงฆ์ที่อาศัย กรุงเวสาลีอยู่ทั้งหมดให้ประชุมที่โรงอาหาร แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับครั้นถึงแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุสงฆ์ ประชุมพร้อมกันแล้ว ขอพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดทราบเวลาอันสมควรในบัดนี้”
ทรงแสดงอานาปานสติสมาธิกถา
[๑๖๕] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จไปที่โรงอาหาร ประทับนั่งบนพุทธ อาสน์ที่จัดถวาย ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ สมาธิแม้นี้ที่เจริญแล้วทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นสภาพสงบประณีต สดชื่น เป็นธรรม เครื่องอยู่เป็นสุข และทำอกุศลธรรมชั่วร้ายที่เกิดขึ้นแล้วๆ ให้อันตรธานไป สงบไป โดยเร็ว เปรียบเหมือนฝุ่นละอองที่ฟุ้งขึ้นท้ายฤดูร้อน ถูกฝนใหญ่นอกฤดูกาลให้ @เชิงอรรถ : @ “เผดียง” คือบอกให้รู้ นิยมใช้ในพิธีกรรมของสงฆ์ เวลาภิกษุสงฆ์จะทำสังฆกรรม ก่อนจะเริ่มทำสังฆกรรม @จะมีการเผดียงสงฆ์ คือบอกให้สงฆ์รู้ว่าจะทำอะไร อย่างไร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๓๖}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๑๓๕-๑๓๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=1&page=135&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=1&A=3817 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=1&A=3817#p135 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 1 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_1 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu1 https://84000.org/tipitaka/english/?index_1



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๓๕-๑๓๖.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]