ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค

หน้าที่ ๓๓๒-๓๓๓.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

                                                                 สังคีติหมวด ๗

ธรรมที่เป็นบริขารแห่งสมาธิ๑- ๗ ๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ) ๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ) ๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ) ๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ)
อสัทธรรม๒- ๗ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๒. เป็นผู้ไม่มีหิริ ๓. เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ ๔. เป็นผู้มีสุตะน้อย ๕. เป็นผู้เกียจคร้าน ๖. เป็นผู้มีสติหลงลืม ๗. เป็นผู้มีปัญญาทราม
สัทธรรม๓- ๗ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้มีศรัทธา ๒. เป็นผู้มีหิริ ๓. เป็นผู้มีโอตตัปปะ ๔. เป็นพหูสูต @เชิงอรรถ : @ บริขารแห่งสมาธิ หมายถึงองค์ประกอบแห่งมรรคสมาธิ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๔๔-๔๕/๑๘๒) @และดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๔๕/๖๘-๖๙ @ ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๙๓/๑๘๓ @ ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๙๔/๑๘๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๓๒}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

                                                                 สังคีติหมวด ๗

๕. เป็นผู้ปรารภความเพียร ๖. เป็นผู้มีสติมั่นคง ๗. เป็นผู้มีปัญญา
สัปปุริสธรรม๑- ๗ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นธัมมัญญ (ผู้รู้จักเหตุ) ๒. เป็นอัตถัญญ (ผู้รู้จักผล) ๓. เป็นอัตตัญญ (ผู้รู้จักตน) ๔. เป็นมัตตัญญ (ผู้รู้จักประมาณ) ๕. เป็นกาลัญญ (ผู้รู้จักกาลเวลา) ๖. เป็นปริสัญญ (ผู้รู้จักชุมชน) ๗. เป็นปุคคลัญญ (ผู้รู้จักบุคคล)
[๓๓๑] นิททสวัตถุ๒- (เหตุให้ได้ชื่อว่าผู้มีอายุไม่ถึง ๑๐ ปี) ๗ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการสมาทานสิกขา๓- และไม่ปราศจาก ความรักในการสมาทานสิกขาต่อไป๔- @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.สตฺตก.(แปล) ๒๓/๖๘/๑๔๓ @ นิททสวัตถุ แปลว่า ธรรมที่เป็นเหตุให้ชื่อว่า “นิททสะ” ซึ่งแปลว่า มีอายุไม่ถึง ๑๐ ปี คำนี้เป็นคำที่พวก @เดียรถีย์ใช้เรียกนิครนถ์ผู้ประพฤติพรหมจรรย์กำหนด ๑๒ ปี ถ้าตายลงเมื่อถึง ๑๐ ปี เรียกผู้นั้นว่า @“นิททส” คือเมื่อมาเกิดอีก จะมีอายุไม่ถึง ๑๐ ปี และอาจไม่ถึง ๙ ปี - ๑ ปี แต่พระผู้มีพระภาคทรงใช้คำนี้ @หมายถึงพระขีณาสพในความหมายว่า “ไม่มีการเกิดอีก” ไม่ว่าจะเกิดมาเพียงวันเดียวหรือครู่เดียวโดย @มีเงื่อนไขว่า ผู้นั้นต้องเพียบพร้อมด้วยธรรม ๗ ประการ ส่วนเวลาประพฤติพรหมจรรย์มากน้อยไม่สำคัญ @(ที.ปา.อ. ๓๓๑/๒๓๘, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๐/๑๖๔-๑๖๕) @ สมาทานสิกขา ในที่นี้หมายถึงการบำเพ็ญไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญาให้บริบูรณ์และถูกต้อง @(องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๐/๑๖๕, องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๒๐/๑๙๒) @ ไม่ปราศจากความรักในการสมาทานสิกขาต่อไป ในที่นี้หมายถึงกาลเวลาแห่งการบำเพ็ญที่เนื่องกัน @ไม่ขาดระยะ มิได้หมายถึงภพในอนาคต (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๐/๑๖๕, องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๒๐/๑๙๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๓๓}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๓๓๒-๓๓๓. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=11&page=332&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=11&A=9437 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=11&A=9437#p332 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 11 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_11 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu11 https://84000.org/tipitaka/english/?index_11



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๓๒-๓๓๓.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]