ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

หน้าที่ ๗๐-๗๒.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

                                                                 ๘. สัลเลขสูตร

๘. สัลเลขสูตร
ว่าด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส
[๘๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นในเวลาเย็น ท่านพระมหาจุนทะออกจากที่ หลีกเร้น๑- แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีทิฏฐิหลายประการในโลกเกี่ยวกับอัตตวาทะ๒- บ้าง เกี่ยวกับโลกวาทะ๓- บ้าง เมื่อภิกษุมนสิการเพียงเบื้องต้น ก็ละสลัดทิ้งทิฏฐิเหล่านั้น ได้อย่างนั้นหรือ” [๘๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “จุนทะ มีทิฏฐิหลายประการในโลกเกี่ยวกับ อัตตวาทะบ้าง เกี่ยวกับโลกวาทะบ้าง เมื่อภิกษุเห็นอารมณ์เป็นที่เกิดขึ้น เป็นที่ หมักหมม และเป็นที่ท่องเที่ยวแห่งทิฏฐิเหล่านั้นตามความเป็นจริงด้วยปัญญา อันชอบอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ก็ละ สลัดทิ้งทิฏฐิเหล่านั้นได้
รูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔
จุนทะ เป็นไปได้ที่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามและอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ @เชิงอรรถ : @ ที่หลีกเร้น ในที่นี้หมายถึงผลสมาบัติชั้นสูงสุด (ม.มู.อ. ๑/๘๑/๑๙๔) @ อัตตวาทะ หมายถึงมิจฉาทิฏฐิที่ปรารภอัตตา เช่น เห็นว่ารูปเป็นอัตตาเป็นต้น (ม.มู.อ. ๑/๘๑/๑๙๔) @ โลกวาทะ หมายถึงมิจฉาทิฏฐิที่ปรารภโลก เช่น เห็นว่า อัตตาและโลกเที่ยงเป็นต้น (ม.มู.อ. ๑/๘๑/๑๙๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๗๐}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

                                                                 ๘. สัลเลขสูตร

ภิกษุนั้น พึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส’ ธรรมคือ ปฐมฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลากิเลสในอริยวินัย แต่เรา กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันในอริยวินัย เป็นไปได้ที่เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ บรรลุ ทุติยฌานซึ่งมีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ ภิกษุนั้นพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราอยู่ด้วย ธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส’ ธรรมคือทุติยฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่อง ขัดเกลากิเลสในอริยวินัย แต่เรากล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันใน อริยวินัย เป็นไปได้ที่เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้มีอุเบกขา มี สติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญ ว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’ เธอพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราอยู่ด้วยธรรม เครื่องขัดเกลากิเลส’ ธรรมคือตติยฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา กิเลสในอริยวินัย แต่เรากล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันในอริยวินัย เป็นไปได้ที่เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะ อุเบกขาอยู่ เธอพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องขัดเกลากิเลส’ ธรรมคือจตุตถฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลากิเลสในอริยวินัย แต่ เรากล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันในอริยวินัย เป็นไปได้ที่เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวง ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ บรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดย กำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ เธอพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราอยู่ด้วยธรรม เป็นเครื่องขัดเกลากิเลส’ ธรรมคืออากาสานัญจายตนฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็น ธรรมเครื่องขัดเกลากิเลสในอริยวินัย แต่เรากล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่สงบใน ปัจจุบันในอริยวินัย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๗๑}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

                                                                 ๘. สัลเลขสูตร

เป็นไปได้ที่เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุบางรูป ในธรรมวินัยนี้ บรรลุวิญญาณัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุด มิได้’ เธอพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องขัดเกลากิเลส’ ธรรมคือ วิญญาณัญจายตนฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลากิเลสในอริยวินัย แต่เรากล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่สงบในอริยวินัย เป็นไปได้ที่เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุบางรูป ในธรรมวินัยนี้ บรรลุอากิญจัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ เธอพึง มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องขัดเกลากิเลส’ ธรรมคือ อากิญจัญญายตนฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลากิเลสในอริยวินัย แต่เรากล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่สงบในอริยวินัย จุนทะ เป็นไปได้ที่เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุ บางรูปในธรรมวินัยนี้ บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ เธอพึงมีความคิด อย่างนี้ว่า ‘เราอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องขัดเกลากิเลส’ ธรรมคือเนวสัญญานา- สัญญายตนฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลากิเลสในอริยวินัย แต่เรา กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่สงบในอริยวินัย
ข้อปฏิบัติเพื่อขัดเกลากิเลส
[๘๓] จุนทะ ในการเบียดเบียนกันเป็นต้นนี้ เธอทั้งหลายควรทำความ ขัดเกลากิเลส คือ เธอทั้งหลายควรทำความขัดเกลากิเลสโดยคิดว่า ‘ชนเหล่าอื่น จักเป็นผู้เบียดเบียนกัน ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่เบียดเบียนกัน’ ... ‘ชนเหล่าอื่นจักฆ่าสัตว์ ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักเว้นจากการฆ่าสัตว์’ ... ‘ชนเหล่าอื่นจักลักทรัพย์ ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักเว้นจากการลักทรัพย์’ ... ‘ชนเหล่าอื่นจักไม่ประพฤติพรหมจรรย์ ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจัก ประพฤติพรหมจรรย์’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๗๒}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๗๐-๗๒. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=12&page=70&pages=3&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=12&A=2034 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=12&A=2034#p70 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 12 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_12 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu12 https://84000.org/tipitaka/english/?index_12



จบการแสดงผล หน้าที่ ๗๐-๗๒.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]