ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

หน้าที่ ๑๙.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

                                                                 ๑. เทวทหสูตร

เทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและ มนุษย์ด้วยตนเองแล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มี ความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด๑- ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้ง อรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน คหบดี บุตรคหบดี หรืออนุชน(คนผู้เกิดภายหลัง) ในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ได้สดับธรรมนั้น เกิดศรัทธาในตถาคต เมื่อมีศรัทธา ย่อมตระหนักว่า ‘การอยู่ ครองเรือนเป็นเรื่องอึดอัด๒- เป็นทางมาแห่งธุลี๓- การบวชเป็นทางปลอดโปร่ง๔- การที่ ผู้ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วนดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทำ ได้ง่าย ทางที่ดี เราควรโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิตเถิด’ ต่อมาเขาละทิ้งกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ และเครือญาติน้อย ใหญ่ โกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
สิกขาและสาชีพของภิกษุ
[๑๔] ภิกษุนั้นบวชแล้วอย่างนี้ ถึงความเป็นผู้มีสิกขาและสาชีพ๕- ของภิกษุ ทั้งหลาย คือ @เชิงอรรถ : @ ความงามในเบื้องต้น หมายถึงศีล ความงามในท่ามกลาง หมายถึงอริยมรรค ความงามในที่สุด @หมายถึงนิพพาน (ที.สี.อ. ๑/๑๙๐/๑๕๙) @ การอยู่ครองเรือนเป็นเรื่องอึดอัด เพราะไม่มีเวลาว่างที่จะทำกุศลกรรมได้อย่างสะดวก แม้เรือนมีเนื้อที่ @กว้างขวางถึง ๖๐ ศอก มีบริเวณภายในบ้านตั้ง ๑๐๐ โยชน์ มีคนอยู่อาศัย ๒ คน คือ สามี @ภรรยา ก็ยังถือว่าคับแคบ เพราะต้องคอยห่วงใยและกังวลต่อกัน (ที.สี.อ. ๑/๑๙๑/๑๖๓, @สํ.นิ.อ. ๒/๑๕๔/๒๐๑, องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๙๘/๔๒๑) @ เป็นทางมาแห่งธุลี เพราะเป็นที่เกิดและเป็นที่ตั้งแห่งกิเลสอันทำจิตให้เศร้าหมอง เช่น ราคะ เป็นต้น @(ที.สี.อ. ๑/๑๙๑/๑๖๓, สํ.นิ.อ. ๒/๑๕๔/๒๐๑, องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๙๘/๔๒๒) @ การบวช ชื่อว่าปลอดโปร่ง เพราะนักบวชแม้จะอยู่ในเรือนยอด ปราสาทแก้ว หรือเทพวิมาน ซึ่งมีประตู @หน้าต่างปิดมิดชิด ก็ยังถือว่าปลอดโปร่ง เพราะนักบวชไม่มีความยึดติดในสิ่งใดๆ ทั้งยังมีเวลาว่างที่ @จะทำกุศลกรรมได้อย่างสะดวกอีกด้วย (ที.สี.อ. ๑/๑๙๑/๑๖๓, องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๙๘/๔๒๑-๔๒๒) @ สิกขา ในที่นี้หมายถึงอธิสีลสีกขาของภิกษุทั้งหลาย สาชีพ หมายถึงสิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคทรง @บัญญัติสำหรับภิกษุผู้อยู่ร่วมกัน ผู้ดำเนินชีวิตร่วมกัน มีความประพฤติเสมอกัน (ม.มู.อ. ๒/๒๙๒/๑๑๓, @องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๙๘/๔๒๒, และดูเทียบ วิ.มหา. (แปล) ๑/๔๕/๓๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๙}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๑๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=14&page=19&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=14&A=536 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=14&A=536#p19 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 14 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_14 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu14 https://84000.org/tipitaka/english/?index_14



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๙.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]