ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค

หน้าที่ ๓๒๘.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

                                                                 สังคีติหมวด ๖

เห็นว่า ‘เราเป็นนี้’ แต่ลูกศรคือความเคลือบแคลงสงสัยก็ยัง ครอบงำจิตของภิกษุนั้นอยู่’ ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้เลย เพราะสภาวะที่ ถอนอัสมิมานะ๑- นี้เป็นธาตุที่สลัดลูกศรคือความเคลือบแคลงสงสัย
๑๘
[๓๒๗] อนุตตริยะ๒- ๖ ๑. ทัสสนานุตตริยะ (การเห็นอันยอดเยี่ยม) ๒. สวนานุตตริยะ (การฟังอันยอดเยี่ยม) ๓. ลาภานุตตริยะ (การได้อันยอดเยี่ยม) ๔. สิกขานุตตริยะ (การศึกษาอันยอดเยี่ยม) ๕. ปาริจริยานุตตริยะ (การบำรุงอันยอดเยี่ยม) ๖. อนุสสตานุตตริยะ (การระลึกอันยอดเยี่ยม)
๑๙
อนุสสติฏฐาน๓- ๖ ๑. พุทธานุสสติ (การระลึกถึงพระพุทธเจ้า) ๒. ธัมมานุสสติ (การระลึกถึงพระธรรม) ๓. สังฆานุสสติ (การระลึกถึงพระสงฆ์) ๔. สีลานุสสติ (การระลึกถึงศีล) ๕. จาคานุสสติ (การระลึกถึงการบริจาค) ๖. เทวตานุสสติ (การระลึกถึงเทวดา) @เชิงอรรถ : @ สภาวะที่ถอนอัสมิมานะ ในที่นี้หมายถึงอรหัตตมรรค ที่เรียกว่าสภาวะที่ถอนอัสมิมานะ เพราะเมื่อเห็นนิพพาน @ด้วยอำนาจผลที่เกิดจากอรหัตตมรรค อัสมิมานะจึงไม่มี (ที.ปา.อ. ๓๒๖/๒๓๕, องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๓/๑๐๕) @ ดูเทียบ องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๘/๔๑๙-๔๒๐ @ อนุสสติฏฐาน แปลว่า “ฐานคืออนุสสติ” หมายถึงเหตุคืออนุสสติ ได้แก่ ฌาน ๓ (ที.ปา.อ. ๓๒๗/๒๓๕, @องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๕/๑๑๐, ๓/๒๙/๑๑๒) @อนุสสติ ที่เรียกว่า “ฐาน” เพราะเป็นเหตุให้ได้รับประโยชน์เกื้อกูลและความสุขทั้งในภพนี้และภพหน้า @เช่น พุทธานุสสติ ย่อมเป็นเหตุให้บรรลุคุณวิเศษ เพราะเมื่อบุคคลระลึกถึงพุทธคุณอยู่ ปีติ (ความอิ่มใจ) @ย่อมเกิด จากนั้น จึงพิจารณาปีติให้เห็นความสิ้นไปเสื่อมไปจนได้บรรลุอรหัตตผล @อนุสสติฏฐาน นี้จัดเป็นอุปจารกัมมัฏฐาน แม้คฤหัสถ์ก็สามารถบำเพ็ญได้ (ขุ.อป.อ. ๑/๒๕/๑๓๗, @องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๙/๑๐๘) และดูเทียบ องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๙/๔๒๐-๔๒๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๒๘}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๓๒๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=11&page=328&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=11&A=9323 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=11&A=9323#p328 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 11 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_11 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu11 https://84000.org/tipitaka/english/?index_11



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๒๘.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]