ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย มหาวรรค

หน้าที่ ๒๖๔-๒๖๕.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๗. มหาสมยสูตร]

                                                                 การประชุมของเทวดา

[๓๓๖] ท้าวธตรฐปกครองทิศตะวันออก เป็นหัวหน้าของพวกคนธรรพ์ เป็นมหาราชผู้มียศ แม้บุตรของเธอมีจำนวนมาก ต่างมีพลังมาก(และ)มีชื่อว่าอินทะ มีฤทธิ์ มีความรุ่งเรือง มีผิวพรรณงดงาม มียศ ต่างยินดีมุ่งมายังป่าที่ประชุมของภิกษุทั้งหลาย ท้าววิรุฬหกปกครองทิศใต้ เป็นหัวหน้าของพวกกุมภัณฑ์ เป็นมหาราชผู้มียศ แม้บุตรของเธอมีจำนวนมาก ต่างมีพลังมาก(และ)มีชื่อว่าอินทะ มีฤทธิ์ มีความรุ่งเรือง มีผิวพรรณงดงาม มียศ ต่างยินดีมุ่งมายังป่าที่ประชุมของภิกษุทั้งหลาย ท้าววิรูปักษ์ปกครองทิศตะวันตก เป็นหัวหน้าของพวกนาค เป็นมหาราชผู้มียศ แม้บุตรของเธอมีจำนวนมาก ต่างมีพลังมาก(และ)มีชื่อว่าอินทะ มีฤทธิ์ มีความรุ่งเรือง มีผิวพรรณงดงาม มียศ ต่างยินดีมุ่งมายังป่าที่ประชุมของภิกษุทั้งหลาย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๖๔}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๗. มหาสมยสูตร]

                                                                 การประชุมของเทวดา

ท้าวกุเวรปกครองทิศเหนือ เป็นหัวหน้าของพวกยักษ์ เป็นมหาราชผู้มียศ แม้บุตรของเธอมีจำนวนมาก ต่างมีพลังมาก (และ)มีชื่อว่าอินทะ มีฤทธิ์ มีความรุ่งเรือง มีผิวพรรณงดงาม มียศ ต่างยินดีมุ่งมายังป่าที่ประชุมของภิกษุทั้งหลาย ท้าวธตรฐอยู่ทางทิศตะวันออก ท้าววิรุฬหกอยู่ทางทิศใต้ ท้าววิรูปักษ์อยู่ทางทิศตะวันตก ท้าวกุเวรอยู่ทางทิศเหนือ ท้าวจาตุมหาราชนั้น มีแสงสว่างส่องไปโดยรอบทั่วทั้ง ๔ ทิศ สถิตอยู่ในป่า เขตกรุงกบิลพัสดุ์ [๓๓๗] พวกผู้รับใช้ของท้าวจาตุมหาราชเหล่านั้น เป็นพวกมีมายา หลอกลวง โอ้อวดก็มาด้วย พวกผู้รับใช้ที่มีมายา คือ กุเฏณฑุ เวเฏณฑุ วิฏู วิฏุฏะ จันทนะ กามเสฏฐะ กินนุฆัณฑุ และ นิฆัณฑุก็มาด้วย ปนาทะ โอปมัญญะ มาตลิผู้เป็นเทพสารถี จิตตเสนะ๑- นโฬราชะ ชโนสภะ ปัญจสิขะ @เชิงอรรถ : @ จิตตเสนะ เป็นชื่อเทวบุตรพวกคนธรรพ์ ๓ องค์ คือ (๑) จิตตะ (๒) เสนะ (๓) จิตตเสนะ @(ที.ม.ฏีกา ๓๓๗/๓๐๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๖๕}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๐ หน้าที่ ๒๖๔-๒๖๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=10&page=264&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=10&A=7701 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=10&A=7701#p264 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 10 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_10 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu10 https://84000.org/tipitaka/english/?index_10



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๖๔-๒๖๕.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]