ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค

หน้าที่ ๕-๖.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑. ปาฎิกสูตร]

                                                                 เรื่องเจ้าลิจฉวีนามว่าสุนักขัตตะ

สุนักขัตตะ จริงๆ แล้ว เราจะประกาศทฤษฎีว่าด้วยต้นกำเนิดของโลก หรือไม่ประกาศทฤษฎีว่าด้วยต้นกำเนิดของโลกก็ตาม ธรรมที่เราแสดงแล้วย่อม เป็นไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้กระทำตาม เมื่อเป็นเช่นนี้ การที่เราประกาศ ทฤษฎีว่าด้วยต้นกำเนิดของโลก จักก่อผลอะไรได้เล่า โมฆบุรุษ เธอจงดูเถิดว่า ‘การพูดเช่นนี้เป็นความผิดของเธอมากเพียงไร’ [๖] สุนักขัตตะ เธอเคยกล่าวสรรเสริญเราที่วัชชีคาม๑- ด้วยเหตุผลหลายอย่างว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง โดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควร ฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค๒-’ สุนักขัตตะ เธอเคยกล่าวสรรเสริญเราที่วัชชีคามด้วยเหตุผล หลายอย่าง อย่างนี้แล @เชิงอรรถ : @ วัชชีคาม หมายถึงกรุงเวสาลีซึ่งเป็นที่ประทับของเจ้าวัชชี (ที.ปา.อ. ๖/๓) @ พุทธคุณทั้ง ๙ บทนี้ แต่ละบทมีอรรถอเนกประการ คือ @๑. ชื่อว่าเป็นพระอรหันต์ เพราะห่างไกลจากกิเลส, เพราะกำจัดข้าศึกคือกิเลส, เพราะหักซี่กำแห่ง @สังสาระ คือการเวียนว่ายตายเกิด, เพราะเป็นผู้ควรรับไทยธรรม, เพราะไม่ทำบาปในที่ลับ @๒. ชื่อว่าตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพราะตรัสรู้ธรรมทั้งปวงโดยชอบและด้วยพระองค์เอง @๓. ชื่อว่าเพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ วิชชา ได้แก่ วิชชา ๓ และวิชชา ๘ ดังนี้ วิชชา ๓ คือ @(๑) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ความหยั่งรู้ที่ทำให้ระลึกชาติได้ (๒) จุตูปปาตญาณ ความหยั่งรู้จุติ(ตาย) และ @อุบัติ(เกิด) ของสัตว์ (๓) อาสวักขยญาณ ความหยั่งรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ วิชชา ๘ คือ (๑) วิปัสสนาญาณ @ญาณที่เป็นตัววิปัสสนา (๒) มโนมยิทธิ มีฤทธิ์ทางใจ (๓) อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ (๔) ทิพพโสต @หูทิพย์ (๕) เจโตปริยญาณ ปรีชากำหนดรู้จิตผู้อื่นได้ (๖) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ความหยั่งรู้ที่ทำให้ระลึก @ชาติได้ (๗) ทิพพจักขุ ตาทิพย์ หรือเรียกว่าจุตูปปาตญาณ (๘) อาสวักขยญาณ ความหยั่งรู้ที่ทำให้สิ้น @อาสวะ จรณะ ๑๕ คือ (๑) สีลสัมปทา ความถึงพร้อมแห่งศีล (๒) อินทรียสังวร การสำรวมอินทรีย์ @(๓) โภชเนมัตตัญญุตา ความรู้จักประมาณในการบริโภค (๔) ชาคริยานุโยค การหมั่นประกอบความเพียร @เป็นเครื่องตื่น (๕) มีศรัทธา (๖) มีหิริ (๗) มีโอตตัปปะ (๘) เป็นพหูสูต (๙) วิริยารัมภะ ปรารภความเพียร @(๑๐) มีสติมั่นคง (๑๑) มีปัญญา (๑๒) ปฐมฌาน (๑๓) ทุติยฌาน (๑๔) ตติยฌาน (๑๕) จตุตถฌาน @๔. ชื่อว่าเสด็จไปดี เพราะทรงดำเนินรุดหน้าไปไม่หวนกลับคืนมาหากิเลสที่ทรงละได้แล้ว และยังมี @อรรถว่า ตรัสไว้ดี เพราะทรงกล่าวคำที่ควรในฐานะที่ควร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๕}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑. ปาฎิกสูตร]

                                                                 เรื่องเจ้าลิจฉวีนามว่าสุนักขัตตะ

สุนักขัตตะ เธอเคยกล่าวสรรเสริญพระธรรมที่วัชชีคามด้วยเหตุผลหลายอย่าง ว่า ‘พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วย ตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล๑- ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชน พึงรู้เฉพาะตน’ สุนักขัตตะ เธอเคยกล่าวสรรเสริญพระธรรมที่วัชชีคามด้วยเหตุผล หลายอย่าง อย่างนี้แล สุนักขัตตะ เธอเคยกล่าวสรรเสริญพระสงฆ์ที่วัชชีคามด้วยเหตุผลหลายอย่าง ว่า ‘พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูกทาง ปฏิบัติสมควร ได้แก่ อริยบุคคล ๔ คู่ ๘ บุคคล พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การ ทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก สุนักขัตตะ เธอเคยกล่าวสรรเสริญ พระสงฆ์ที่วัชชีคามด้วยเหตุผลหลายอย่าง อย่างนี้แล @เชิงอรรถ : @๕. ชื่อว่ารู้แจ้งโลก เพราะทรงรู้แจ้งโลก เหตุเกิดโลก ความดับโลก วิธีปฏิบัติให้ลุถึงความดับโลก @(ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) และทรงรู้แจ้งโลกทั้ง ๓ คือ สังขารโลก สัตวโลก โอกาสโลก @๖. ชื่อว่าสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เพราะทรงฝึกฝนคนที่ควรฝึกฝน ทั้งเทวดา มนุษย์ @อมนุษย์ สัตว์ดิรัจฉาน ด้วยอุบายต่างๆ @๗. ชื่อว่าเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เพราะทรงสั่งสอนทั้งเทวดาและมนุษย์ด้วย @ประโยชน์ในโลกนี้และประโยชน์ในโลกหน้า ผู้ปฏิบัติตามแล้วสำเร็จมรรคผลในโลกนี้บ้าง จุติไปเกิดในสวรรค์ @กลับมาฟังธรรมแล้วสำเร็จมรรคผลบ้าง ทรงช่วยเหลือหมู่สัตว์ให้พ้นความกันดาร คือความเกิด @๘. ชื่อว่าเป็นพระพุทธเจ้า เพราะทรงรู้สิ่งที่ควรรู้ทั้งหมดด้วยพระองค์เอง แล้วสอนให้ผู้อื่นรู้ตาม @๙. ชื่อว่าเป็นพระผู้มีพระภาคเพราะ(๑)ทรงมีโชค(๒)ทรงทำลายข้าศึกคือกิเลส(๓)ทรงประกอบด้วย @ภคธรรม ๖ ประการ (คือ ความเป็นใหญ่เหนือจิตของตน, โลกุตตรธรรม, ยศ, สิริ, ความสำเร็จประโยชน์ @ตามต้องการ และความเพียร) (๔) ทรงจำแนกแจกแจงธรรม (๕) ทรงเสพอริยธรรม (๖) ทรงคลายตัณหา @ในภพทั้ง ๓ (๗) ทรงเป็นที่เคารพของชาวโลก (๘) ทรงอบรมพระองค์ดีแล้ว (๙) ทรงมีส่วนแห่งปัจจัย ๔ @เป็นต้น (วิ.อ. ๑/๑/๑๐๓-๑๑๘) @อนึ่ง พระพุทธคุณนี้ ท่านแบ่งเป็น ๑๐ ประการ โดยแยกข้อ ๖ เป็น ๒ ประการ คือ (๑) เป็นผู้ @ยอดเยี่ยม (๒) เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้ (วิสุทฺธิ. ๑/๒๖๕, วิ.อ. ๑/๑/๑๑๒-๑๑๓) @ ไม่ประกอบด้วยกาล หมายถึงให้ผลไม่จำกัดกาล คือไม่ขึ้นกับกาลเวลา ให้ผลแก่ผู้ปฏิบัติทุกเวลาทุกโอกาส @บรรลุเมื่อใดก็ได้รับผลเมื่อนั้น (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๔/๑๕๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๖}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๕-๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=11&page=5&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=11&A=107 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=11&A=107#p5 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 11 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_11 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu11 https://84000.org/tipitaka/english/?index_11



จบการแสดงผล หน้าที่ ๕-๖.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]