ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

หน้าที่ ๒๑๗-๒๑๘.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

                                                                 ๑. จูฬวัจฉโคตตสูตร

ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผล อนึ่ง ไม่มีเลยที่คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อๆ กันมาจะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้ เมื่อไรก็ตามที่เราต้องการจะรู้ เราย่อมระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ฯลฯ๑- เราระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและ ชีวประวัติอย่างนี้ เราเพียงต้องการจะรู้เท่านั้น เราก็เห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้น ต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ฯลฯ๒- รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม อย่างนี้แล เราทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ๓- อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน วัจฉะ บุคคลผู้อธิบายว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้มีวิชชา ๓’ ชื่อว่าเป็นผู้พูดตรง ตามที่เรากล่าวไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ และชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุ สมผล อนึ่ง ไม่มีเลยที่คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อๆ กันมา จะเป็นเหตุให้ถูก ตำหนิได้”
ลัทธิเดียรถีย์ว่างจากคุณความดี
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว วัจฉโคตรปริพาชกได้ทูลถามพระผู้มี พระภาคว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม คฤหัสถ์บางคน ผู้ยังละสังโยชน์ของคฤหัสถ์๔- ไม่ได้ หลังจากตายแล้วทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ มีอยู่หรือ” @เชิงอรรถ : @ ดูเนื้อความเต็มข้อ ๑๔ (กันทรกสูตร) หน้า ๑๗ ในเล่มนี้ @ ดูเนื้อความเต็มข้อ ๑๕ (กันทรกสูตร) หน้า ๑๗-๑๘ ในเล่มนี้ @ ดูเชิงอรรถที่ ๑-๒ ข้อ ๒๘ (กันทรกสูตร) หน้า ๓๒ ในเล่มนี้ @ สังโยชน์ของคฤหัสถ์ ในที่นี้หมายถึงทรัพย์สมบัติ บุตร ภรรยา ข้าทาส บริวาร และกามคุณ ๕ ประการ @อันเป็นเหตุผูกพันและรักใคร่ (ม.ม.อ. ๒/๑๘๖/๑๔๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๒๑๗}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

                                                                 ๑. จูฬวัจฉโคตตสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “วัจฉะ คฤหัสถ์ที่ยังละสังโยชน์ของคฤหัสถ์ไม่ได้ หลังจากตายแล้วย่อมทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ไม่มีเลย” “คฤหัสถ์บางคนยังละสังโยชน์ของคฤหัสถ์ไม่ได้ หลังจากตายแล้วไปเกิดใน สวรรค์มีอยู่หรือ ท่านพระโคดม” “คฤหัสถ์ผู้ยังละสังโยชน์ของคฤหัสถ์ไม่ได้ หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในสวรรค์นั้น มิใช่มีเพียง ๑๐๐ คน ๒๐๐ คน ๓๐๐ คน ๔๐๐ คน หรือ ๕๐๐ คนเท่านั้น ความจริงแล้วมีอยู่จำนวนมากทีเดียว” “อาชีวกบางคนหลังจากตายแล้ว จะทำที่สุดแห่งทุกข์๑- ได้ มีอยู่หรือ ท่าน พระโคดม” “อาชีวกบางคน หลังจากตายแล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ไม่มีเลย” “อาชีวกบางคนหลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในสวรรค์ มีอยู่หรือ ท่านพระโคดม” “จากภัทรกัปนี้ไป ๙๑ กัปที่เราระลึกได้ เราไม่รู้จักอาชีวกคนอื่นผู้ไปเกิดใน สวรรค์ นอกจากอาชีวกเพียงคนเดียวผู้เป็นกรรมวาที๒- เป็นกิริยวาที๓-” “ท่านพระโคดม เมื่อเป็นอย่างนี้ ลัทธิเดียรถีย์ก็เป็นลัทธิที่ว่างเปล่าจาก คุณความดี โดยที่สุดแม้แต่คุณความดีที่จะให้ไปเกิดในสวรรค์” “อย่างนั้น วัจฉะ เมื่อเป็นอย่างนี้ ลัทธิเดียรถีย์นั้นเป็นลัทธิที่ว่างเปล่าจาก คุณความดี โดยที่สุดแม้แต่คุณความดีที่จะให้ไปเกิดในสวรรค์” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว วัจฉโคตรปริพาชกมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิต ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
จูฬวัจฉโคตตสูตรที่ ๑ จบ
@เชิงอรรถ : @ ที่สุดแห่งทุกข์ ในที่นี้หมายถึงพระอรหัตตผล (ม.ม.อ. ๒/๑๘๖/๑๔๔) @ กรรมวาที หมายถึงลัทธิที่ถือว่า สรรพสัตว์มีกรรมเป็นของตน ผู้ทำกรรมดีย่อมได้รับผลดี ผู้ทำกรรมชั่ว @ย่อมได้รับผลชั่ว @ กิริยวาที หมายถึงลัทธิที่ถือว่า การกระทำทุกอย่างมีผล เมื่อเหตุดีผลก็ต้องดี เมื่อเหตุชั่วผลก็ต้องชั่ว @ยอมรับผลกรรม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๒๑๘}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๒๑๗-๒๑๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=13&page=217&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=13&A=6048 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=13&A=6048#p217 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 13 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_13 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu13 https://84000.org/tipitaka/english/?index_13



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๑๗-๒๑๘.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]