ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

หน้าที่ ๓๘๙.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค]

                                                                 ๔. มธุรสูตร

“พระคุณเจ้ากัจจานะ เมื่อเป็นอย่างนี้ วรรณะ ๔ จำพวกนี้ก็เสมอกันหมด แน่นอน ในวรรณะ ๔ จำพวกนี้ โยมไม่เห็นความแตกต่างอะไรกันเลย” “มหาบพิตร โดยปริยายนี้ พระองค์ทรงทราบเถิดว่า วาทะที่พวกพราหมณ์ กล่าวว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นเลว ฯลฯ เป็นทายาท ของพรหม’ นั่นเป็นคำโฆษณาในโลกนี้เท่านั้น” [๓๒๒] ท่านพระมหากัจจานะถวายพระพรว่า “มหาบพิตร พระองค์ทรง เข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร กษัตริย์ในโลกนี้พึงปลงพระเกศาและพระมัสสุ นุ่งห่ม ผ้ากาสาวพัสตร์เสด็จออกจากวังผนวชเป็นบรรพชิต ทรงงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ งดเว้นจากการลักทรัพย์ งดเว้นจากการพูดเท็จ ไม่บริโภคในราตรี ฉันภัตตาหาร มื้อเดียว เป็นพรหมจารี มีศีล มีกัลยาณธรรม พระองค์จะทรงทำอย่างไรกับราช- บรรพชิตนั้น” พระเจ้ามธุระ อวันตีบุตร ตรัสว่า “พระคุณเจ้ากัจจานะ โยมต้องกราบไหว้ ลุกรับ เชื้อเชิญด้วยอาสนะ หรือเจาะจงนิมนต์ราชบรรพชิตนั้นด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร๑- จัดการอารักขา คุ้มครอง ป้องกันท่าน ตามความเหมาะสม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสมญานามว่ากษัตริย์ของท่านเมื่อ ก่อนนั้นหายไปแล้ว ท่านได้ชื่อว่า ‘สมณะเท่านั้น” “มหาบพิตร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร พราหมณ์ในโลกนี้ ฯลฯ แพศย์ในโลกนี้ ฯลฯ ศูทรในโลกนี้โกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ @เชิงอรรถ : @ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร คือ เภสัช ๕ ชนิด ได้แก่ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย (วิ.อ. ๒/๒๙๐/๔๐, @สารตฺถ.ฏีกา ๒/๒๙๐/๓๙๓) @เป็นสิ่งสัปปายะสำหรับภิกษุผู้เจ็บไข้ จัดว่าเป็นบริขาร คือบริขารของชีวิต ดุจกำแพงล้อมพระนคร @เพราะคอยป้องกันรักษาไม่ให้อาพาธที่จะบั่นรอนชีวิตได้ช่องเกิดขึ้น และเป็นสัมภาระของชีวิต คอยประคับ @ประคองชีวิตให้ดำรงอยู่นาน (วิ.อ. ๒/๒๙๐/๔๐-๔๑, ม.มู.อ. ๑/๑๙๑/๓๙๗, ม.มู.ฏีกา ๑/๒๓/๒๑๓) @เป็นเครื่องป้องกันโรค บำบัดโรคที่ให้เกิดทุกขเวทนา เนื่องจากธาตุกำเริบให้หายไป @(สารตฺถ.ฏีกา ๒/๒๙๐/๓๙๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๓๘๙}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๓๘๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=13&page=389&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=13&A=10945 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=13&A=10945#p389 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 13 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_13 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu13 https://84000.org/tipitaka/english/?index_13



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๘๙.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]