ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย มหาวรรค

หน้าที่ ๓๑-๓๕.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑. มหาปทานสูตร]

                                                                 พระโพธิสัตว์ตรัสรู้

มหาชนประมาณ ๘๔,๐๐๐ คน ได้พากันโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้า กาสาวพัสตร์ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตตามเสด็จพระวิปัสสีโพธิสัตว์ พระวิปัสสี- โพธิสัตว์ ทรงมีบริษัทนั้นแวดล้อม เสด็จจาริกไปในหมู่บ้าน นิคม ชนบท(แคว้น) และราชธานีทั้งหลาย [๕๖] ต่อมา พระวิปัสสีโพธิสัตว์ประทับหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด๑- ทรงมี พระรำพึงอย่างนี้ว่า ‘การที่เราอยู่คลุกคลีด้วยหมู่คณะอย่างนี้หาเป็นการสมควรไม่ ทางที่ดี เราควรหลีกออกจากหมู่อยู่เพียงลำพัง’ ต่อมา พระวิปัสสีโพธิสัตว์เสด็จ หลีกออกจากหมู่ประทับอยู่ผู้เดียว บรรพชิต ๘๔,๐๐๐ รูป ได้แยกไปทางหนึ่ง พระวิปัสสีโพธิสัตว์ก็เสด็จไปอีกทางหนึ่ง
พระโพธิสัตว์ตรัสรู้๒-
[๕๗] ต่อมา พระวิปัสสีโพธิสัตว์ประทับหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ทรงมีพระรำพึง อย่างนี้ว่า ‘สัตว์โลกนี้ถึงความคับแค้น จึงเกิด แก่ ตาย จุติและอุบัติ ก็บุคคลผู้ไม่รู้ อุบายสลัดออกจากทุกข์ คือ ชรา(ความแก่)มรณะ(ความตาย)นี้ เมื่อไร จึงจะพ้นจาก ทุกข์คือชรามรณะนี้ได้’ จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรมี ชรามรณะจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า ‘เมื่อชาติ(ความเกิด)มี ชรามรณะจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี’ จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรมี ชาติจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย ชาติจึงมี’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า ‘เมื่อภพ(ความมี ความเป็น)มี ชาติจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี’ @เชิงอรรถ : @ ที่สงัด หมายถึงกายวิเวก หลีกเร้น หมายถึงจิตตวิเวก (ที.ม.ฏีกา. ๕๗/๕๘) @ ดูเทียบ สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๔/๑๐-๑๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๓๑}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑. มหาปทานสูตร]

                                                                 พระโพธิสัตว์ตรัสรู้

จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรมี ภพจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย ภพจึงมี’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า ‘เมื่ออุปาทาน (ความยึดมั่นถือมั่น)มี ภพจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี’ จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรมี อุปาทานจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า ‘เมื่อตัณหา(ความอยาก)มี อุปาทานจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี’ จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรมี ตัณหาจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า ‘เมื่อเวทนา(ความรู้สึก)มี ตัณหาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี’ จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรมี เวทนาจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า ‘เมื่อผัสสะ(สัมผัส)มี เวทนาจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี’ จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรมี ผัสสะจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า ‘เมื่อ สฬายตนะ (อายตนะ ๖)มี ผัสสะจึงมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี’ จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรมี สฬายตนะจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า ‘เมื่อนามรูป(นามธรรมและรูปธรรม)มี สฬายตนะจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี’ จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรมี นามรูปจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า ‘เมื่อวิญญาณ(ความรู้แจ้งอารมณ์)มี นามรูปจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูป จึงมี’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๓๒}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑. มหาปทานสูตร]

                                                                 พระโพธิสัตว์ตรัสรู้

จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรมี วิญญาณจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า ‘เมื่อนามรูปมี วิญญาณจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี‘๑- [๕๘] จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘วิญญาณนี้ย่อมหมุนกลับมาจากนามรูป เท่านั้น ไม่เลยไปกว่านั้น เพราะความหมุนกลับเพียงแค่นี้ สัตว์โลกจึงเกิดบ้าง แก่บ้าง ตายบ้าง จุติบ้าง อุบัติบ้าง ความเป็นไปนั้น คือ เพราะนามรูปเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ(ความโศก) ปริเทวะ (ความคร่ำครวญ) ทุกข์(ความทุกข์กาย) โทมนัส(ความทุกข์ใจ) และอุปายาส (ความคับแค้นใจ) จึงมี ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ ด้วยประการฉะนี้’ [๕๙] ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่พระโพธิสัตว์๒- ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย สดับมาก่อนว่า ‘สมุทัย สมุทัย (ความเกิด ความเกิด)’ @เชิงอรรถ : @ ข้อความตอนนี้ ใน สํ.นิ. ๑๖/๔/๗ มีเนื้อความบาลีว่า สงฺขาเรสุ โข สติวิญฺญาณํ โหติ สงฺขาราปจฺจยา @วิญฺญาณํ ส่วนในที่นี้มีเนื้อความบาลีว่า นามรูเป โข สติ วิญฺญาณํ โหติ นามรูปปจฺจยา วิญฺญาณํ @อรรถกถาอธิบายข้อความตอนนี้ไว้ว่า ความจริงน่าจะใช้คำว่า เมื่อสังขารมี วิญญาณจึงมี เมื่อ @อวิชชามี สังขารจึงมี แต่การรู้แจ้งนี้ ไม่ต้องอาศัยความสืบต่อแห่งอวิชชาและสังขารซึ่งเป็นอดีตภพ เพราะ @มหาบุรุษ (พระโพธิสัตว์) อยู่กับเหตุการณ์ปัจจุบัน (ที.ม.อ. ๕๗/๕๖, ที.ม.ฏีกา ๕๗/๖๐) @ วิ.ม. (แปล) ๔/๑๕/๒๒, สํ. สฬา. (แปล) ๑๘/๒๗๓/๓๐๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๓๓}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑. มหาปทานสูตร]

                                                                 พระโพธิสัตว์ตรัสรู้

[๖๐] จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรไม่มี ชรามรณะจึงไม่มี เพราะอะไรดับ ชรามรณะจึงดับ’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า ‘เมื่อชาติไม่มี ชรามรณะจึงไม่มี เพราะชาติดับ ชรามรณะจึงดับ’ จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรไม่มี ชาติจึงไม่มี เพราะอะไรดับ ชาติจึงดับ’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า ‘เมื่อภพไม่มี ชาติจึงไม่มี เพราะภพดับ ชาติจึงดับ’ จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรไม่มี ภพจึงไม่มี เพราะอะไรดับ ภพจึงดับ’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า ‘เมื่ออุปาทานไม่มี ภพจึงไม่มี เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ’ จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรไม่มี อุปาทานจึงไม่มี เพราะอะไรดับ อุปาทานจึงดับ’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า ‘เมื่อตัณหาไม่มี อุปาทานจึงไม่มี เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ’ จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรไม่มี ตัณหาจึงไม่มี เพราะอะไรดับ ตัณหา จึงดับ’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า ‘เมื่อ เวทนาไม่มี ตัณหาจึงไม่มี เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ’ จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรไม่มี เวทนาจึงไม่มี เพราะอะไรดับ เวทนา จึงดับ’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า ‘เมื่อ ผัสสะไม่มี เวทนาจึงไม่มี เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ’ จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรไม่มี ผัสสะจึงไม่มี เพราะอะไรดับ ผัสสะ จึงดับ’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า ‘เมื่อ สฬายตนะไม่มี ผัสสะจึงไม่มี เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ’ จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี เพราะอะไรดับ สฬายตนะจึงดับ’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า ‘เมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ’ จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรไม่มี นามรูปจึงไม่มี เพราะอะไรดับ นามรูป จึงดับ’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า ‘เมื่อ วิญญาณไม่มี นามรูปจึงไม่มี เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๓๔}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑. มหาปทานสูตร]

                                                                 พระโพธิสัตว์ตรัสรู้

จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรไม่มี วิญญาณจึงไม่มี เพราะอะไรดับ วิญญาณจึงดับ’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า ‘เมื่อนามรูปไม่มี วิญญาณจึงไม่มี เพราะนามรูปดับ วิญญาณจึงดับ’ [๖๑] จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘ทางเพื่อความตรัสรู้ เราได้บรรลุแล้ว คือ เพราะนามรูปดับ วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ ด้วยประการฉะนี้’ [๖๒] ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ในธรรมทั้งหลายที่ไม่ เคยสดับมาก่อนว่า ‘นิโรธ นิโรธ (ความดับ ความดับ)’ [๖๓] จากนั้น ทรงพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในอุปาทาน- ขันธ์ ๕ อยู่ว่า “รูปเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งรูป เป็นอย่างนี้ เวทนาเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นอย่างนี้ ความดับแห่ง เวทนาเป็นอย่างนี้ สัญญาเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาเป็นอย่างนี้ ความดับ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๓๕}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๐ หน้าที่ ๓๑-๓๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=10&page=31&pages=5&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=10&A=880 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=10&A=880#p31 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 10 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_10 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu10 https://84000.org/tipitaka/english/?index_10



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๑-๓๕.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]