ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

หน้าที่ ๓๕๗-๓๖๐.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๔. มหายมกวรรค]

                                                                 ๑. จูฬโคสิงคสูตร

๔. มหายมกวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมเป็นคู่ หมวดใหญ่
๑. จูฬโคสิงคสูตร
ว่าด้วยเหตุการณ์ในโคสิงคสาลวัน สูตรเล็ก
[๓๒๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ตำหนักอิฐในบ้านชื่อนาทิกะ สมัยนั้น ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมิละ อยู่ที่ป่าโคสิงค- สาลวัน ครั้นในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น เข้าไปยัง ป่าโคสิงคสาลวัน นายทายบาล(ผู้รักษาป่า) ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล แล้วได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระสมณะ ท่านอย่าเข้าไปในป่านี้เลย ในป่านี้มีกุลบุตร (พระเถระ) ๓ ท่าน ซึ่งเป็นผู้มุ่งประโยชน์ตนอยู่ ท่านอย่าได้รบกวนกุลบุตรทั้ง ๓ นั้นเลย” เมื่อนายทายบาลกราบทูลพระผู้มีพระภาคอยู่นั้น ท่านพระอนุรุทธะได้ยินแล้ว จึงได้บอกกับนายทายบาลว่า “นายทายบาล ท่านอย่าได้ห้ามพระผู้มีพระภาคเลย พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระศาสดาของพวกเราเสด็จมาถึงแล้ว” ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะได้เข้าไปหาท่านพระนันทิยะและท่านพระกิมิละถึงที่ อยู่ แล้วได้บอกว่า “รีบไปกันเถิดท่าน รีบไปกันเถิดท่าน พระผู้มีพระภาคผู้เป็น พระศาสดาของพวกเราเสด็จมาถึงแล้ว” ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมิละได้ต้อนรับพระผู้มี พระภาค รูปหนึ่งรับบาตรและจีวรของพระผู้มีพระภาค รูปหนึ่งปูอาสนะ รูปหนึ่ง ตั้งน้ำล้างพระบาท พระผู้มีพระภาคประทับนั่ง ณ พุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ ครั้นล้าง พระบาทแล้ว ท่านทั้ง ๓ รูปนั้นได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ สมควร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสกับท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ และท่าน พระกิมิละว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๓๕๗}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๔. มหายมกวรรค]

                                                                 ๑. จูฬโคสิงคสูตร

[๓๒๖] “อนุรุทธะ นันทิยะ และกิมิละ เธอทั้งหลายยังสบายดีหรือ ยัง พอเป็นอยู่ได้หรือ๑- ไม่ลำบากด้วยบิณฑบาตหรือ” ท่านพระอนุรุทธะกราบทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทั้งหลาย ยังสบายดี ยังพอเป็นอยู่ได้ ไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต” “เธอทั้งหลายยังพร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือนน้ำนม กับน้ำ มองกันด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่หรือ” “ขอประทานวโรกาส ข้าพระองค์ทั้งหลายยังพร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่ วิวาทกัน เป็นเหมือนน้ำนมกับน้ำ มองกันด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่ พระพุทธเจ้าข้า” “เธอทั้งหลายเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือนน้ำ นมกับน้ำ มองกันด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่ได้อย่างไร” “ขอประทานวโรกาส ข้าพระองค์มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ที่ได้อยู่กับเพื่อนพรหมจารีเช่นนี้’ ข้าพระองค์ตั้งมั่นเมตตากายกรรม ตั้งมั่นเมตตาวจีกรรม และตั้งมั่นเมตตามโนกรรม๒- ในท่านเหล่านี้ ทั้งต่อหน้าและ ลับหลัง ข้าพระองค์มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรเก็บความนึกคิดของตน แล้วประพฤติตามอำนาจความนึกคิดของท่านเหล่านี้’ ข้าพระองค์ก็เก็บความนึกคิด ของตนแล้วประพฤติตามอำนาจความนึกคิดของท่านเหล่านี้ กายของข้าพระองค์ ทั้งหลายต่างกันก็จริง แต่ความนึกคิดดูเหมือนเป็นอันเดียวกัน พระพุทธเจ้าข้า” แม้ท่านพระนันทิยะ ฯลฯ แม้ท่านพระกิมิละก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส แม้ข้าพระองค์ก็มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ที่ได้อยู่กับเพื่อนพรหมจารีเช่นนี้’ ข้าพระองค์ตั้งมั่นเมตตากายกรรม ตั้งมั่นเมตตาวจีกรรม และตั้งมั่นเมตตามโนกรรม @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๗๔/๖๖, องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๕๖/๕๔๐ @ ดูเทียบ องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๑๑/๔๒๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๓๕๘}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๔. มหายมกวรรค]

                                                                 ๑. จูฬโคสิงคสูตร

ในท่านเหล่านี้ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ข้าพระองค์มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรเก็บความนึกคิดของตนแล้ว ประพฤติตามอำนาจความนึกคิดของท่าน เหล่านี้’ ข้าพระองค์ก็เก็บความนึกคิดของตน แล้วประพฤติตามอำนาจความนึกคิด ของท่านเหล่านี้ กายของข้าพระองค์ทั้งหลายต่างกันก็จริง แต่ความนึกคิดดูเหมือน เป็นอันเดียวกัน ข้าพระองค์ทั้งหลายยังพร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน ยังเป็น เหมือนน้ำนมกับน้ำ มองกันและกันด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่อย่างนี้แล พระพุทธเจ้าข้า” [๓๒๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ อนุรุทธะ นันทิยะ และกิมิละ เธอทั้งหลายเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่หรือ” ท่านพระอนุรุทธะกราบทูลว่า “ขอประทานวโรกาส ข้าพระองค์ทั้งหลาย เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ พระพุทธเจ้าข้า” “เธอทั้งหลายเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ได้อย่างไร” “ขอประทานวโรกาส บรรดาข้าพระองค์ทั้งหลาย รูปใดกลับจากบิณฑบาต จากหมู่บ้านก่อน รูปนั้นก็ปูลาดอาสนะ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้ ตั้งถาดสำรับไว้ รูปใด กลับจากบิณฑบาตจากหมู่บ้านทีหลัง ถ้ามีบิณฑบาตที่เหลือจากฉัน หากประสงค์ ก็ฉัน หากไม่ประสงค์ก็เททิ้งบนพื้นที่ปราศจากของเขียว หรือเทลงในน้ำที่ไม่มีตัวสัตว์ รูปนั้นเก็บอาสนะ เก็บน้ำฉันน้ำใช้ เก็บถาดสำรับ กวาดโรงอาหาร รูปใดเห็น หม้อน้ำฉัน หม้อน้ำใช้ หรือหม้อน้ำชำระว่างเปล่า รูปนั้นก็นำไปตั้งไว้ ถ้าเหลือ วิสัยของท่าน ก็กวักมือเรียกรูปที่ ๒ มาช่วยกันยกนำไปตั้งไว้ ข้าพระองค์ ทั้งหลายไม่เปล่งวาจาเพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย และทุก ๕ วัน ข้าพระองค์ทั้งหลาย นั่งสนทนาธรรมีกถาตลอดคืนยังรุ่ง ข้าพระองค์ทั้งหลายเป็นผู้ไม่ประมาท มีความ เพียร อุทิศกายและใจอยู่อย่างนี้แล พระพุทธเจ้าข้า” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๓๕๙}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๔. มหายมกวรรค]

                                                                 ๑. จูฬโคสิงคสูตร

ธรรมเครื่องอยู่อย่างผาสุก
[๓๒๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ อนุรุทธะ นันทิยะ และกิมิละ ญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ซึ่งเป็นเครื่องอยู่ อย่างผาสุกที่เธอทั้งหลายผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่อย่างนี้ ได้บรรลุแล้ว มีอยู่หรือ” ท่านพระอนุรุทธะกราบทูลว่า “จะไม่มีได้อย่างไร พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์ ทั้งหลายสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้วบรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ตามกำหนดเวลาที่มุ่งหวัง นี้คือญาณทัสสนะที่ ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นเครื่องอยู่อย่างผาสุก ข้าพระองค์ทั้งหลายเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ได้บรรลุแล้ว พระพุทธเจ้าข้า” “ดีละ ดีละ อนุรุทธะ นันทิยะ และกิมิละ ญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ซึ่งเป็นเครื่องอยู่อย่างผาสุกอย่างอื่นที่เธอทั้งหลายได้ บรรลุเพื่อก้าวล่วงและเพื่อระงับธรรมเป็นเครื่องอยู่นั้น มีอยู่หรือ” “จะไม่มีได้อย่างไร พระพุทธเจ้าข้า เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ข้าพระองค์ ทั้งหลายบรรลุทุติยฌานที่มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มี วิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ตามกำหนดเวลาที่มุ่งหวัง นี้คือ ญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ซึ่งเป็นเครื่องอยู่ อย่างผาสุกอย่างอื่น ที่ข้าพระองค์ทั้งหลายได้บรรลุเพื่อก้าวล่วงและเพื่อระงับธรรม เป็นเครื่องอยู่นั้น” “ดีละ ดีละ อนุรุทธะ นันทิยะ และกิมิละ ญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ซึ่งเป็นเครื่องอยู่อย่างผาสุกอย่างอื่นที่เธอทั้งหลายได้บรรลุ เพื่อก้าวล่วง และเพื่อระงับธรรมเป็นเครื่องอยู่นั้น มีอยู่หรือ” “จะไม่มีได้อย่างไร พระพุทธเจ้าข้า เพราะปีติจางคลายไป ข้าพระองค์ ทั้งหลายมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๓๖๐}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๓๕๗-๓๖๐. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=12&page=357&pages=4&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=12&A=10247 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=12&A=10247#p357 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 12 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_12 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu12 https://84000.org/tipitaka/english/?index_12



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๕๗-๓๖๐.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]