ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๑

หน้าที่ ๒-๘.


                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เวรัญชกัณฑ์

พระองค์ทรงรู้แจ้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ด้วยพระองค์เองแล้ว จึงทรงประกาศให้ผู้ อื่นรู้ตาม ทรงแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลางและมีความ งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ ครบถ้วน การได้พบพระอรหันต์ทั้งหลายเช่นนี้ เป็นความดีอย่างแท้จริง
เวรัญชพราหมณ์กล่าวตำหนิพระผู้มีพระภาค
[๒] ๑- ต่อมา เวรัญชพราหมณ์เดินทางไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันและกัน @เชิงอรรถ : @(= จุตูปปาตญาณ) (๘) อาสวักขยญาณ ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ จรณะ ๑๕ คือ (๑) สีลสัมปทา ความถึง @พร้อมด้วยศีล (๒) อินทรียสังวร การสำรวมอินทรีย์ (๓) โภชเนมัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการ @บริโภค (๔) ชาคริยานุโยค การหมั่นประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่น (๕) มีศรัทธา (๖) มีหิริ (๗) มี @โอตตัปปะ (๘) เป็นพหูสูต (๙) วิริยารัมภะ ปรารภความเพียร (๑๐) มีสติมั่นคง (๑๑) มีปัญญา (๑๒) ปฐมฌาน @(๑๓) ทุติยฌาน (๑๔) ตติยฌาน (๑๕) จตุตถฌาน @๔. ชื่อว่า เสด็จไปดี เพราะมีการเสด็จไปงาม เพราะเสด็จไปสู่ฐานะที่ดี เพราะเสด็จไปโดยชอบ และ @เพราะตรัสไว้โดยชอบ @๕. ชื่อว่า รู้แจ้งโลก เพราะทรงรู้แจ้งโลก เหตุเกิดโลก ความดับโลก วิธีปฏิบัติให้ลุถึงความดับโลก (ทุกข์ @สมุทัย นิโรธ มรรค) และทรงรู้แจ้งโลกทั้ง ๓ คือ สังขารโลก สัตวโลก โอกาสโลก @๖. ชื่อว่า เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เพราะทรงฝึกฝนคนที่ควรฝึกฝน ทั้งเทวดา มนุษย์ @อมนุษย์ สัตว์ดิรัจฉาน ด้วยอุบายต่างๆ @๗. ชื่อว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เพราะทรงสั่งสอนเทวดาและมนุษย์ด้วยประโยชน์ @ในโลกนี้ ประโยชน์ในโลกหน้า และประโยชน์อย่างยิ่งคือพระนิพพาน ตามสมควรแก่ประโยชน์ที่เทวดาและ @มนุษย์จะพึงได้รับ และเพราะทรงช่วยพาหมู่สัตว์ให้พ้นความกันดารคือความเกิด ดุจสัตถวาหะคือหัวหน้า @กองเกวียนพาบริวารข้ามทางกันดาร @๘. ชื่อว่า เป็นพระพุทธเจ้า เพราะทรงรู้สิ่งที่ควรรู้ทั้งหมดด้วยพระองค์เองและทรงสอนให้ผู้อื่นรู้ตาม @๙. ชื่อว่า เป็นพระผู้มีพระภาค เพราะ (๑) ทรงมีโชค (๒) ทรงทำลายข้าศึกคือกิเลส (๓) ทรงประกอบ @ด้วยภคธรรม ๖ ประการ (คือ ความเป็นใหญ่เหนือจิตของตน, โลกุตตรธรรม, ยศ, สิริ, ความสำเร็จ @ประโยชน์ตามต้องการ และความเพียร) (๔) ทรงจำแนกแจกแจงธรรม (๕) ทรงเสพอริยธรรม (๖) ทรงคาย @ตัณหาในภพทั้งสาม (๗) ทรงเป็นที่เคารพของชาวโลก (๘) ทรงอบรมพระองค์ดีแล้ว (๙) ทรงมีส่วนแห่งปัจจัย @๔ เป็นต้น (ตามนัย วิ.อ. ๑/๑/๑๐๓-๑๑๘, สารตฺถ.ฏีกา. ๑/๒๗๐-๔๐๐) @อนึ่ง พุทธคุณนี้ ท่านแบ่งเป็น ๑๐ ประการ โดยแยกพุทธคุณข้อ ๖ เป็น ๒ ประการ คือ (๑) เป็นผู้ยอดเยี่ยม @(๒) เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้ (วิสุทฺธิ. ๑/๒๖๕, วิ.อ. ๑/๑/๑๑๒-๑๑๓) @ องฺ.อฏฺฐก. ๒๓/๑๑/๑๔๓-๑๔๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๒}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เวรัญชกัณฑ์

แล้วนั่ง ณ ที่สมควร กราบทูลว่า “ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าได้ทราบมาว่า พระ สมณโคดมไม่ยอมไหว้ ไม่ลุกรับพวกพราหมณ์ผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ผู้ล่วงกาลผ่านวัย หรือไม่เชื้อเชิญให้นั่ง เรื่องที่ข้าพเจ้าได้ทราบมานั้นจริงทีเดียว การที่ท่านพระโคดม ทำเช่นนั้นไม่สมควรเลย” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ เรายังไม่เห็นใครไม่ว่าในโลกไหนๆ ในบริษัทไหนๆ ที่เราควรจะไหว้ ลุกรับหรือเชื้อเชิญให้นั่ง เพราะว่าตถาคตไหว้ ลุกรับ หรือเชื้อเชิญผู้ใดให้นั่ง ศีรษะของผู้นั้นจะต้องขาดตกไป” [๓] พราหมณ์กราบทูลต่อไปว่า “ท่านพระโคดม เป็นคนไม่มีรส๑-” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ ข้อที่เขากล่าวหาเรานั้นมีมูลอยู่ เพราะตถาคตละรส คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะได้หมดสิ้น ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ข้อที่เขากล่าวหาเรานั้นมีมูลอยู่ แต่ไม่ใช่ที่ท่านกล่าวถึง” [๔] พราหมณ์กราบทูลต่อไปว่า “ท่านพระโคดม เป็นคนไม่มีสมบัติ” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ ข้อที่เขากล่าวหาเรานั้นมีมูลอยู่ เพราะตถาคตละสมบัติคือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะได้หมดสิ้น ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ข้อที่เขากล่าวหาเรานั้นมีมูลอยู่ แต่ไม่ใช่ที่ท่านกล่าวถึง” [๕] พราหมณ์กราบทูลต่อไปว่า “ท่านพระโคดม สอนไม่ให้ทำ” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ ข้อที่เขากล่าวหาเรานั้นมีมูลอยู่ เพราะเราสอนไม่ให้ทำกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ตลอดถึงการไม่ให้ทำบาป อกุศลธรรมต่างๆ ข้อที่เขากล่าวหาเรานั้นมีมูลอยู่ แต่ไม่ใช่ที่ท่านกล่าวถึง” @เชิงอรรถ : @ ข้อที่พราหมณ์ตำหนิพระผู้มีพระภาคว่า เป็นคนไม่มีรส ในที่นี้ หมายถึงเป็นคนไม่มีสัมมาคารวะ @เช่น การกราบไหว้ การต้อนรับ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า พระองค์ละรสได้แล้ว หมายถึงพระองค์ละ @อัสสาทะ ความพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสได้แล้ว จึงเป็นคนไม่มีรส คือไม่ยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส @สัมผัส (วิ.อ. ๑/๓/๑๒๕-๑๒๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๓}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เวรัญชกัณฑ์

[๖] พราหมณ์กราบทูลต่อไปว่า “ท่านพระโคดม สอนให้ทำลาย” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ ข้อที่เขากล่าวหาเรานั้นมีมูลอยู่ เพราะเราสอนให้ทำลายราคะ โทสะ โมหะ ตลอดถึงให้ทำลายบาปอกุศลธรรมต่างๆ ข้อที่เขากล่าวหาเรานั้นมีมูลอยู่ แต่ไม่ใช่ที่ท่านกล่าวถึง” [๗] พราหมณ์กราบทูลต่อไปว่า “ท่านพระโคดม เป็นคนช่างรังเกียจ” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ ข้อที่เขากล่าวหาเรานั้นมีมูลอยู่ เพราะเราช่างรังเกียจกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต และบาปอกุศลธรรมต่างๆ ข้อ ที่เขากล่าวหาเรานั้นมีมูลอยู่ แต่ไม่ใช่ที่ท่านกล่าวถึง” [๘] พราหมณ์กราบทูลต่อไปว่า “ท่านพระโคดม เป็นคนช่างกำจัด” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ ข้อที่เขากล่าวหาเรานั้นมีมูลอยู่ เพราะเราแสดงธรรมเพื่อกำจัดราคะ โทสะ โมหะ และบาปอกุศลธรรมต่างๆ ข้อที่ เขากล่าวหาเรานั้นมีมูลอยู่ แต่ไม่ใช่ที่ท่านกล่าวถึง” [๙] พราหมณ์กราบทูลต่อไปว่า “ท่านพระโคดม เป็นคนช่างเผาผลาญ” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ ข้อที่เขากล่าวหาเรานั้นมีมูลอยู่ เพราะเรากล่าวถึงบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตว่า เป็นสิ่งที่ควรเผาผลาญ พราหมณ์ เราเรียกคนที่ละบาปอกุศลธรรมทั้งหลายที่ควร เผาผลาญ ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ว่า เป็นคนช่างเผาผลาญ ตถาคตละบาปอกุศลธรรมต่างๆ ที่ควรเผาผลาญได้หมดสิ้น ข้อที่เขากล่าวหาเรานั้นมีมูลอยู่ แต่ไม่ใช่ที่ท่านกล่าวถึง” [๑๐] พราหมณ์กราบทูลต่อไปว่า “ท่านพระโคดม เป็นคนไม่ผุดไม่เกิด” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ ข้อที่เขากล่าวหาเรานั้นมีมูลอยู่ เพราะเราเรียกคนที่ละการอยู่ในครรภ์และการเกิดใหม่ได้หมด ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ว่า เป็นคนไม่ผุดไม่เกิด ตถาคตละการอยู่ในครรภ์และการเกิดใหม่ได้หมดสิ้นแล้ว ข้อที่เขากล่าวหาเรานั้นมีมูลอยู่ แต่ไม่ใช่ที่ท่านกล่าวถึง” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๔}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เวรัญชกัณฑ์

ทรงอุปมาด้วยลูกไก่
[๑๑] “พราหมณ์ ไข่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง ที่แม่ไก่กกหรือฟัก ดีแล้ว ลูกไก่ตัวที่ใช้เล็บหรือจะงอยปากทำลายกระเปาะ๑- ไข่ออกมาได้ก่อน ควร เรียกมันว่า เป็นตัวพี่ หรือตัวน้อง” “ควรเรียกว่า พี่ เพราะมันแก่กว่าเขา” “เช่นเดียวกันนั่นแหละพราหมณ์ ในขณะที่หมู่สัตว์ ถูกกระเปาะไข่คืออวิชชา ห่อหุ้มอยู่ เราได้ทำลายกระเปาะไข่คืออวิชชา ผู้เดียวเท่านั้นสำเร็จอนุตตรสัมมา สัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม จึงเป็นพี่ใหญ่ผู้ประเสริฐที่สุดของโลก
ฌาน ๔
พราหมณ์ เราปรารภความเพียร ไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่หลงลืม มี กายสงบ ไม่กระสับกระส่าย มีจิตแน่วแน่เป็นสมาธิ
ปฐมฌาน
เราสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่
ทุติยฌาน
เพราะวิตก วิจารสงบระงับไปแล้ว เราบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสภายใน มี ภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น๒- ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิเท่านั้นอยู่
ตติยฌาน
เพราะปีติจางคลายไปแล้ว เรามีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนาม กาย ได้บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข @เชิงอรรถ : @ กระเปาะ คือ เปลือกไข่ส่วนที่มีสัณฐานนูนกลม คำว่า “กระเปาะ” คือ รูปนูนกลม สิ่งต่างๆ ที่มี @สัณฐานคล้ายคลึงเช่นนั้น เรียกว่า กระเปาะ เช่น กระเปาะไข่ กระเปาะดอกไม้ @ เจตโส เอโกทิภาวํ ภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น คำว่า “เอโกทิ” เป็นชื่อของสมาธิ ทุติยฌาน ชื่อว่า @เอโกทิภาวะ เพราะทำสมาธิที่ชื่อว่าเอโกทินี้ให้เกิดเจริญขึ้น พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุด @ขึ้น” เพราะสมาธิชื่อเอโกทินี้มีแก่จิตเท่านั้น ไม่มีแก่สัตว์ ไม่มีแก่ชีวะ (วิ.อ. ๑/๑๑/๑๔๓-๑๔๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๕}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เวรัญชกัณฑ์

จตุตถฌาน
เพราะละสุขและทุกข์ได้แล้ว เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว เราได้ บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่”
วิชชา ๓
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
[๑๒] “เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจาก ความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ เรานั้น ได้ น้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง ๓๐ ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง ๑๐,๐๐๐ ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง หลาย กัปว่า ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมี อายุอย่างนั้นๆ จุติจากภพนั้นก็ไปเกิดในภพโน้น มีชื่อ มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้นๆ จุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้ เราระลึกชาติ ก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไป และชีวประวัติอย่างนี้ พราหมณ์ เราได้บรรลุวิชชาที่ ๑ ในยามแรกแห่งราตรี ความมืดมิดคือ อวิชชา เรากำจัดได้แล้ว แสงสว่างคือวิชชาได้เกิดขึ้นแก่เรา เปรียบเหมือนแสงสว่าง เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจ พราหมณ์ นี้คือการเจาะกระเปาะไข่คืออวิชชาออกมาครั้งที่ ๑ ของเรา เหมือนการเจาะออกจากกระเปาะไข่ของลูกไก่”
จุตูปปาตญาณ
[๑๓] “เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจาก ความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวอย่างนี้ เรานั้นได้น้อม จิตไปเพื่อจุตูปปาตญาณ เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุบัติ ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งาม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๖}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เวรัญชกัณฑ์

และไม่งาม เกิดดีและไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ เรารู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้ เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นผิด และชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นผิด พวกเขาหลังจากตาย แล้วจะไปบังเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แต่หมู่สัตว์ที่ประกอบกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นชอบ ชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตาม ความเห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้ว จะไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์ พราหมณ์ เราได้บรรลุวิชชาที่ ๒ ในยามที่ ๒ แห่งราตรี ความมืดมิดคือ อวิชชา เรากำจัดได้แล้ว แสงสว่างคือวิชชาได้เกิดขึ้นแก่เรา เปรียบเหมือนแสงสว่าง เกิดแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจ พราหมณ์ นี้คือการเจาะกระเปาะไข่คืออวิชชาออกมาครั้งที่ ๒ ของเรา เหมือนการเจาะออกจากกระเปาะไข่ของลูกไก่”
อาสวักขยญาณ
[๑๔] “เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจาก ความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ เรานั้นได้ น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ได้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้ อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อเรารู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตได้หลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว๑- ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป พราหมณ์ เราได้บรรลุวิชชาที่ ๓ ในยามที่ ๓ แห่งราตรี ความมืดมิดคือ อวิชชาเรากำจัดได้แล้ว แสงสว่างคือวิชชาได้เกิดขึ้นแก่เรา เปรียบเหมือนแสงสว่าง เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจ @เชิงอรรถ : @ คำว่า “พรหมจรรย์” ในที่นี้หมายเอาอริยมรรค คือ พระอรหันต์อยู่ประพฤติอริยมรรคจบแล้ว ส่วน @กัลยาณปุถุชนและพระเสขะ ๗ พวก ยังต้องอยู่ประพฤติมรรคพรหมจรรย์ต่อไป (วิ.อ. ๑/๑๔/๑๖๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๗}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เวรัญชกัณฑ์

พราหมณ์ นี้คือการเจาะกระเปาะไข่คืออวิชชาออกมาครั้งที่ ๓ ของเรา เหมือนการเจาะออกจากกระเปาะไข่ของลูกไก่”
เวรัญชพราหมณ์แสดงตนเป็นอุบาสก
[๑๕] เมื่อตรัสอย่างนี้ เวรัญชพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ท่านพระโคดมเป็นพี่ใหญ่ ผู้ประเสริฐที่สุด ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์ ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระองค์ ทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้ง โดยประการต่างๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยตั้งใจว่า คนมี ตาดีจักเห็นรูป ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดมพร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็น สรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้ เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต และขอท่านพระโคดมพร้อมกับภิกษุสงฆ์ทรงรับคำนิมนต์ ของข้าพระองค์ อยู่จำพรรษาที่เมืองเวรัญชาด้วยเถิด” พระผู้มีพระภาคทรงรับคำนิมนต์โดยดุษณีภาพ ครั้นเวรัญชพราหมณ์ทราบ ว่าพระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์แล้วจึงลุกขึ้นจากอาสนะถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วจากไป๑-
เมืองเวรัญชาเกิดข้าวยากหมากแพง
[๑๖] สมัยนั้น เมืองเวรัญชาเกิดข้าวยากหมากแพง ประชาชนมีความเป็น อยู่แร้นแค้น ใช้สลากปันส่วนซื้ออาหาร ล้มตายกันกระดูกขาวเกลื่อน ยากที่พระ อริยะจะบิณฑบาตยังชีพได้ @เชิงอรรถ : @ กระทำประทักษิณ คือ เดินเวียนขวา พราหมณ์เดินประนมมือเวียนไปทางขวาตามเข็มนาฬิกา ๓ รอบ @โดยมีพระผู้มีพระภาคอยู่ทางขวา เสร็จแล้วหันหน้าไปทางพระผู้มีพระภาค เดินถอยหลังจนสุดสายตา คือ @จนมองไม่เห็นพระผู้มีพระภาค คุกเข่าลงกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์แล้วเดินจากไป (วิ.อ. ๑/๑๕/๑๗๖-๑๗๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๘}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๒-๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=1&page=2&pages=7&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=1&A=28 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=1&A=28#p2 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 1 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_1 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu1 https://84000.org/tipitaka/english/?index_1



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒-๘.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]