ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

หน้าที่ ๑๗๔-๑๗๖.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]

                                                                 ๗. มหาจัตตารีสกสูตร

เธอทั้งหลายจงไหว้พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ผู้ล่วงกิเลสเป็นเครื่องข้องทั้งปวงได้แล้ว ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ผู้มีคุณอันหาประมาณมิได้ ผู้ปรินิพพานแล้วเถิด”
อิสิคิลิสูตรที่ ๖ จบ
๗. มหาจัตตารีสกสูตร
ว่าด้วยธรรมบรรยายชื่อมหาจัตตารีสกะ
[๑๓๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียก ภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสัมมาสมาธิ๑- อันเป็นอริยะ๒- ที่มีอุปนิสะ๓- บ้าง มีปริขาร๔- บ้าง แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังสัมมาสมาธิอันเป็นอริยะนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า “สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ) อันเป็นอริยะ ที่มีอุปนิสะ มีปริขาร เป็น อย่างไร คือ สัมมาทิฏฐิ(เห็นชอบ) สัมมาสังกัปปะ(ดำริชอบ) สัมมาวาจา(เจรจาชอบ) สัมมากัมมันตะ(กระทำชอบ) สัมมาอาชีวะ(เลี้ยงชีพชอบ) สัมมาวายามะ(พยายาม @เชิงอรรถ : @ สัมมาสมาธิ ในที่นี้หมายถึงสมาธิในองค์มรรค (ม.อุ.อ. ๓/๑๓๖/๙๒) @ อันเป็นอริยะ หมายถึงไม่มีโทษ ได้แก่โลกุตตรธรรม (ม.อุ.อ. ๓/๑๓๖/๙๒) @ ที่มีอุปนิสะ หมายถึงมีเหตุปัจจัย (ม.อุ.อ. ๓/๑๓๖/๙๒) @ มีปริขาร หมายถึงมีองค์ประกอบ (ม.อุ.อ. ๓/๑๓๖/๙๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๗๔}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]

                                                                 ๗. มหาจัตตารีสกสูตร

ชอบ) สัมมาสติ(ระลึกชอบ) สภาวะที่จิตมีอารมณ์เดียว แวดล้อมด้วยองค์ ๗ นี้ เราเรียกว่า ‘สัมมาสมาธิอันเป็นอริยะ ที่มีอุปนิสะ’ บ้าง เรียกว่า ‘สัมมาสมาธิ อันเป็นอริยะ มีปริขาร’ บ้าง บรรดาองค์ ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า๑- สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า เป็นอย่างไร คือ ภิกษุรู้ชัดมิจฉาทิฏฐิ๒- ว่า ‘เป็นมิจฉาทิฏฐิ’ รู้ชัดสัมมาทิฏฐิว่า ‘เป็น สัมมาทิฏฐิ’ ความรู้ของภิกษุนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐิ เป็นอย่างไร คือ ความเห็นว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล การเซ่นสรวง ที่เซ่นสรวงแล้วไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มีคุณ บิดาไม่มีคุณ สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะก็ไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่ง เองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ก็ไม่มีในโลก’๓- นี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิ เป็นอย่างไร คือ เรากล่าวสัมมาทิฏฐิว่ามี ๒ ได้แก่ ๑. สัมมาทิฏฐิที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ ๒. สัมมาทิฏฐิอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์ แห่งมรรค @เชิงอรรถ : @ สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า ในที่นี้หมายถึงสัมมาทิฏฐิ ๒ คือ (๑) วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ ที่กำหนดพิจารณา @สังขารที่เป็นไปในไตรภูมิโดยเป็นสิ่งไม่เที่ยงเป็นต้น (๒) มัคคสัมมาทิฏฐิ ที่ถอนสังขารขึ้นด้วยไม่ให้เป็นไป @อีกเพื่อการกำหนดพิจารณา เพราะเป็นสิ่งไม่เที่ยงเป็นต้นเกิดขึ้น (ม.อุ.อ. ๓/๑๓๖/๙๓) @ รู้ชัดมิจฉาทิฏฐิ หมายความว่า รู้ชัดมิจฉาทิฏฐิโดยความเป็นอารมณ์ เพราะแทงตลอดลักษณะว่า @ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แล้วรู้ชัดสัมมาทิฏฐิ โดยความเป็นหน้าที่ เพราะไม่หลงงมงาย @(ม.อุ.อ. ๓/๑๓๖/๙๓) @ ดูเทียบ ที.สี. (แปล) ๙/๑๗๑/๕๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๗๕}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]

                                                                 ๗. มหาจัตตารีสกสูตร

สัมมาทิฏฐิที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ เป็นอย่างไร คือ ความเห็นว่า ‘ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชาแล้วมีผล การเซ่นสรวงที่ เซ่นสรวงแล้วมีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วมี โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามีคุณ บิดามีคุณ สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะมี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติปฏิบัติ ชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็มีอยู่ในโลก’ นี้เป็นสัมมาทิฏฐิที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ สัมมาทิฏฐิอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค เป็นอย่างไร คือ ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ สัมมาทิฏฐิ องค์แห่งมรรคของภิกษุผู้มีจิตไกลจากข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ เพียบพร้อมด้วย อริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่ นี้เป็นสัมมาทิฏฐิอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็น โลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาทิฏฐิ ยัง สัมมาทิฏฐิให้ถึงพร้อม ความพยายามของภิกษุนั้น เป็นสัมมาวายามะ ภิกษุนั้น มีสติ ละมิจฉาทิฏฐิ มีสติเข้าถึงสัมมาทิฏฐิอยู่ สติของภิกษุนั้นเป็นสัมมาสติ ธรรม ๓ นี้ คือ (๑) สัมมาทิฏฐิ (๒) สัมมาวายามะ (๓) สัมมาสติ ย่อม ห้อมล้อมคล้อยตามสัมมาทิฏฐิของภิกษุนั้นไป ด้วยประการฉะนี้ [๑๓๗] ภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า เป็นอย่างไร คือ ภิกษุรู้ชัดมิจฉาสังกัปปะว่า ‘เป็นมิจฉาสังกัปปะ’ รู้ชัดสัมมาสังกัปปะว่า ‘เป็นสัมมาสังกัปปะ’ ความรู้ของภิกษุนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ เป็นอย่างไร คือ ความดำริในกาม ความดำริในความพยาบาท ความดำริในการเบียดเบียน นี้เป็นมิจฉาสังกัปปะ สัมมาสังกัปปะ เป็นอย่างไร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๗๖}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๑๗๔-๑๗๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=14&page=174&pages=3&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=14&A=5078 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=14&A=5078#p174 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 14 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_14 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu14 https://84000.org/tipitaka/english/?index_14



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๗๔-๑๗๖.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]