ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

หน้าที่ ๑๓๑-๑๓๓.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค]

                                                                 ๒. มหาราหุโลวาทสูตร

๓. เธอจงเจริญมุทิตาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญมุทิตาภาวนาอยู่ จักละความริษยาได้ ๔. เธอจงเจริญอุเบกขาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญอุเบกขาภาวนาอยู่ จักละความหงุดหงิดได้ ๕. เธอจงเจริญอสุภภาวนา๑- เถิด เพราะเมื่อเธอเจริญอสุภภาวนาอยู่ จักละ ราคะได้ ๖. เธอจงเจริญอนิจจสัญญา๒- เถิด เพราะเมื่อเธอเจริญอนิจจสัญญาอยู่ จักละความถือตัวได้
อานาปานสติ ๑๖ ขั้น
[๑๒๑] ราหุล เธอจงเจริญอานาปานสติเถิด เพราะอานาปานสติที่บุคคล เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก อานาปานสติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้ บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก ๑. เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่า ‘เราหายใจเข้ายาว’ เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่า ‘เราหายใจออกยาว’ ๒. เมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่า ‘เราหายใจเข้าสั้น’ เมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่า ‘เราหายใจออกสั้น’ @เชิงอรรถ : @ อสุภภาวนา ในที่นี้หมายถึงทั้งอุปจารภาวนาและอัปปนาภาวนาในซากศพที่อืดพองขึ้น ท่านกล่าวอธิบาย @ไว้โดยพิสดารในคัมภีร์วิสุทธิมรรค (ม.ม.อ. ๒/๑๒๐/๑๐๕) @ อนิจจสัญญา ในที่นี้หมายถึงการหมายรู้ที่เกิดร่วมกันโดยพิจารณาเห็นเป็นความไม่เที่ยง @(ม.ม.อ. ๒/๑๒๐/๑๐๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๓๑}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค]

                                                                 ๒. มหาราหุโลวาทสูตร

๓. สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า’ สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก’ ๔. สำเหนียกว่า ‘เราระงับกายสังขารหายใจเข้า’ สำเหนียกว่า ‘เราระงับกายสังขารหายใจออก’ ๕. สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้ปีติหายใจเข้า’ สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้ปีติหายใจออก’ ๖. สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้สุขหายใจเข้า’ สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้สุขหายใจออก’ ๗. สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้จิตตสังขารหายใจเข้า’ สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้จิตตสังขารหายใจออก’ ๘. สำเหนียกว่า ‘เราระงับจิตตสังขารหายใจเข้า’ สำเหนียกว่า ‘เราระงับจิตตสังขารหายใจออก’ ๙. สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้จิตหายใจเข้า’ สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้จิตหายใจออก’ ๑๐. สำเหนียกว่า ‘เราทำจิตให้บันเทิงหายใจเข้า’ สำเหนียกว่า ‘เราทำจิตให้บันเทิงหายใจออก’ ๑๑. สำเหนียกว่า ‘เราตั้งจิตมั่นหายใจเข้า’ สำเหนียกว่า ‘เราตั้งจิตมั่นหายใจออก’ ๑๒. สำเหนียกว่า ‘เราเปลื้องจิตหายใจเข้า’ สำเหนียกว่า ‘เราเปลื้องจิตหายใจออก’ ๑๓. สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงหายใจเข้า’ สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงหายใจออก’ ๑๔. สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความคลายออกได้หายใจเข้า’ สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความคลายออกได้หายใจออก’ ๑๕. สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความดับไปหายใจเข้า’ สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความดับไปหายใจออก’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๓๒}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค]

                                                                 ๓. จูฬมาลุกยสูตร

๑๖. สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า’ สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก’ อานาปานสติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก๑- ราหุล เมื่ออานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ลมอัสสาสะ(หายใจเข้า) ลมปัสสาสะ(หายใจออก) ครั้งสุดท้ายที่ปรากฏชัด ย่อมดับไป ที่ไม่ปรากฏชัด ยังไม่ดับไป” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระราหุลมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิต ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
มหาราหุโลวาทสูตรที่ ๒ จบ
๓. จูฬมาลุงกยสูตร
ว่าด้วยพระมาลุงกยบุตร สูตรเล็ก
เหตุแห่งอัพยากตปัญหา ๑๐ ประการ
[๑๒๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก- เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระมาลุงกยบุตร หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ได้เกิด ความคิดคำนึงอย่างนี้ว่า “ทิฏฐิที่พระผู้มีพระภาคไม่ตรัสตอบ ทรงงด ทรงวางเฉยเหล่านี้ คือ ทิฏฐิว่า ‘โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจากตายแล้วตถาคต๒- เกิดอีก หลังจากตายแล้ว @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ม.อุ. ๑๔/๑๔๘/๑๓๐-๑๓๑ @ ตถาคต เป็นคำที่ลัทธิอื่นๆ ใช้มาก่อนพุทธกาลหมายถึงอัตตา(อาตมัน) ไม่ได้หมายถึงพระพุทธเจ้า ในที่ @นี้หมายถึงสัตว์ (เทียบ ที.สี.อ. ๑/๖๕/๑๐๘, ม.ม.อ. ๒/๑๒๒/๑๐๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๓๓}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๑๓๑-๑๓๓. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=13&page=131&pages=3&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=13&A=3641 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=13&A=3641#p131 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 13 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_13 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu13 https://84000.org/tipitaka/english/?index_13



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๓๑-๑๓๓.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]