ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค

หน้าที่ ๒๗๘-๒๗๙.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

                                                                 สังคีติหมวด ๔

ฌาน๑- ๔ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ๑. สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ ๒. เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดจากสมาธิอยู่ ๓. เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วย นามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข’ ๔. เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
[๓๐๗] สมาธิภาวนา๒- ๔ ๑. สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็น สุขในปัจจุบัน ๒. สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้ญาณ- ทัสสนะ๓- ๓. สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติ- สัมปชัญญะ ๔. สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้น อาสวะ สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขใน ปัจจุบัน เป็นอย่างไร @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ที.สี. (แปล) ๙/๒๒๖-๒๓๒/๗๕-๗๗ @ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๔๑/๖๘-๖๙ @ ญาณทัสสนะ ในที่นี้หมายถึงทิพพจักขุญาณ (ที.ปา.อ. ๓๐๗/๒๐๓, องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๔๑/๓๔๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๗๘}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

                                                                 สังคีติหมวด ๔

คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ ปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขาอยู่ สมาธิภาวนานี้ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่ เป็นสุขในปัจจุบัน สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้ญาณทัสสนะ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้มนสิการถึงอาโลกสัญญา (ความกำหนดหมายใน แสงสว่าง) อธิษฐานทิวาสัญญา (ความกำหนดว่ากลางวัน) ว่า ‘กลางคืนเหมือน กลางวัน กลางวันเหมือนกลางคืน มีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรมจิตให้สว่าง๑- อยู่’ สมาธิภาวนานี้ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้ญาณทัสสนะ สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้รู้แจ้งเวทนาที่เกิดขึ้น รู้แจ้งเวทนาที่ตั้งอยู่ รู้แจ้ง เวทนาที่ดับไป รู้แจ้งสัญญาที่เกิดขึ้น รู้แจ้งสัญญาที่ตั้งอยู่ รู้แจ้งสัญญาที่ดับไป ... รู้แจ้งวิตกที่เกิดขึ้น รู้แจ้งวิตกที่ตั้งอยู่ รู้แจ้งวิตกที่ดับไป สมาธิภาวนานี้ที่บุคคล เจริญทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีปกติเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปใน อุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ว่า ‘รูปเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นอย่างนี้ ความดับ แห่งรูปเป็นอย่างนี้ เวทนาเป็นอย่างนี้ ... สัญญาเป็นอย่างนี้ ... สังขารเป็นอย่างนี้ ... วิญญาณเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งวิญญาณ เป็นอย่างนี้’ สมาธิภาวนานี้ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ @เชิงอรรถ : @ อบรมจิตให้สว่าง ในที่นี้หมายถึงการเข้าสมาบัติโดยมีฌานเป็นฐาน (ที.ปา.อ. ๓๐๗/๒๐๓, @องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๔๑/๓๔๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๗๙}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๒๗๘-๒๗๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=11&page=278&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=11&A=7917 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=11&A=7917#p278 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 11 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_11 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu11 https://84000.org/tipitaka/english/?index_11



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๗๘-๒๗๙.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]