ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๑

หน้าที่ ๒๒๐-๒๒๒.


                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

                                                                 ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ

ให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร “ข้าพระพุทธเจ้าไม่มีความ ประสงค์จะกล่าวอวด พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่มีความประสงค์จะกล่าวอวด ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๓๓)
เรื่องความยินดี ๑ เรื่อง
สมัยนั้น พวกญาติถามภิกษุรูปหนึ่งว่า “ท่านยังยินดีอยู่หรือ” ภิกษุนั้น ตอบว่า “อาตมายังยินดีอยู่ด้วยความยินดีเป็นอย่างยิ่ง”๑- ท่านเกิดความกังวลใจว่า เฉพาะพระสาวกของพระผู้มีพระภาคเท่านั้นที่ควรกล่าวอย่างนั้น แต่เราไม่ได้เป็น พระสาวกของพระผู้มีพระภาค เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบ ทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร “ข้า พระพุทธเจ้าไม่มีความประสงค์จะกล่าวอวด พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่มีความ ประสงค์จะกล่าวอวด ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๓๔)
เรื่องหลีกไป ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุจำนวนมากจำพรรษาในอาวาสแห่งหนึ่ง ตั้งกติกากันว่า “ขอ ให้พวกเรารู้กัน ภิกษุรูปใดหลีกไปจากอาวาสนี้ก่อน ภิกษุรูปนั้นเป็นพระอรหันต์” ภิกษุรูปหนึ่งหลีกจากอาวาสนั้นไปก่อนด้วยต้องการให้ผู้อื่นรู้ว่าตนเป็นพระอรหันต์ ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๓๕)
เรื่องอัฏฐิกสังขลิกเปรต ๑ เรื่อง
(เปรตมีแต่ร่างกระดูก)
[๒๒๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อ กระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับท่านพระมหาโมคคัลลานะพัก @เชิงอรรถ : @ ท่านยินดีในอุทเทสและปริปุจฉา (วิ.อ. ๑/๒๒๗/๕๔๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๒๒๐}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

                                                                 ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ

อยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ ครั้นเวลาเช้า พระมหาโมคคัลลานะครองอันตรวาสก ถือบาตร และจีวรเข้าไปหาพระลักขณะจนถึงที่อยู่ เชิญชวนว่า “ท่านลักขณะมาเถิด พวกเรา จะไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ด้วยกัน” พระลักขณะรับคำแล้ว ขณะที่พระมหาโมคคัลลานะกำลังลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้ แสดงอาการแย้ม พระลักขณะถามว่า “ท่านโมคคัลลานะ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ ท่านแสดงอาการแย้ม” พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่านลักขณะ ยังไม่ถึงเวลาตอบปัญหานี้ เมื่อ เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ค่อยถามปัญหานี้เถิด” ครั้นท่านทั้ง ๒ เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ กลับจากบิณฑบาตหลังจาก ฉันอาหาร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งลง ณ ที่สมควร ครั้นแล้วพระลักขณะได้กล่าวขึ้นว่า “ท่านมหาโมคคัลลานะ เมื่อท่านลงจากภูเขา คิชฌกูฏ ในกรุงราชคฤห์นี้ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้แสดงอาการแย้ม อะไรเป็นเหตุเป็น ปัจจัยให้ท่านแสดงอาการแย้ม” พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏได้เห็น อัฏฐิสังขลิกเปรต ลอยขึ้นสู่กลางอากาศ ฝูงแร้ง นกกา นกเหยี่ยวพากันโฉบอยู่ขวักไขว่ จิกทึ้งยื้อแย่งเนื้อที่ติดอยู่ตามระหว่างซี่โครงสะบัดไปมาจนมันร้องครวญคราง กระ ผมมีความรู้สึกว่า น่าอัศจรรย์จริงไม่เคยปรากฏ ที่มีสัตว์เช่นนี้ มียักษ์เช่นนี้ มีเปรต เช่นนี้ มีการได้อัตภาพเช่นนี้อยู่” ภิกษุทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทนาว่า “พระมหาโมคคัลลานะ กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย สาวกทั้งหลายที่มีจักษุญาณก็ยังมีอยู่ เพราะสาวกที่รู้ที่เห็นนี้เป็นพยานได้ เมื่อก่อน เราก็เห็นอัฏฐิสังขลิกเปรตนั้นแต่ไม่พยากรณ์๑- เพราะการพยากรณ์นั้นจะไม่เป็น @เชิงอรรถ : @ พยากรณ์ หมายถึง เปิดเผยสู่สาธารณชน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๒๒๑}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

                                                                 ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ

ประโยชน์เกื้อกูลซ้ำจะเป็นทุกข์ยาวนาน แก่ผู้ที่ไม่เชื่อเรา ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้น เคยเป็นคนฆ่าโคในกรุงราชคฤห์ เพราะผลกรรมนั้น จึงตกนรกหมกไหม้อยู่หลาย ร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปีแล้วได้มีอัตภาพเช่นนี้ เพราะเศษกรรมที่ยังเหลือ โมคคัลลานะกล่าวจริงจึงไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๓๖)
เรื่องมังสเปสิเปรต ๑ เรื่อง
(เปรตมีแต่ร่างชิ้นเนื้อ)
[๒๒๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อ กระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับพระมหาโมคคัลลานะพักอยู่ที่ เขาคิชฌกูฏ ครั้นเวลาเช้า พระมหาโมคคัลลานะครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร เข้าไปหาพระลักขณะจนถึงที่อยู่ เชิญชวนว่า “ท่านลักขณะ มาเถิด พวกเราจะไป บิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ด้วยกัน” พระลักขณะรับคำแล้ว ขณะที่พระมหาโมคคัลลานะกำลังลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้ แสดงอาการแย้ม พระลักขณะถามว่า “ท่านโมคคัลลานะ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ ท่านแสดงอาการแย้ม” พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่านลักขณะ ยังไม่ถึงเวลา ตอบปัญหานี้ เมื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคค่อยถามปัญหานี้เถิด” ครั้นท่านทั้ง ๒ เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ กลับจากบิณฑบาต หลังจาก ฉันอาหาร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งลง ณ ที่สมควร ครั้นแล้วพระลักขณะได้กล่าวขึ้นว่า “ท่านมหาโมคคัลลานะ เมื่อท่านลงจากภูเขา คิชฌกูฏ ในกรุงราชคฤห์นี้ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้แสดงอาการแย้ม อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้ท่านแสดงอาการแย้ม” พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็น มังสเปสิเปรต ลอยขึ้นสู่กลางอากาศ ฝูงแร้ง นกกา นกเหยี่ยวพากันโฉบอยู่ขวักไขว่ จิกทึ้งยื้อแย่งเปรตนั้นสะบัดไปมาจนมันร้องครวญคราง กระผมมีความรู้สึกว่า น่า อัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ที่มีสัตว์เช่นนี้ มียักษ์เช่นนี้ มีเปรตเช่นนี้ มีการได้ อัตภาพเช่นนี้อยู่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๒๒๒}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๒๒๐-๒๒๒. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=1&page=220&pages=3&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=1&A=6242 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=1&A=6242#p220 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 1 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_1 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu1 https://84000.org/tipitaka/english/?index_1



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๒๐-๒๒๒.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]