ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

หน้าที่ ๒๕.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค]

                                                                 ๓. เสขปฏิปทาสูตร

ลุกจากที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคกระทำประทักษิณแล้วเสด็จเข้าไปสู่ ท้องพระโรงหลังใหม่ แล้วจึงรับสั่งให้ปูลาดท้องพระโรงด้วยเครื่องลาดทั่วทุกแห่ง ให้ปูลาดอาสนะ ตั้งหม้อน้ำ ตามประทีปน้ำมัน แล้วเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วได้ประทับยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มี พระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายปูลาดท้องพระโรงด้วยเครื่องลาด ทั่วทุกแห่ง ให้ปูลาดอาสนะ ตั้งหม้อน้ำ ตามประทีปน้ำมันแล้ว ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด พระพุทธเจ้าข้า” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไป ยังท้องพระโรงพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ทรงล้างพระบาทแล้วเสด็จเข้าไปสู่ท้องพระโรง ประทับนั่งพิงเสากลาง ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก แม้ภิกษุสงฆ์ก็ล้างเท้าเข้าไป สู่ท้องพระโรงนั่งพิงฝาด้านหลัง ผินหน้าไปทางทิศตะวันออก ณ เบื้องพระปฤษฎางค์ พระผู้มีพระภาค ส่วนพวกเจ้าศากยะผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ล้างพระบาทแล้ว เสด็จ เข้าไปสู่ท้องพระโรงประทับนั่งพิงฝาด้านตะวันออก ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันตก ณ เบื้องพระพักตร์พระผู้มีพระภาค จากนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้พวกเจ้า ศากยะผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญ แกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาตลอดราตรี๑- แล้วรับสั่งเรียก ท่านพระอานนท์มาตรัสว่า ‘อานนท์ เธอจงชี้แจงเสขปฏิปทา๒- ให้แจ่มแจ้ง แก่พวกเจ้าศากยะผู้ครอง กรุงกบิลพัสดุ์เถิด เราเมื่อยหลังจะขอพักสักหน่อย” @เชิงอรรถ : @ ราตรี ในที่นี้หมายถึงเวลาที่ล่วงปฐมยามไปมากแล้ว (ม.ม.อ. ๒/๒๒/๒๐-๒๑) @ เสขปฏิปทา หมายถึงปฏิปทาที่เป็นมงคล เป็นปฏิปทาของผู้เจริญในพระพุทธศาสนา เพื่อมุ่งหวังความ @เป็นมงคลแก่ท้องพระโรง(สันถาคารศาลา) หลังใหม่ และเพราะมีพระเสขบุคคลเป็นอันมากนั่งอยู่ในบริษัท @เมื่อตรัสปฏิปทาข้อนี้แล้ว พระเสขบุคคลเหล่านั้นจักกำหนดได้อย่างไม่ลำบาก ทั้งเป็นปฏิปทาที่รวมไว้ซึ่ง @ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งเป็นหัวใจ เป็นข้อปฏิบัติหลักในพระศาสนา เพราะเหตุดังกล่าวมานี้ @พระผู้มีพระภาคจึงทรงกำหนดตรัสเสขปฏิปทาสูตรในกาลนี้ (ม.ม.อ. ๒/๒๒/๒๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๒๕}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๒๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=13&page=25&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=13&A=687 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=13&A=687#p25 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 13 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_13 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu13 https://84000.org/tipitaka/english/?index_13



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๕.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]