ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

หน้าที่ ๗๙-๘๑.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค]

                                                                 ๗. กุกกุรวติกสูตร

กรรม ๔ ประการ
[๘๑] “ปุณณะ กรรม ๔ ประการนี้ เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว จึงประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม กรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. กรรมดำมีวิบากดำ๑- ๒. กรรมขาวมีวิบากขาว๒- ๓. กรรมทั้งดำและขาว มีวิบากทั้งดำและขาว๓- ๔. กรรมทั้งไม่ดำและไม่ขาว มีวิบากทั้งไม่ดำและไม่ขาว๔- เป็นไปเพื่อ ความสิ้นกรรม กรรมดำมีวิบากดำ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ปรุงแต่ง๕- กายสังขาร๖- ที่มีความเบียดเบียน๗- ปรุงแต่ง วจีสังขาร๘- ที่มีความเบียดเบียน และปรุงแต่งมโนสังขาร๙- ที่มีความเบียดเบียน เขา @เชิงอรรถ : @ กรรมดำ หมายถึงอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ มีวิบากดำ หมายถึงเป็นเหตุให้เกิดในอบาย @(ม.ม.อ. ๒/๘๑/๗๗) @ กรรมขาว หมายถึงกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ มีวิบากขาว หมายถึงเป็นเหตุให้เกิดในสวรรค์ @(ม.ม.อ. ๒/๘๑/๗๗) @ มีวิบากทั้งดำและขาว หมายถึงกรรมมีวิบากทั้งเป็นสุขและเป็นทุกข์ (ม.ม.อ. ๒/๘๑/๗๗) @ มีวิบากทั้งไม่ดำและไม่ขาว หมายถึงเจตนากรรมในมรรคทั้ง ๔ ซึ่งทำให้สิ้นกรรม (ม.ม.อ. ๒/๘๑/๗๗) @ ปรุงแต่ง ในที่นี้หมายถึงการสั่งสมพอกพูน (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๓๓/๔๔๐) @ กายสังขาร หมายถึงสภาพปรุงแต่งการกระทำทางกายหรือกายสัญเจตนา คือ ความจงใจทางกาย @(องฺ.ติก.อ. ๒/๒๓/๑๐๑) @ มีความเบียดเบียน หมายถึงมีทุกข์ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๓๓/๔๔๐) @ วจีสังขาร หมายถึงสภาพปรุงแต่งการกระทำทางวาจา ได้แก่ วิตกและวิจาร หรือวจีสัญเจตนา คือ ความ @จงใจทางวาจา (องฺ.ติก.อ. ๒/๒๓/๑๐๑) @ มโนสังขาร หมายถึงสภาพปรุงแต่งการกระทำทางใจ ได้แก่ สัญญาและเวทนา หรือมโนสัญเจตนา คือ @ความจงใจทางใจ (องฺ.ติก.อ. ๒/๒๓/๑๐๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๗๙}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค]

                                                                 ๗. กุกกุรวติกสูตร

ครั้นปรุงแต่งแล้วย่อมเข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียน ผัสสะที่มีความเบียดเบียนย่อม ถูกต้องบุคคลผู้เข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียนนั้น เขาถูกผัสสะที่มีความเบียดเบียน กระทบเข้า ย่อมเสวยเวทนาที่มีความเบียดเบียน เป็นทุกข์โดยส่วนเดียว เหมือน สัตว์นรกทั้งหลาย ปุณณะ เพราะกรรมที่มีดังนี้แล ความเกิดขึ้นของสัตว์จึงมีได้ สัตว์ย่อมเกิดขึ้น เพราะกรรมที่ทำไว้ ผัสสะย่อมถูกต้องสัตว์ผู้เกิดแล้วนั้น เราจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้รับผลกรรม’ นี้เรียกว่า กรรมดำมีวิบากดำ (๑) กรรมขาวมีวิบากขาว เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ปรุงแต่งกายสังขารที่ไม่มีความเบียดเบียน ปรุงแต่ง วจีสังขารที่ไม่มีความเบียดเบียน และปรุงแต่งมโนสังขารที่ไม่มีความเบียดเบียน เขา ครั้นปรุงแต่งแล้วย่อมเข้าถึงโลกที่ไม่มีความเบียดเบียน ผัสสะที่ไม่มีความเบียดเบียน ย่อมถูกต้องบุคคลผู้เข้าถึงโลกที่ไม่มีความเบียดเบียนนั้น เขาถูกผัสสะที่ไม่มีความ เบียดเบียนกระทบเข้า ย่อมเสวยเวทนาที่ไม่มีความเบียดเบียน เป็นสุขโดยส่วนเดียว เหมือนเทพทั้งหลายชั้นสุภกิณหะ ปุณณะ เพราะกรรมที่มีดังนี้แล ความเกิดขึ้นของสัตว์จึงมีได้ สัตว์ย่อมเกิดขึ้น เพราะกรรมที่ทำไว้ ผัสสะย่อมถูกต้องสัตว์ผู้เกิดแล้วนั้น เราจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้รับผลกรรม’ นี้เรียกว่า กรรมขาวมีวิบากขาว (๒) กรรมทั้งดำและขาวมีวิบากทั้งดำและขาว เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ปรุงแต่งกายสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความ เบียดเบียนบ้าง ปรุงแต่งวจีสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง และปรุงแต่งมโนสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง เขาครั้น ปรุงแต่งแล้วย่อมเข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ผัสสะที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ย่อมถูกต้องบุคคลผู้เข้า ถึงโลกที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้างนั้น เขาถูกผัสสะที่มีความ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๘๐}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค]

                                                                 ๗. กุกกุรวติกสูตร

เบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้างกระทบเข้า ย่อมเสวยเวทนาที่มีความ เบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง มีสุขและทุกข์ระคนกัน เหมือนมนุษย์ เทวดาบางพวก๑- และวินิปาติกะ๒- บางพวก ปุณณะ เพราะกรรมที่มีดังนี้แล ความเกิดขึ้นของสัตว์จึงมีได้ สัตว์ย่อม เกิดขึ้นเพราะกรรมที่ทำไว้ ผัสสะย่อมถูกต้องสัตว์ผู้เกิดแล้วนั้น เราจึงกล่าว อย่างนี้ว่า ‘สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้รับผลกรรม’ นี้เรียกว่า กรรมทั้งดำและขาว มีวิบาก ทั้งดำและขาว (๓) กรรมทั้งไม่ดำและไม่ขาว มีวิบากทั้งไม่ดำและไม่ขาว เป็นไปเพื่อความ สิ้นกรรม เป็นอย่างไร คือ บรรดากรรมเหล่านั้น เจตนา๓- เพื่อละกรรมดำที่มีวิบากดำ เจตนาเพื่อละ กรรมขาวที่มีวิบากขาว และเจตนาเพื่อละกรรมทั้งดำและขาว ที่มีวิบากทั้งดำและขาว ปุณณะ เพราะกรรมที่มีดังนี้แล ความเกิดขึ้นของสัตว์จึงมีได้ สัตว์ย่อมเกิดขึ้น เพราะกรรมที่ทำไว้ ผัสสะย่อมถูกต้องสัตว์ผู้เกิดแล้วนั้น เราจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้รับผลกรรม’ นี้เรียกว่า กรรมทั้งไม่ดำและไม่ขาว มีวิบากทั้ง ไม่ดำและไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม ปุณณะ กรรม ๔ ประการนี้แล เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วจึง ประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม (๔)” @เชิงอรรถ : @ เทวดาบางพวก ในที่นี้หมายถึงกามาวจรเทวดา ๖ ชั้น คือ จาตุมหาราช ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี @และปรนิมมิตวสวัตดี (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๓๓/๔๔๐) @ วินิปาติกะ หมายถึงเวมานิกเปรต ได้แก่ เปรตผู้อยู่ในวิมาน เสวยสุขและทุกข์สลับกันไป บางตนข้างแรม @เสวยทุกข์ ข้างขึ้นเสวยสุข บางตนกลางคืนเสวยสุข กลางวันเสวยทุกข์ เวลาเสวยสุขอยู่ในวิมานมีร่างสวย @เป็นทิพย์สวยงาม แต่เวลาจะเสวยทุกข์ก็ต้องออกจากวิมานนี้ไป และร่างกายก็กลายเป็นร่างที่น่าเกลียด @น่ากลัว (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๓๓/๔๔๑) @ เจตนา ในที่นี้หมายถึงเจตนาในอริยมรรค ที่เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงวิวัฏฏะคือพระนิพพาน @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๓๓/๔๔๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๘๑}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๗๙-๘๑. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=13&page=79&pages=3&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=13&A=2206 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=13&A=2206#p79 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 13 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_13 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu13 https://84000.org/tipitaka/english/?index_13



จบการแสดงผล หน้าที่ ๗๙-๘๑.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]