ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

หน้าที่ ๒๐.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค]

                                                                 ๒. อัฏฐกนาครสูตร

ท่านพระอานนท์ตอบว่า “คหบดี ธรรมอันเป็นเอกซึ่งเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิต ที่ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นไป และเป็นที่ บรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม ที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับของภิกษุผู้ ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้ชอบแล้ว มีอยู่” ทสมคหบดีถามว่า “ท่านอานนท์ ธรรมอันเป็นเอกซึ่งเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิต ที่ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นไป และเป็นที่ บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม ที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับของภิกษุ ผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้ชอบแล้ว เป็นอย่างไร”
รูปฌาน ๔
[๑๙] ท่านพระอานนท์ตอบว่า “คหบดี ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจาก วิเวกอยู่ ภิกษุนั้นย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘แม้แต่ปฐมฌานนี้แลก็ถูกปรุงแต่งแล้ว สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ถูกปรุงแต่งแล้ว สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา’ ภิกษุนั้น ดำรงอยู่ในธรรม๑- นั้นแล้ว ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากยังไม่ถึงความ สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ๒- เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์๓- (สังโยชน์ @เชิงอรรถ : @ ธรรม ในที่นี้หมายถึงสมถะและวิปัสสนา (ม.ม.อ. ๒/๑๙/๑๐) @ โอปปาติกะ ในที่นี้หมายถึงสัตว์ที่เกิดและเติบโตเต็มที่ทันที และเมื่อจุติ(ตาย) ก็หายวับไปไม่ทิ้งซากศพไว้ @เช่น เทวดาและสัตว์นรกเป็นต้น (เทียบ ที.สี.อ. ๑/๑๗๑/๑๔๙) แต่ในที่นี้หมายถึงพระอนาคามีที่เกิดใน @สุทธาวาส (ที่อยู่ของท่านผู้บริสุทธิ์) ๕ ชั้น มีชั้นอวิหาเป็นต้น แล้วดำรงภาวะอยู่ในชั้นนั้นๆ ปรินิพพาน @สิ้นกิเลสในสุทธาวาสนั่นเอง ไม่กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๗-๘๘/๒๔๒-๒๔๓) @ โอรัมภาคิยสังโยชน์ หมายถึงสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการ [คือ (๑) สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นอัตตา @(๒) วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย (๓) สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลและวัตร (๔) กามราคะ ความติดใจ @ในกามคุณ (๕) ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ อันเป็นเหตุให้เกิดในกามภพ] (ม.มู.อ. ๒/๒๔๕/๒๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๒๐}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๒๐. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=13&page=20&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=13&A=543 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=13&A=543#p20 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 13 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_13 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu13 https://84000.org/tipitaka/english/?index_13



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๐.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]