ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๑

หน้าที่ ๑๓๙.


                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

                                                                 ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ พระบัญญัติ

ทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย การกระทำของภิกษุเหล่านั้น ไม่สมควร ไม่คล้อยตาม ไม่เหมาะสม ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช่ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนภิกษุเหล่านั้น จึงฆ่าตัวตาย เองบ้าง ใช้กันและให้ฆ่าบ้าง บางกลุ่มพากันเข้าไปหาตาเถนมิคลัณฑิกะ บอกว่า ‘ขอโอกาสหน่อยเถิด ท่านช่วยฆ่าพวกอาตมาทีเถิด บาตรและจีวรนี้จักเป็นของท่าน’ บ้างเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๑๖๗] ก็ ภิกษุใดจงใจพรากกายมนุษย์จากชีวิต หรือแสวงหาศัสตรา อันจะพรากกายมนุษย์นั้น แม้ภิกษุนี้ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้ สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องหมู่ภิกษุผู้เจริญอสุภกัมมัฏฐานกับตาเถนมิคลัณฑิกะ จบ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๑๖๘] สมัยนั้น อุบาสกคนหนึ่งล้มป่วย เขามีภรรยารูปงาม น่าดู น่าชม พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ชอบภรรยาของเขาจึงปรึกษาว่า “ถ้าอุบาสกยังมีชีวิต พวกเราจัก ไม่ได้นาง มาช่วยกันกล่าวพรรณนาคุณความตายให้เขาฟังเถิด” จึงเข้าไปหาอุบาสกกล่าว ว่า “อุบาสก ท่านทำคุณงามความดี ทำที่ต้านทานความขลาดกลัวไว้แล้ว ไม่ได้ทำ ชั่ว ไม่ได้ทำบาปหยาบช้าทารุณอะไรไว้ ท่านสร้างแต่คุณงามความดี ไม่สร้างกรรมชั่ว เลย จะมีชีวิตอยู่อย่างลำบากยากเข็ญไปทำไม ท่านตายเสียดีกว่า หลังจากตายแล้ว จักไปบังเกิดในสุคติ โลกสวรรค์ จักเอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ อันเป็นทิพย์” [๑๖๙] อุบาสกเห็นจริงว่า “ท่านกล่าวจริง เพราะเราทำคุณงามความดี ทำ ที่ต้านทานความขลาดกลัวไว้แล้ว ไม่ได้ทำชั่ว ไม่ได้ทำบาปหยาบช้าทารุณอะไรไว้ เราสร้างแต่คุณงามความดี ไม่สร้างกรรมชั่วเลย จะมีชีวิตอยู่อย่างลำบากยากเข็ญไป ทำไม เราตายเสียดีกว่า หลังจากตายแล้ว จักไปบังเกิดในสุคติ โลกสวรรค์ จักเอิบ อิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ อันเป็นทิพย์” จึงรับประทานอาหารแสลง กินของแสลง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๓๙}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๑๓๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=1&page=139&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=1&A=3932 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=1&A=3932#p139 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 1 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_1 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu1 https://84000.org/tipitaka/english/?index_1



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๓๙.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]