ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค

หน้าที่ ๓๐๓.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

                                                                 สังคีติหมวด ๕

๓. กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม) ๔. มุสาวาทา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ) ๕. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการเสพของมึนเมา คือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท)
๑๐
[๓๑๖] อภัพพฐาน๑- (ฐานะที่เป็นไปไม่ได้) ๕ ๑. เป็นไปไม่ได้ที่ภิกษุขีณาสพจะจงใจปลงชีวิตสัตว์ ๒. เป็นไปไม่ได้ที่ภิกษุขีณาสพจะถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นไม่ได้ให้โดยอาการขโมย ๓. เป็นไปไม่ได้ที่ภิกษุขีณาสพจะเสพเมถุนธรรม ๔. เป็นไปไม่ได้ที่ภิกษุขีณาสพจะพูดเท็จทั้งที่รู้ ๕. เป็นไปไม่ได้ที่ภิกษุขีณาสพจะสั่งสม บริโภคกามเหมือนเมื่อเป็นคฤหัสถ์
๑๑
พยสนะ๒- (วิบัติ) ๕ ๑. ญาติพยสนะ (ความวิบัติแห่งญาติ) ๒. โภคพยสนะ (ความวิบัติแห่งโภคะ) ๓. โรคพยสนะ (ความวิบัติเพราะโรค) ๔. สีลพยสนะ (ความวิบัติแห่งศีล) ๕. ทิฏฐิพยสนะ (ความวิบัติแห่งทิฏฐิ) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.นวก. (แปล) ๒๓/๗/๔๔๖ @ ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๑๓๐/๒๐๙-๒๑๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๐๓}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๓๐๓. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=11&page=303&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=11&A=8606 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=11&A=8606#p303 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 11 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_11 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu11 https://84000.org/tipitaka/english/?index_11



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๐๓.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]