ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค

หน้าที่ ๔๓๑-๔๓๒.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

                                                                 ธรรม ๑๐ ประการ

๔. มิจฉากัมมันตะ (กระทำผิด) ๕. มิจฉาอาชีวะ (เลี้ยงชีพผิด) ๖. มิจฉาวายามะ (พยายามผิด) ๗. มิจฉาสติ (ระลึกผิด) ๘. มิจฉาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นผิด) ๙. มิจฉาญาณะ (รู้ผิด) ๑๐. มิจฉาวิมุตติ (หลุดพ้นผิด) นี้ คือธรรม ๑๐ ประการที่ควรละ (ง) ธรรม ๑๐ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม คืออะไร คือ อกุศลกรรมบถ๑- (ทางแห่งอกุศลกรรม) ๑๐ ได้แก่ ๑. ปาณาติบาต (การฆ่าสัตว์) ๒. อทินนาทาน (การลักทรัพย์) ๓. กาเมสุมิจฉาจาร (การประพฤติผิดในกาม) ๔. มุสาวาท (การพูดเท็จ) ๕. ปิสุณาวาจา (การพูดส่อเสียด) ๖. ผรุสวาจา (การพูดคำหยาบ) ๗. สัมผัปปลาปะ (การพูดเพ้อเจ้อ) ๘. อภิชฌา (ความเพ่งเล็งอยากได้ของของเขา) ๙. พยาบาท (ความคิดร้าย) ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด) นี้ คือธรรม ๑๐ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม (จ) ธรรม ๑๐ ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ คืออะไร คือ กุศลกรรมบถ๒- (ทางแห่งกุศลกรรม) ๑๐ ได้แก่ ๑. ปาณาติปาตา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการฆ่าสัตว์) ๒. อทินนาทานา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการลักทรัพย์) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบข้อ ๓๔๗ หน้า ๓๖๒ ในเล่มนี้, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๗๘/๓๓๐ @ ดูเทียบข้อ ๓๔๗ หน้า ๓๖๒-๓๖๓ ในเล่มนี้, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๗๘/๓๓๐-๓๓๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๓๑}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

                                                                 ธรรม ๑๐ ประการ

๓. กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม) ๔. มุสาวาทา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ) ๕. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดส่อเสียด) ๖. ผรุสาย วาจาย เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดคำหยาบ) ๗. สัมผัปปลาปา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ) ๘. อนภิชฌา (ความไม่โลภอยากได้ของของเขา) ๙. อพยาบาท (ความไม่คิดร้าย) ๑๐. สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) นี้ คือธรรม ๑๐ ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ (ฉ) ธรรม ๑๐ ประการที่แทงตลอดได้ยาก คืออะไร คือ อริยวาส๑- (ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะ) ๑๐ ได้แก่ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้ละองค์ ๕ ได้ ๒. เป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ ๓. เป็นผู้มีธรรมเป็นเครื่องรักษาอย่างเอก ๔. เป็นผู้มีอปัสเสนธรรม (ธรรมเป็นดุจพนักพิง) ๔ ประการ ๕. เป็นผู้มีปัจเจกสัจจะอันบรรเทาได้ ๖. เป็นผู้มีการแสวงหาอันสละได้ดี ๗. เป็นผู้มีความดำริอันไม่ขุ่นมัว ๘. เป็นผู้มีกายสังขารอันระงับได้ ๙. เป็นผู้มีจิตหลุดพ้นได้ดี ๑๐. เป็นผู้มีปัญญาหลุดพ้นได้ดี @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบข้อ ๓๔๘ หน้า ๓๖๓-๓๖๕ ในเล่มนี้, องฺ.ทสก. (แปล) ๑๙-๒๐/๓๘-๔๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๓๒}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๔๓๑-๔๓๒. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=11&page=431&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=11&A=12440 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=11&A=12440#p431 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 11 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_11 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu11 https://84000.org/tipitaka/english/?index_11



จบการแสดงผล หน้าที่ ๔๓๑-๔๓๒.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]