ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค

หน้าที่ ๓๑๗-๓๑๘.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

                                                                 สังคีติหมวด ๖

หมวดผัสสะ๑- ๖ ๑. จักขุสัมผัส (ความกระทบทางตา) ๒. โสตสัมผัส (ความกระทบทางหู) ๓. ฆานสัมผัส (ความกระทบทางจมูก) ๔. ชิวหาสัมผัส (ความกระทบทางลิ้น) ๕. กายสัมผัส (ความกระทบทางกาย) ๖. มโนสัมผัส (ความกระทบทางใจ)
หมวดเวทนา๒- ๖ ๑. จักขุสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากจักขุสัมผัส) ๒. โสตสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากโสตสัมผัส) ๓. ฆานสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากฆานสัมผัส) ๔. ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากชิวหาสัมผัส) ๕. กายสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากกายสัมผัส) ๖. มโนสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากมโนสัมผัส)
หมวดสัญญา๓- ๖ ๑. รูปสัญญา (กำหนดหมายรู้รูป) ๒. สัททสัญญา (กำหนดหมายรู้เสียง) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๒/๖ @ ดูเทียบ สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๒/๖ @ ดูเทียบ สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๑๙๓/๒๙๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๑๗}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

                                                                 สังคีติหมวด ๖

๓. คันธสัญญา (กำหนดหมายรู้กลิ่น) ๔. รสสัญญา (กำหนดหมายรู้รส) ๕. โผฏฐัพพสัญญา (กำหนดหมายรู้โผฏฐัพพะ) ๖. ธัมมสัญญา (กำหนดหมายรู้ธรรมารมณ์)
หมวดสัญเจตนา๑- ๖ ๑. รูปสัญเจตนา (ความจำนงรูป) ๒. สัททสัญเจตนา (ความจำนงเสียง) ๓. คันธสัญเจตนา (ความจำนงกลิ่น) ๔. รสสัญเจตนา (ความจำนงรส) ๕. โผฏฐัพพสัญเจตนา (ความจำนงโผฏฐัพพะ) ๖. ธัมมสัญเจตนา (ความจำนงธรรมารมณ์)
หมวดตัณหา๒- ๖ ๑. รูปตัณหา (ความทะยานอยากได้รูป) ๒. สัททตัณหา (ความทะยานอยากได้เสียง) ๓. คันธตัณหา (ความทะยานอยากได้กลิ่น) ๔. รสตัณหา (ความทะยานอยากได้รส) ๕. โผฏฐัพพตัณหา (ความทะยานอยากได้โผฏฐัพพะ) ๖. ธัมมตัณหา (ความทะยานอยากได้ธรรมารมณ์) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ สํ.ข. (แปล) ๑๗/๕๖/๘๔ @ ดูเทียบ สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๑๙๕/๒๙๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๑๘}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๓๑๗-๓๑๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=11&page=317&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=11&A=9009 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=11&A=9009#p317 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 11 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_11 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu11 https://84000.org/tipitaka/english/?index_11



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๑๗-๓๑๘.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]