ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

หน้าที่ ๑๒-๑๔.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

                                                                 ๑. เทวทหสูตร

๖. กรรมใดให้ผลยังไม่เสร็จสิ้น กรรมนั้นท่านทั้งหลายเปลี่ยนไม่ได้ว่า ‘จงให้ผลเสร็จสิ้น’ ด้วยความพยายาม หรือด้วยความเพียรนี้ ๗. กรรมใดให้ผลมาก กรรมนั้นท่านทั้งหลายเปลี่ยนไม่ได้ว่า ‘จงให้ ผลน้อย’ ด้วยความพยายาม หรือด้วยความเพียรนี้ ๘. กรรมใดให้ผลน้อย กรรมนั้นท่านทั้งหลายเปลี่ยนไม่ได้ว่า ‘จงให้ ผลมาก’ ด้วยความพยายาม หรือด้วยความเพียรนี้ ๙. กรรมใดให้ผล กรรมนั้นท่านทั้งหลายเปลี่ยนไม่ได้ว่า ‘จงอย่าให้ผล’ ด้วยความพยายาม หรือด้วยความเพียรนี้ ๑๐. กรรมใดไม่ให้ผล กรรมนั้นท่านทั้งหลายเปลี่ยนไม่ได้ว่า ‘จงให้ผล’ ด้วยความพยายาม หรือด้วยความเพียรนี้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ความพยายาม ความเพียรของนิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลายจึงไร้ผล’ ภิกษุทั้งหลาย นิครนถ์ทั้งหลายเป็นผู้มีวาทะอย่างนี้ คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่ กล่าวต่อๆ กันมา ๑๐ ประการ ของนิครนถ์ทั้งหลายผู้มีวาทะอย่างนี้ จะเป็น เหตุให้ถูกตำหนิได้ [๙] ภิกษุทั้งหลาย คือ ๑. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งกรรมที่ทำไว้ในชาติก่อน นิครนถ์ทั้งหลายพึงเป็นผู้ทำบาปกรรมไว้ในชาติก่อนแน่ จึงเป็น เหตุให้พวกเขาเสวยทุกขเวทนากล้า เผ็ดร้อนเห็นปานนี้ในบัดนี้ ๒. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งการเนรมิตของพระอิศวร นิครนถ์ทั้งหลายพึงเป็นผู้ถูกพระอิศวรชั้นต่ำเนรมิตมาแน่ จึงเป็น เหตุให้พวกเขาเสวยทุกขเวทนากล้า เผ็ดร้อนเห็นปานนี้ในบัดนี้ ๓. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งเคราะห์ นิครนถ์ทั้งหลาย พึงเป็นผู้มีเคราะห์ร้ายแน่ จึงเป็นเหตุให้พวกเขาเสวยทุกขเวทนากล้า เผ็ดร้อนเห็นปานนี้ในบัดนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๒}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

                                                                 ๑. เทวทหสูตร

๔. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งอภิชาติ๑- นิครนถ์ทั้งหลาย พึงเป็นผู้มีอภิชาติเลวแน่ จึงเป็นเหตุให้พวกเขาเสวยทุกขเวทนากล้า เผ็ดร้อนเห็นปานนี้ในบัดนี้ @เชิงอรรถ : @ อภิชาตินี้มี ๒ ประการ คือ @๑. อภิชาติที่ปูรณะ กัสสปะ บัญญัติไว้มี ๖ ประการ คือ @๑.กัณหาภิชาติ ผู้ที่มีชาติดำ ได้แก่ คนฆ่าแพะ คนฆ่าสุกร คนฆ่านก พรานเนื้อ ชาวประมง โจร @เพชฌฆาต เจ้าหน้าที่เรือนจำหรือคนงานชั้นต่ำและหยาบช้า @๒.นีลาภิชาติ ผู้ที่มีชาติเขียว ได้แก่ พวกภิกษุที่ฝักใฝ่ในธรรมฝ่ายดำ พวกกรรมวาทะตลอดจน @พวกกิริยวาทะอื่นๆ @๓.โลหิตาภิชาติ ผู้มีชาติแดง ได้แก่ พวกนิครนถ์ที่ใช้ผ้าผืนเดียว @๔.หลิททาภิชาติ ผู้มีชาติเหลือง ได้แก่ คฤหัสถ์ผู้สวมใส่ผ้าขาวซึ่งเป็นสาวกของพวกอเจลก (นักบวช @เปลือยกาย) @๕.สุกกาภิชาติ ผู้มีชาติขาว ได้แก่ นักบวชที่เรียกตัวเองว่าอาชีวกและอาชีวิกา @๖.ปรมสุกกาภิชาติ ผู้มีชาติขาวอย่างยิ่ง ได้แก่ เจ้าลัทธิชื่อนันทวัจฉโคตร, สังกิจจโคตร และมักขลิ @โคสาล @๒. อภิชาติที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้มี ๖ ประการ คือ @๑.บุคคลผู้มีชาติดำและประพฤติธรรมดำ ได้แก่ ผู้ที่เกิดในตระกูลคนจัณฑาล เป็นต้น แล้วยัง @ประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ครั้นตายแล้วย่อมบังเกิดในอบายภูมิ @๒.บุคคลผู้มีชาติดำแต่ประพฤติธรรมขาว ได้แก่ ผู้ที่เกิดในตระกูลคนจัณฑาล เป็นต้น แต่เขา @ประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ครั้นตายแล้วย่อมบังเกิดในสุคติภูมิ @๓.บุคคลผู้มีชาติดำแต่บรรลุนิพพานซึ่งเป็นธรรมไม่ดำไม่ขาว ได้แก่ ผู้ที่เกิดในตระกูลคนจัณฑาล @แต่พวกเขาออกบวชเป็นบรรพชิต ละนิวรณ์ได้ เจริญสติปัฏฐานและโพชฌงค์จนตรัสรู้ธรรมตาม @ความเป็นจริง และบรรลุนิพพานในที่สุด @๔.บุคคลผู้มีชาติขาวแต่ประพฤติธรรมดำ ได้แก่ ผู้ที่เกิดในขัตติยตระกูล เป็นต้น แล้วประพฤติ @ทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ครั้นตายแล้วย่อมบังเกิดในอบายภูมิ @๕.บุคคลผู้มีชาติขาวและประพฤติธรรมขาว ได้แก่ ผู้ที่เกิดในขัตติยตระกูล เป็นต้น แล้วประพฤติ @สุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ครั้นตายแล้วย่อมบังเกิดในสุคติภูมิ @๖.บุคคลผู้มีชาติขาวและบรรลุนิพพานซึ่งเป็นธรรมไม่ดำไม่ขาว ได้แก่ ผู้ที่เกิดในขัตติยตระกูล @เป็นต้น แล้วออกบวชเป็นบรรพชิต ละนิวรณ์ได้ เจริญสติปัฏฐานและโพชฌงค์จนตรัสรู้ธรรม @ตามเป็นจริงและบรรลุนิพพานในที่สุด (ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๒๙/๓๒๙, @องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๕๗/๕๔๓-๕๔๗) @ในที่นี้หมายเอา อภิชาติ ๖ ที่ปูรณะ กัสสปะ บัญญัติไว้ (ม.อุ.อ. ๓/๙/๖, ม.อุ.ฏีกา ๓/๙/๒๕๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๓}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

                                                                 ๑. เทวทหสูตร

๕. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งความพยายามในปัจจุบัน นิครนถ์ทั้งหลายพึงเป็นผู้มีความพยายามเลวทรามในปัจจุบันแน่ จึงเป็นเหตุให้พวกเขาเสวยทุกขเวทนากล้า เผ็ดร้อนเห็นปานนี้ในบัดนี้ ๖. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งกรรมที่ทำไว้ในชาติก่อน นิครนถ์ทั้งหลายพึงเป็นผู้ควรถูกตำหนิ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ได้เสวยสุข และทุกข์เพราะเหตุแห่งกรรมที่ทำไว้ในชาติก่อน นิครนถ์ทั้งหลายก็ เป็นผู้ควรถูกตำหนิ ๗. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งการเนรมิตของพระอิศวร นิครนถ์ทั้งหลายพึงเป็นผู้ควรถูกตำหนิ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ได้เสวยสุข และทุกข์เพราะเหตุแห่งการเนรมิตของพระอิศวร นิครนถ์ทั้งหลาย ก็เป็นผู้ควรถูกตำหนิ ๘. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งเคราะห์ นิครนถ์ ทั้งหลายพึงเป็นผู้ควรถูกตำหนิ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ได้เสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุแห่งเคราะห์ นิครนถ์ทั้งหลายก็เป็นผู้ควรถูกตำหนิ ๙. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งอภิชาติ นิครนถ์ ทั้งหลายพึงเป็นผู้ควรถูกตำหนิ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ได้เสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุแห่งอภิชาติ นิครนถ์ทั้งหลายก็เป็นผู้ควรถูกตำหนิ ๑๐. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งความพยายามในปัจจุบัน นิครนถ์ทั้งหลายพึงเป็นผู้ควรถูกตำหนิ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ได้เสวยสุข และทุกข์เพราะเหตุแห่งความพยายามในปัจจุบัน นิครนถ์ทั้งหลาย ก็เป็นผู้ควรถูกตำหนิ นิครนถ์ทั้งหลายเป็นผู้มีวาทะอย่างนี้ คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อๆ กันมา ๑๐ ประการ ของนิครนถ์ทั้งหลายผู้มีวาทะอย่างนี้ จึงเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้ ภิกษุทั้งหลาย ความพยายามที่ไร้ผล ความเพียรที่ไร้ผล เป็นอย่างนี้แล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๔}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๑๒-๑๔. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=14&page=12&pages=3&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=14&A=320 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=14&A=320#p12 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 14 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_14 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu14 https://84000.org/tipitaka/english/?index_14



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๒-๑๔.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]