ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

หน้าที่ ๑๐-๑๑.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค]

                                                                 ๑. กันทรกสูตร

พระพุทธคุณ
[๑๐] บุคคลเป็นผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำตน ให้เดือดร้อน และเป็นผู้ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำผู้อื่น ให้เดือดร้อน เขาไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นผู้ไม่หิว ดับร้อน เย็นใจ มีตนอันประเสริฐ เสวยสุขอยู่ในปัจจุบัน เป็นอย่างไร คือ ตถาคต๑- อุบัติขึ้นมาในโลกนี้เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ๒- ไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่าง ยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระ ผู้มีพระภาค๓- ตถาคตรู้แจ้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์ @เชิงอรรถ : @ ตถาคต ในที่นี้หมายถึงพระผู้มีพระภาค บัณฑิตเรียกว่า ‘ตถาคต’ เพราะเหตุ ๘ ประการ คือ (๑) เพราะ @เสด็จมาแล้วอย่างนั้น (๒) เพราะเสด็จไปแล้วอย่างนั้น (๓) เพราะเสด็จมาสู่ลักษณะอันแท้จริง (๔) เพราะ @ตรัสรู้ธรรมที่แท้ตามความเป็นจริง (๕) เพราะทรงเห็นจริง (๖) เพราะตรัสวาจาจริง (๗) เพราะทรงทำจริง @(๘) เพราะทรงครอบงำ (ผู้ที่ยึดถือลัทธิอื่นทั้งหมดในโลกพร้อมทั้งเทวโลก) (ม.มู.อ. ๑/๑๒/๕๐) @ ชื่อว่า เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ วิชชา ได้แก่ วิชชา ๓ และวิชชา ๘ ดังนี้ วิชชา ๓ คือ @(๑) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ความรู้ที่ให้ระลึกชาติได้ (๒) จุตูปปาตญาณ ความรู้จุติ(ตาย)และอุบัติ(เกิด) @ของสัตว์ (๓) อาสวักขยญาณ ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ วิชชา ๘ คือ (๑) วิปัสสนาญาณ ญาณที่เป็น @วิปัสสนา (๒) มโนมยิทธิ มีฤทธิ์ทางใจ (๓) อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ (๔) ทิพพโสต หูทิพย์ (๕) เจโตปริย- @ญาณ รู้จักกำหนดจิตผู้อื่นได้ (๖) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ความรู้ที่ให้ระลึกชาติได้ (๗) ทิพพจักขุ ตาทิพย์ @หรือเรียกว่าจุตูปปาตญาณ (๘) อาสวักขยญาณ ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ จรณะ ๑๕ คือ (๑) สีลสัมปทา @ความถึงพร้อมด้วยศีล (๒) อินทรียสังวร การสำรวมอินทรีย์ (๓) โภชเนมัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จัก @ประมาณในการบริโภค (๔) ชาคริยานุโยค การหมั่นประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่น (๕) มีศรัทธา @(๖) มีหิริ (๗) มีโอตตัปปะ (๘) เป็นพหูสูต (๙) วิริยารัมภะ ปรารภความเพียร (๑๐) มีสติมั่นคง @(๑๑) มีปัญญา (๑๒) ปฐมฌาน (๑๓) ทุติยฌาน (๑๔) ตติยฌาน (๑๕) จตุตถฌาน (วิ.อ. ๑/๑/๑๐๓-๑๑๘) @ ชื่อว่า เป็นพระผู้มีพระภาค เพราะ (๑) ทรงมีโชค (๒) ทรงทำลายข้าศึกคือกิเลส (๓) ทรงประกอบด้วย @ภคธรรม ๖ ประการ (คือ ความเป็นใหญ่เหนือจิตของตน, โลกุตตรธรรม, ยศ, สิริ, ความสำเร็จประโยชน์ @ตามต้องการและความเพียร) (๔) ทรงจำแนกแจกแจงธรรม (๕) ทรงเสพอริยธรรม (๖) ทรงคลายตัณหา @ในภพทั้ง ๓ (๗) ทรงเป็นที่เคารพของชาวโลก (๘) ทรงอบรมพระองค์ดีแล้ว (๙) ทรงมีส่วนแห่งปัจจัย ๔ @เป็นต้น (วิ.อ. ๑/๑/๑๐๓-๑๑๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๐}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค]

                                                                 ๑. กันทรกสูตร

พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ด้วยตนเองแล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด๑- ประกาศพรหมจรรย์๒- พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วน คหบดี บุตรคหบดี หรืออนุชน(คนผู้เกิดภายหลัง) ในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ได้สดับธรรม นั้นแล้ว เกิดศรัทธาในตถาคต เมื่อมีศรัทธาย่อมตระหนักว่า ‘การอยู่ครองเรือนเป็น เรื่องอึดอัด๓- เป็นทางมาแห่งธุลี๔- การบวชเป็นทางปลอดโปร่ง๕- การที่ผู้ครองเรือนจะ ประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วนดุจสังข์ขัดไม่ใช่ทำได้ง่าย ทางที่ดี เราควรโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต’ ต่อมา เขาละทิ้งกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ และเครือญาติน้อยใหญ่ โกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต @เชิงอรรถ : @ ธรรมมีความงามในเบื้องต้นหมายถึงศีล ธรรมมีความงามในท่ามกลางหมายถึงอริยมรรค และธรรมมีความ @งามในที่สุดหมายถึงพระนิพพาน (ที.สี.อ. ๑/๑๙๐/๑๕๙) @ พรหมจรรย์ หมายถึงความประพฤติประเสริฐ มีนัย ๑๒ ประการ คือ (๑) ทาน การให้ (๒) ไวยาวัจจะ @การขวนขวายช่วยเหลือ (๓) ปัญจสิกขาบท ศีลห้า (๔) พรหมวิหาร การประพฤติพรหมวิหาร (๕) ธรรม- @เทศนา (๖) เมถุนวิรัติ การงดเว้นจากการเสพเมถุน (๗) สทารสันโดษ ความยินดีเฉพาะคู่ครองของตน @(๘) อุโปสถังคะ องค์อุโบสถ (๙) อริยมรรค ทางอันประเสริฐ (๑๐) ศาสนาที่รวมไตรสิกขา (๑๑) อัธยาศัย @(๑๒) วิริยะ ความเพียร แต่ในที่นี้หมายถึงเมถุนวิรัติ (ม.มู.อ. ๑/๑๕๕/๓๖๒-๓๖๔, ที.สี.อ. ๑/๑๙๐/๑๖๐) @ การอยู่ครองเรือนชื่อว่าเป็นเรื่องอึดอัด เพราะไม่มีเวลาว่างเพื่อจะทำกุศลกรรม แม้เรือนจะมีเนื้อที่กว้างขวางถึง @๖๐ ศอก มีบริเวณภายในบ้านตั้ง ๑๐๐ โยชน์ มีคนอยู่อาศัยเพียง ๒ คนคือสามีภรรยา ก็ยังถือว่าอึดอัด @เพราะมีความห่วงกังวลกันและกัน (ที.สี.อ. ๑/๑๙๑/๑๖๓) @ ชื่อว่าเป็นทางแห่งธุลี เพราะเป็นที่เกิดและเป็นที่ตั้งแห่งกิเลสอันทำจิตให้เศร้าหมอง เช่นราคะเป็นต้น @(ที.สี.อ. ๑/๑๙๑/๑๖๓) @ นักบวชแม้จะอยู่ในเรือนยอด ปราสาทแก้วและเทพวิมาน ซึ่งมีประตูหน้าต่างปิดมิดชิด ก็ยังถือว่าปลอดโปร่ง @เพราะนักบวชไม่มีความยึดติดในสิ่งใดๆ เลย (ที.สี.อ. ๑/๑๙๑/๑๖๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๑}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๑๐-๑๑. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=13&page=10&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=13&A=258 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=13&A=258#p10 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 13 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_13 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu13 https://84000.org/tipitaka/english/?index_13



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๐-๑๑.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]