ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค

หน้าที่ ๑๕๙-๑๖๐.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๗. ลักขณสูตร]

                                                                 ว่าด้วยลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการ

๗. ลักขณสูตร
ว่าด้วยลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการ
[๑๙๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก- เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุทั้งหลายทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส ดังนี้ว่า [๑๙๙] “ภิกษุทั้งหลาย มหาบุรุษทรงสมบูรณ์ด้วยลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ๑- ประการ มีคติเพียง ๒ อย่างเท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น คือ ๑. ถ้าอยู่ครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม ครองราชย์ โดยธรรม ทรงเป็นใหญ่ในแผ่นดินมีมหาสมุทรทั้งสี่เป็นขอบเขต ทรงได้รับชัยชนะ มีพระราชอาณาจักรมั่นคง สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ คือ (๑) จักรแก้ว (๒) ช้างแก้ว (๓) ม้าแก้ว (๔) มณีแก้ว (๕) นางแก้ว (๖) คหบดีแก้ว (๗) ปริณายกแก้ว มีพระราชโอรส มากกว่า ๑,๐๐๐ องค์ ซึ่งล้วนแต่กล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็นวีร- กษัตริย์ สามารถย่ำยีราชศัตรูได้ พระองค์ทรงชนะโดยธรรม ไม่ต้อง ใช้อาชญา ไม่ต้องใช้ศัสตรา ครอบครองแผ่นดินนี้มีสาครเป็นขอบเขต ๒. ถ้าออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต จะได้เป็นพระอรหันตสัมมา- สัมพุทธเจ้าผู้ไม่มีกิเลสในโลก [๒๐๐] ภิกษุทั้งหลาย มหาบุรุษทรงสมบูรณ์ด้วยลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการ อะไรบ้าง จึงมีคติ ๒ อย่างเท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น คือ ๑. ถ้าอยู่ครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ฯลฯ ๒. ถ้าออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต จะได้เป็นพระอรหันตสัมมา- สัมพุทธเจ้าผู้ไม่มีกิเลสในโลก @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๓๔-๓๕/๑๖-๒๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๕๙}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๗. ลักขณสูตร]

                                                                 ว่าด้วยลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการ

คือ มหาบุรุษในโลกนี้ ๑. มีฝ่าพระบาทราบเสมอกัน ข้อที่มหาบุรุษมีฝ่าพระบาทราบเสมอกันนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษ ๒. พื้นฝ่าพระบาททั้งสองของมหาบุรุษ มีจักรซึ่งมีกำข้างละ ๑,๐๐๐ ซี่ มีกง มีดุม และมีส่วนประกอบครบทุกอย่าง ข้อที่พื้นฝ่าพระบาท ทั้งสองของมหาบุรุษมีจักรซึ่งมีกำข้างละ ๑,๐๐๐ ซี่ มีกง มีดุม และ มีส่วนประกอบครบทุกอย่างนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษ ๓. มีส้นพระบาทยื่นยาวออกไป ข้อที่มหาบุรุษมีส้นพระบาทยื่นยาวออกไปนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษ ๔. มีพระองคุลียาว ข้อที่มหาบุรุษมีพระองคุลียาวนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษ ของมหาบุรุษ ๕. มีพระหัตถ์และพระบาทอ่อนนุ่ม ข้อที่มหาบุรุษมีพระหัตถ์และพระ บาทอ่อนนุ่มนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษ ๖. ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทมีเส้นที่ข้อพระองคุลีจดกันเป็นรูปตาข่าย ข้อที่มหาบุรุษมีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทมีเส้นที่ข้อพระองคุลีจดกัน เป็นรูปตาข่ายนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษ ๗. มีข้อพระบาทสูง ข้อที่มหาบุรุษมีข้อพระบาทสูงนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษ ของมหาบุรุษ ๘. มีพระชงฆ์เรียวดุจแข้งเนื้อทราย ข้อที่มหาบุรุษมีพระชงฆ์เรียวดุจแข้ง เนื้อทรายนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษ ๙. เมื่อประทับยืน ไม่ต้องน้อมพระองค์ลงก็ทรงลูบคลำถึงพระชานุด้วย ฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองได้ ข้อที่มหาบุรุษเมื่อประทับยืนไม่ต้องน้อมพระองค์ ลงก็ทรงลูบคลำถึงพระชานุด้วยฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองได้นี้ เป็นลักษณะ มหาบุรุษของมหาบุรุษ ๑๐. มีพระคุยหฐานเร้นอยู่ในฝัก ข้อที่มหาบุรุษมีพระคุยหฐานเร้นอยู่ในฝักนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๖๐}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๑๕๙-๑๖๐. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=11&page=159&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=11&A=4598 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=11&A=4598#p159 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 11 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_11 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu11 https://84000.org/tipitaka/english/?index_11



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๕๙-๑๖๐.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]